การศึกษาและพัฒนาภูมิคุ้มกันทางจิตของวัยรุ่นไทย
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาภูมิคุ้มกันทางจิตของวัยรุ่นไทย 2) พัฒนารูปแบบการให้คำปรึกษากลุ่มแบบมุ่งเน้นคำตอบเพื่อพัฒนาภูมิคุ้มกันทางจิตของวัยรุ่นไทย และ 3) ประเมินผลของการใช้รูปแบบการให้คำปรึกษากลุ่มแบบมุ่งเน้นคำตอบเพื่อพัฒนาภูมิคุ้มกันทางจิตของวัยรุ่นไทยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ วัยรุ่นไทยที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกใช้ในการศึกษาภูมิคุ้มกันทางจิต เป็นวัยรุ่นไทย จำนวน 909 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอนเชิงกลุ่ม และกลุ่มที่สองใช้ในการพัฒนาภูมิคุ้มกันทางจิต เป็นวัยรุ่นไทยของโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กรุงเทพมหานคร ที่ได้จากการคัดเลือกแบบเจาะจงจากกลุ่มแรก ที่มีคะแนนภูมิคุ้มกันทางจิตโดยรวมตั้งแต่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 ลงมา จำนวน 16 คน โดยสุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลอง8 คน และกลุ่มควบคุม 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดภูมิคุ้มกันทางจิตของวัยรุ่นไทย มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 และรูปแบบการให้คำปรึกษากลุ่มแบบมุ่งเน้นคำตอบเพื่อพัฒนาภูมิคุ้มกันทางจิตของวัยรุ่นไทย มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ภูมิคุ้มกันทางจิตของวัยรุ่นไทยมีค่าเฉลี่ยโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยภูมิคุ้มกันทางจิต ของวัยรุ่นไทยรายด้าน ได้แก่ ด้านการแก้ปัญหา การคิดเชิงบวก การรับรู้ความสามารถของตนเอง การควบคุมตนเอง และความหยุ่นตัวทางจิตใจ 2. รูปแบบการให้คำปรึกษากลุ่มเพื่อพัฒนาภูมิคุ้มกันทางจิตของวัยรุ่นไทย พัฒนาจากแนวคิดทฤษฎีและเทคนิคการให้คำปรึกษากลุ่มแบบมุ่งเน้นคำตอบประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นเริ่มต้น ขั้นดำเนินการ และขั้นสรุป 3. ภูมิคุ้มกันทางจิตของวัยรุ่นไทยโดยรวมและรายด้านของกลุ่มทดลองหลังการทดลอง และหลังการติดตามผลสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนหลังการทดลอง และหลังการติดตามผล ไม่แตกต่างกัน 4. ภูมิคุ้มกันทางจิตของวัยรุ่นไทยโดยรวมและรายด้านของกลุ่มทดลอง หลังการทดลองและ หลังการติดตามผล สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คําสําคัญ: ภูมิคุ้มกันทางจิต วัยรุ่นไทย การให้คำปรึกษากลุ่มแบบมุ่งเน้นคำตอบ ABSTRACT The purposes of this research were 1) to study the psychological immunity of Thai adolescents; 2) to develop a group counseling model based on solution-focused group counseling for developing psychological immunity of Thai adolescents; and 3) to evaluate the effect of group counseling model based on solution-focused group counseling for developing psychological immunity of Thai adolescents. The subjects were grade I-III secondary school Thai adolescents from the Office of the Basic Education Commission, Ministry of Education, Thailand. They were divided into two groups. The first group of the psychological immunity study comprised 909Thai adolescents. The second group consisted of 16 Bodindecha (Sing Singhaseni) school Thai adolescents. They were purposively selected from the students whose psychological immunity scores were lower than25th percentile. They were then randomly selected into two group, classified as an experimental group and a control group. Each group was consisted of eight adolescents. The research instruments were psychological immunity inventory of the Thai adolescents with reliability of 0.92 and a group counseling model based on solution-focused group counseling for developing psychological immunity of Thai adolescents with IOC of 1.00. The research results were as follows: 1. The total mean score and each dimension score of the psychological immunity of 909 Thai adolescents were high. The dimensions of the psychological immunity included problem-solving, positive thinking, self-efficacy, self-control, and resilience. 2. The group counseling model for developing psychological immunity was developed from concept theory and techniques of solution-focused group counseling. The model included three stages: the initial stage, the working stage, and the summarizing stage. 3. The total score and each dimension score of the psychological immunity of Thai Adolescents of the experimental group after the experiment and after the follow-up were significantly higher than before the experiment at .01 level. No significant differences in the psychological immunity of the experimental group existed after the experiment and after the follow-up. 4. The totalscore and each dimension score of the psychological immunity of Thai adolescents of the experimental group after the experiment and after the follow-up were significantlyhigher than that of the control group at .01 level. Keywords: Psychological Immunity, Thai Adolescents, Solution-Focused Group Counseling
Article Details
How to Cite
จารุเพ็ง ม. (2017). การศึกษาและพัฒนาภูมิคุ้มกันทางจิตของวัยรุ่นไทย. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 12(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/9836
Section
บทความวิจัย (Research Articles)