การพัฒนาแนวคิดวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและการมองเห็นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับ โปรแกรมสถานการณ์จำลอง PhET DEVELOPMENT OF SCIENCE CONCEPTS ON LIGHT AND VISION FOR MATHAYOM 3 STUDENTS USING INQUIRY-BASED LEARNING MANAGEMENT WITH THE PHET SIMULATION PROGRAM

Main Article Content

ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเจริญ
มัลลิกา ดารากัย

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  1)การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับโปรแกรมสถานการณ์จำลอง PhET  เพื่อพัฒนาแนวคิดวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับโปรแกรมสถานการณ์จำลอง PhET  เพื่อพัฒนาแนวคิดวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  กลุ่มวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2566  จำนวน 25คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับโปรแกรมสถานการณ์จำลอง PhET เรื่องแสงและการมองเห็น 2) แบบวัดแนวคิด เรื่องแสงและการมองเห็น 3) แบบบันทึกการเรียนรู้ของนักเรียน 4) แบบบันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ของครู ผลการวิจัยพบว่า 1)  การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับโปรแกรมสถานการณ์จำลอง PhET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 75 /80 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 70/70  ที่กำหนดไว้ 2) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับโปรแกรมสถานการณ์จำลอง PhET  มีการพัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์เรื่องแสงและการมองเห็นโดยพบว่า หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้ นักเรียนร้อยละ 87  มีแนวคิดถูกต้อง (SU) รองลงมาร้อยละ 7 มีแนวคิดถูกต้องบางส่วน (PU) ร้อยละ 4 มีแนวคิดถูกต้องบางส่วนและคลาดเคลื่อนบางส่วน (PU/SM) ร้อยละ 2 มีแนวคิดคลาดเคลื่อน (SM) และไม่มีนักเรียนคนใดที่อยู่ในระดับไม่มีแนวคิด (NU) และนอกจากนี้พบว่าก่อนเรียนนักเรียนมีคะแนนค่าเฉลี่ยของแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ 1.33 คะแนน หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 3.84 และค่า S.D ก่อนเรียนอยู่ที่ 0.96 หลังเรียนอยู่ที่ 3.86 คะแนน ซึ่งมีค่าคะแนน จัดอยู่ในกลุ่มพัฒนาการระดับสูง

Article Details

How to Cite
ฉัตรมณีรุ่งเจริญ ศ. . ., & ดารากัย ม. . (2024). การพัฒนาแนวคิดวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและการมองเห็นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับ โปรแกรมสถานการณ์จำลอง PhET: DEVELOPMENT OF SCIENCE CONCEPTS ON LIGHT AND VISION FOR MATHAYOM 3 STUDENTS USING INQUIRY-BASED LEARNING MANAGEMENT WITH THE PHET SIMULATION PROGRAM. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 19(1), 199–212. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/16038
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กฤตนัย เจริญสุข.(2565). การศึกษาผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจต่อการใช้ชุดการสอนวิทยาศาสตร์เรื่อง ไฟฟ้าแสนสนุก ร่วมกับสถานการณ์จำลองแบบมีปฏิสัมพันธ์ของ PhET ของนักเรียนที่ขาดเรียนต่อเนื่องจากการติดเชื้อโควิด-19 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวิชากร สำนักงานเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร. รายงานวิจัยในชั้นเรียน 6 โรงเรียนวิชากร สำนักงานเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร.

จิรัสยา นาคราช. (2558). การพัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบประสาทและความสามารถในการ สืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ สืบเสาะหาความรู้. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยลัยบูรพา

ชฎาพร มีอเนก และคณะ. (2565). การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นร่วมกับการใช้ผังมโนทัศน์ เพื่อ พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โครโมโซม และ สารพันธุกรรมนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิจัย และ นวัตกรรมสถาบันการอาชีวศึกษา กรุงเทพมหานคร, 5(2), 219-233.

ณัฐดนัย นิรุตติ์เมธีกุล และ อรรถกานท์ ทองแดงเจือ. (2023). การพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์ ด้วยวัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น ผสมผสานกับสถานการณ์จำลองแบบ มีปฏิสัมพันธ์ ของ PhET ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5. วารสารครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์, 1(1), 39-53.

ทวีทรัพย์ ยอดสวัสดิ์ และภรทิพย์ สุขเพิ่ม. (2023). การพัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างอะตอมของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับ สื่อแอนิเมชัน. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขต ปัตตานี, 34(2), 149-163.

บุญธิดา โรจนคุณธรรม. (2558). การพัฒนาแนวคิดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ระบบย่อย อาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต

พีระพล ชินรัตน์. (2564). การใช้สถานการณ์จำลองเชิงปฏิสัมพันธ์ ของ PhET ในการเรียนการสอนฟิสิกส์. Available: http://ir.swu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/27943/1/SPSM-Peeraphon-C 2564.pdf. 12 มิถุนายน 2566.

Juntharatkul, P., & Kijkuakul, S. (2021). The development of scientific concepts in organic compounds by using model-based learning for grade 12th students. Journal of education Naresuan university, 23(3), 205-216.

Pratumsala, K., & Nuangchalerm, P. (2022). Development of Science Literacy through Science Learning Management Process According to Technological Pedagogical and Content Knowledge Model (TPACK) on Interactions in the Solar System and Space Technology for Mathayomsuksa 3 Students. Doctoral dissertation, Mahasarakham University.