ผลของสารสกัดด้วยน้ำจากใบดาษตะกั่วต่อการงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของผักกาดหัวและข้าวเจ้า
Main Article Content
Abstract
Boonrod Chatiyanon, Somkiat Phornphisutthimas and Chalermchai Wongwattana
รับบทความ: 12 เมษายน 2557; ยอมรับตีพิมพ์: 23 พฤษภาคม 2557
บทคัดย่อ
การศึกษาผลของสารสกัดด้วยน้ำจากใบดาษตะกั่วแห้งในอัตราส่วนใบต่อน้ำกลั่นเท่ากับ 1:40 1:20 และ 1:10 (น้ำหนักต่อปริมาตร) ต่อการงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของต้นกล้าผักกาดหัว (Raphanus sativus L. var. longipinnatus L.H. Bailey) และข้าวเจ้า (Oryza sativa L.) ในห้องปฏิบัติการ พบว่า สารสกัดจากใบดาษตะกั่วแห้งสามารถยับยั้งการงอกของเมล็ด และการเจริญเติบโตของต้นกล้าพืชทดสอบทั้งสองชนิดได้ การเพิ่มความเข้มข้นของสารสกัดด้วยการปรับอัตราส่วนใบพืชต่อน้ำกลั่น มีผลให้ศักยภาพในการยับยั้งเพิ่มมากขึ้น และสารสกัดจากใบแห้งในอัตราส่วน 1:10 สามารถยับยั้งการงอกของเมล็ดผักกาดหัวได้ทั้งหมด จากการทดสอบผลของค่าศักย์ออสโมซิสของสารละลายต่อการงอกของเมล็ดผักกาดหัวและเมล็ดข้าว โดยใช้สารละลายโพแทสเซียมคลอไรด์ แสดงให้เห็นว่า ค่าศักย์ออสโมซิสของสารสกัดจากใบดาษตะกั่วแห้งไม่มีผลต่อการยับยั้งการงอกของเมล็ดผักกาดหัวและเมล็ดข้าว แสดงว่า ผลการยับยั้งของสารสกัดจากใบดาษตะกั่วแห้งเกิดจากสารอัลลีโลพาทีที่มีอยู่ในใบพืชเอง
คำสำคัญ: สารสกัดน้ำ การงอก การเจริญเติบโตของพืช อัลลีโลพาที
Abstract
Effects of Hemigraphis alternata (Burm. f.) T. Anderson using the ratios of dryleaves : distilled water at 1:40, 1:20 and 1:10 (w/v) on seed germination of the two crop species, namely Raphanus sativus L. var. longipinnatus L.H. Bailey and Oryza sativa L., were investigated by using the distilled water as a control in laboratory level. The results revealed that dry-leaf crude extracts significantly inhibited both seed germination and seeding growths of the two crops. When increasing the extract concentrations by adjusting the ratios of dry leaves and distilled water, the inhibitory potentialities were also increased. The 1:0 ratio of crude extract completely inhibited seed germination of R. sativus. By investigating the osmotic potential of the water leaf extracts using KCl solution as a tester, the results showed that the osmotic potential of dry–leaf extracts from H. alternata had no effect on seed germination. Therefore, the inhibition effects of dry–leaf extract from H. alternata naturally occurred from allelochemicals in the plant leaves.
Keywords: Water extract, Seed germination, Seedling growth, Allelopathy
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
เฉลิมชัย วงศ์วัฒนะ และสมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ. (2555). ศักยภาพทางอัลลีโลพาทีของสารสกัดจากใบพืชวงศ์ Acanthaceae บางชนิด. วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์ 12(2): 151-163.
ประชิด วามานนท์. (2550). ไม้ประดับเพื่อการตกแต่ง. กรุงเทพฯ: บ้านและสวน.
อัญชลี จาละ และอมรทิพย์ วงค์สารสิน. (2556). ผลของสารอัลลีโลพาทีจากต้อยติ่งที่มีต่อการงอกของเมล็ดไมยราบ ผักเสี้ยน และผักโขมหิน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 21(6)(ฉบับพิเศษ): 558-564.
อาทิตยา นุราฤทธิ์ กรองแก้ว พู่พิทยาสถาพร และเฉลิมชัย วงศ์วัฒนะ. (2552). ผลของสารสกัดจากใบพืชวงศ์ Annonaceae 3 ชนิด ต่อการงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของต้นกล้าหญ้าขจรจบดอกเล็กและหญ้ารังนก. วารสารวิทยาศาสตร์ มศว 25(1): 115-131.
Chanta, P., and Wongwattana, C. (2006). Allelopathy in Ruellia tuberosa Linn. Agricultural Science Journal 37(6) (Suppl.): 445-458.
Chatiyanon B., Tanee, T., Talubmook C., and Wongwattana, C. (2012). Effect of Hyptis suaveolens Piot. leaf extracts on seed germination and subsequent seedling growth of Pennisetum setosum (Swartz.) L.C. Rich and Mimosa invisa Mart. Agricultural Journal 7(1): 17-20.
Egley, G. H. (1974). Dormancy variations in common purslane seeds. Weed Sciences 22: 535-540.
Jalali, M., Moosarinasab, M., and Saffari, M. (2013). Allelopathic Effects of aqueous extracts of Xanthium strumarium L. on germination characteristics and seedling growth of Zea maize L. International Journal of Agriculture: Research and Review 3(2): 223-227.
Mubeen, K., Nadeem, M.A., Tanveer, A and Zahir, Z. A. (2012). Allelopathic effects of sorghum and sunflower water extracts on germination and seedling growth of rice (Oryza sativa L.) and three weed species. The Journal of Animal and Plant Sciences 22(3): 738-746.
Putnam, A. R. (1985). Weed Allelopathy. In S. O. Duke (ed.) Weed Physiology Vol. ll: Reproduction and Ecophysiology. Florida: CRC Press.
Rice, E. L. (1984). Allelopathy. 2nd ed. Orlando: Academic Press.