ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในการบริหารของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1

FACTORS AFFECTING DIGITAL TRANSFORMATION IN ADMINISTRATION OF SCHOOLS UNDER PATHUMTHANI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1

Authors

  • ศิวพร แต้มคู แขนงวิชาบริหารการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • กุลชลี จงเจริญ แขนงวิชาบริหารการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ฐิติกรณ์ ยาวิไชย จารึกศิลป์ แขนงวิชาบริหารการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Keywords:

ปัจจัย , การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล , การบริหารของสถานศึกษา

Abstract

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของปัจจัยท่ีเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในการบริหารของสถานศึกษา 2) ระดับของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในการบริหารของสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในการบริหารของสถานศึกษา และ 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในการบริหารของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 จํานวน 86 แห่ง ได้จากการกําหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางเครจซี่และมอร์แกน จากน้ันทําการสุ่มแบ่งชั้นตามขนาดสถานศึกษาแล้วทําการสุ่มอย่างง่าย ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครู สถานศึกษาละ 4 คน รวม 344 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล และการเปลี่ยนแปลง ทางดิจิทัล สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายแบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุโดยวิธีแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในการ บริหารของสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในการบริหารของสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในการบริหารของสถานศึกษาอยู่ในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ปัจจัย ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในการบริหารของสถานศึกษาอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยปัจจัยทั้งหมดร่วมกันทํานายการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในการบริหารของสถานศึกษาได้ร้อยละ 77.2

References

กนกภรณ์ เทศผล. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการรู้ดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

โกศล จิตวิรัตน์. (2562, November-December). ปัจจัยแห่งความสําเร็จในการเปลี่ยนแปลงสู่องค์การดิจิทัลไทยแลนด์ 4.0 ในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 12(6), 1796-1816.

จันทร์จิรา เหลาราช. (2564, September-December). ปัจจัยแห่งความสําเร็จในการปรับเปลี่ยนสู่องค์กรดิจิทัล. Journal of

Information Science. 39(4), 1-14.

จิตรกร จันทร์สุข และจีรนันท์ วัชรกุล. (2564, พฤษภาคม-สิงหาคม). การศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นําดิจิทัลสําหรับผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 15(2), 41- 42.

เจริญ ภูวิจิตร. (2565). การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล. สืบค้นจาก http://www.nidtep.go.th/2017/publish/doc/20210827.pdf

ชัยรัตน์ ชามพูนท. (2564, มกราคม-เมษายน). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคการเปลี่ยนฉับพลันทางดิจิทัล. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 8(1), 195-207.

ณัฏฐณิชา พรปทุมชัยกิจ. (2564). ภาวะผู้นํายุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, ศรีสะเกษ.

ธนชาติ นุ่มนนท์. (2565). การทํา Digital transformation ระดับอุดมศึกษา. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/columnist/1012038

ปัณณธร เล็กสุภาพ. (2556). การนํานโยบายแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทยไปสู่การปฏิบัติของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

พิชญ์สินี มะโน. (2562, มกราคม-เมษายน). ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในยุค DIGITAL DISRUPTION ต่อการศึกษา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 18(1), 1-6.

พิรภพ จันทร์แสนตอ. (2559). รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ไอซีทีสําหรับนักศึกษาสาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.

วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ. (2563, มกราคม-มิถุนายน). การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลขององค์กรภาครัฐเพื่อยกระดับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทย. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 18(1), 15-22.

วานิช อินคงงาม. (2561). ปัจจัยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลต่อการบริหารงานของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี, ปทุมธานี.

เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ. (2561, มกราคม-ธันวาคม). การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของประเทศไทย เพ่ือนําไปสู่ Thailand 4.0.

วารสารวิชาการ กสทช. ประจําปี 2561. 1(2), 21-42.

สงบ อินทรมณี. (2562, มกราคม-มิถุนายน). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยี อีสเทิร์น, 16(1), 353-360.

สิงห์คํา ยอดปานันท์. (2562). ภาวะผู้นําเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลง ในสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2560). กระบวนการทัศน์เทคโนโลยีการศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: แพร่ไทยอุตสาหการพิมพ์

สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2565). แนวทางพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล. สืบค้นจาก https://www.ocsc.go.th>digital skills.

สํานักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. (2561). โครงการศึกษาเพื่อปรับปรุงและพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจดิจิทัล. รายงานการวิจัย สํานักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

สํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. (2565). แผนปฏิบัติการประจําปีงบประมาณ 2565. ปทุมธานี: กลุ่มนโยบายและแผน สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1.

สํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. (2566). รายงานผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2565. ปทุมธานี: กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา สํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษา ประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1.

สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2558). เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy): นโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่. กรุงเทพฯ: สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

หมายชนก กระปุกทอง. (2563). การก้าวข้ามอุปสรรคของผู้สอนในการบูรณาการเทคโนโลยีเข้ากับการสอนในห้องเรียนระดับอุดมศึกษา ประเทศไทย: อิทธิพลจากมุมมองของกลุ่มบุคลากรผู้สอนและนักศึกษา. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ทุนอุดหนุนการวิจัยประเภทนักวิจัยรุ่นใหม่ ประจําปี 2563.

อดิศร ก้อนคํา. (2563, มกราคม-เมษายน). กลยุทธ์การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิผลสําหรับ โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสาร ครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 7(1), 159-180.

อิทธิฤทธิ์ กลิ่นเดช. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําเขิงเทคโนโลยีกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสระบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

Atachi Engineering. (2022). Digital transformation. Retrieved from http://www.atachi.com>บทความ:

Bluebik. (2021). 6 ขั้นตอน ขับเคลื่อนองค์กร สู่ "Digital Transformation". Retrieved from http://www.bluebik.com

Gordon, J. R. (1999). Organizational behavior: A diagnostic approach. NJ: Prentice Hall.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 608 - 610.

Ophange, K. (2012). การจัดการความเปลี่ยนแปลง (Change Management). Retrieved from https://www.gotoknow.org>posts:

Orawan, N. (2013). Change management process and knowledge management. Retrieved from

https://www.stou.ac.th/Schools/Shs/ book56_4/km.html

SAS Institute Inc. (2021). 2021-2022 Annual Report. Retrieved from https://www.sas.com.

Van Meter, D. S., & Van Horn, C. E. (1975, January). The Policy Implementation Process: A Conceptual Framework. Administration & Society, 6(4), 445-488.

Wheelen, T. L., & Hunger, D, J. (2002). Strategic Management and Business Policy (8 th ed.). New Jersey: Prentice - Hall.

Downloads

Published

2024-05-28

How to Cite

แต้มคู ศ. ., จงเจริญ ก., & ยาวิไชย จารึกศิลป์ ฐ. . (2024). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในการบริหารของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1: FACTORS AFFECTING DIGITAL TRANSFORMATION IN ADMINISTRATION OF SCHOOLS UNDER PATHUMTHANI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 19(1), 30–45. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15758