การศึกษาและเสริมสร้างทุนทางจิตวิทยาของนิสิต/นักศึกษาโดยการให้คำปรึกษากลุ่ม
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยเรื่องการศึกษาและเสริมสร้างทุนทางจิตวิทยาของนิสิต/นักศึกษาโดยการให้คำปรึกษากลุ่ม มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาองค์ประกอบของทุนทางจิตวิทยาของนิสิต/นักศึกษา และเสริมสร้างทุนทางจิตวิทยาของนิสิต/นักศึกษาโดยการให้คำปรึกษากลุ่ม ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นนิสิต/นักศึกษาระดับอุดม ศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในคณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ในมหาวิทยาลัยสังกัดของรัฐ และในกำกับของรัฐทั่วประเทศ กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกคือนิสิต/นักศึกษาจำนวน 707 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอนเพื่อใช้สำหรับการวิเคราะห์องค์ประกอบทุนทางจิตวิทยา กลุ่มที่สอง คือนิสิต/นักศึกษาที่กำลังศึกษาในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่มีคะแนนทุนทางจิตวิทยาตั้งแต่ 25 เปอร์เซ็นไทล์ ลงมา จำนวน 16 คน ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 8 คนเพื่อเข้ารับการให้คำปรึกษากลุ่ม และกลุ่มควบคุมจำนวน 8 คน ซึ่งไม่ได้รับการให้คำปรึกษากลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบวัดทุนทางจิตวิทยาของนิสิตและนักศึกษา มีค่าความเที่ยงตรงทั้งฉบับเท่ากับ 0.85 และโปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างทุนทางจิตวิทยาของนักศึกษา ผลการวิจัย พบว่า 1. การศึกษาองค์ประกอบของทุนทางจิตวิทยาของนิสิต/นักศึกษา ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบได้แก่ ความหวัง ความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง การมองโลกในแง่ดี และความหยุ่นตัว ซึ่งมีความเหมาะสมพอดีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ในเกณฑ์สูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สามารถวัดองค์ประกอบของทุนทางจิตวิทยาของนิสิต/นักศึกษาได้ และผลการศึกษาองค์ประกอบของนิสิตนักศึกษา พบว่า นิสิต/นักศึกษามีทุนทางจิตวิทยาโดยรวมอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 3.99 SD = 0.43) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความหวัง การมองโลกใน แง่ดี ความเชื่อในความสามารถของตนเองและความหยุ่นตัวมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 4.01 4.10 3.97 และ 3.89,SD = 0.50 0.47 0.53 และ 0.52) 2. ทุนทางจิตวิทยาโดยรวมและรายองค์ประกอบของกลุ่มทดลองก่อนการทดลอง และหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 โดยค่าเฉลี่ยหลังการเข้าร่วมการให้คำปรึกษากลุ่มสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมการให้คำปรึกษากลุ่ม3. ทุนทางจิตวิทยาโดยรวมและรายองค์ประกอบของกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มและกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่ม ก่อนการทดลอง และหลังการทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่าโปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มทำให้ทุนทางจิตวิทยาของนิสิต/นักศึกษาเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น คำสำคัญ : ทุนทางจิตวิทยา การให้คำปรึกษากลุ่ม
Article Details
How to Cite
ศรีสวัสดิ์ พ. (2015). การศึกษาและเสริมสร้างทุนทางจิตวิทยาของนิสิต/นักศึกษาโดยการให้คำปรึกษากลุ่ม. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 9(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/6624
Section
บทความวิจัย (Research Articles)