การเสริมสร้างความหยุ่นตัวของนักเรียนในครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยว ด้วยการให้คำปรึกษากลุ่ม

Main Article Content

มารุต ศักดิ์แสงวิจิตร
มณฑิรา จารุเพ็ง
พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความหยุ่นตัวของนักเรียนในครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยวในภาพรวมและรายองค์ประกอบ 2) เปรียบเทียบความหยุ่นตัวก่อนและหลังเข้าร่วมการให้คำปรึกษากลุ่มของกลุ่มทดลอง 3) เปรียบเทียบความหยุ่นตัวของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 คือ คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 149 คน กลุ่มที่ 2 ได้มาจากเลือกแบบเจาะจงจากนักเรียนกลุ่มแรกที่ได้คะแนนตั้งแต่เปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 ลงมา และสมัครใจเข้าร่วม จำนวน 16 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความหยุ่นตัวของนักเรียนในครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยว หาคุณภาพเครื่องมือโดยหาความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของการวิจัยกับเนื้อหา วิธีการจากผู้เชี่ยวชาญ   และนำไปทดลองใช้ 2) แบบวัดความหยุ่นตัวของนักเรียนในครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยว หาคุณภาพโดยการหาความสอดคล้อง (IOC) ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.34 - 0.77 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับได้ 0.72 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติคำนวณค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า t กลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกันและเป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ความหยุ่นตัวของนักเรียนในครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยวในภาพรวมและรายองค์ประกอบอยู่ในระดับ ปานกลาง 2. หลังการเข้าร่วมการให้คำปรึกษากลุ่มนักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนความหยุ่นตัวสูงกว่าก่อนการให้คำปรึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. หลังการเข้าร่วมการให้คำปรึกษากลุ่มนักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนความหยุ่นตัวสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คำสำคัญ : ความหยุ่นตัว, แม่เลี้ยงเดี่ยว, การให้คำปรึกษากลุ่ม   ABSTRACT The purposes of this research are (1) to study resilience among single-mom family students; (2) to compare resilience among single mom family students before and after participating in the experimental group in terms of group counseling; and (3) to compare resilience among single mom family students before and after participating in the experimental and control group in terms of group counseling. The samples in this study consisted of two group. 1) The first group consisted of one hundred and forty-nine Grade Ten students by simple random sampling and a second group of sixteen students from first group. Meanwhile, the subjects in experimental group included Grade Ten students whose resilience scores the 25th percentile, established by purposive sampling and voluntarily to participate in the group counseling. The research instruments used in the study were (1) group counseling for the enhancement of resilience of single-mom family students; (2) resilience in study of single-mom family students questionnaire. The data were analyzed by statistics for calculating mean (), standard deviation (SD), dependent t-test and Independent t-test. The research results were as follow: 1. The resilience in study of single-mom family students as a whole was at the medium level and each dimension of resilience were at medium level 2. The resilience of the experimental group after the experiment was and higher than before the experiment at a significantly increased level of .01 3. The resilience of the experimental group after the experiment was higher than the control group were significantly higher at a level of .01. Keywords: Resilience Enhancement, Single Mom Family Students, Group counseling

Article Details

How to Cite
ศักดิ์แสงวิจิตร ม., จารุเพ็ง ม., & ศรีสวัสดิ์ พ. (2019). การเสริมสร้างความหยุ่นตัวของนักเรียนในครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยว ด้วยการให้คำปรึกษากลุ่ม. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 14(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/12294
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

Most read articles by the same author(s)

> >>