การเสริมสร้างสมรรถนะทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยโดยการใช้กิจกรรมกลุ่มบนฐานวิธีการเชิงสร้างสรรค์ THE ENHANCEMENT OF EMOTIONAL COMPETENCE AMONG EARLY CHILDHOOD THROUGH GROUP ACTIVITY BASED ON CREATIVE APPROACHES

Main Article Content

ภัทราวดี ภูมี
มณฑิรา จารุเพ็ง
สกล วรเจริญศรี

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย และ 2) เปรียบเทียบสมรรถนะทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้กิจกรรมกลุ่มบนฐานวิธีการเชิงสร้างสรรค์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นเด็กปฐมวัยที่มีอายุ 3 - 5 ปี ชั้นอนุบาล 1 - 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 90 คน ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนแห่งหนึ่ง โดยการศึกษาสมรรถนะทางอารมณ์ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลกับกลุ่มประชากรทั้งหมดและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเสริมสร้างสมมรรถนะทางอารมณ์จากการเลือกแบบเจาะจง โดยคัดเลือกนักเรียนที่มีคะแนนสมรรถนะทางอารมณ์ตั้งแต่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 50 ลงมา มีความสมัครใจในการเข้าร่วมการทดลองและได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง ได้จำนวนทั้งสิ้น 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบวัดสมรรถนะทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.992 2) กิจกรรมกลุ่มบนฐานวิธีการเชิงสร้างสรรค์ ค่าความเที่ยงตรงเท่ากับ 0.933 โดยใช้เทคนิคการอ่านนิทาน การใช้จินตนาการมรการดูภาพและเล่าเรื่อง เทคนิคเชิงสร้างสรรค์โดยใช้กิจกรรมกลุ่ม การวาดรูประบายสี การเล่นผ่านการรับรู้ทางประสาทสัมผัส บอร์ดเกมและการเล่นบทบาทสมมติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1) เด็กปฐมวัยมีคะแนนเฉลี่ยของสมรรถนะทางอารมณ์โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับสูง 2) เด็กปฐมวัยที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มบนฐานวิธีการเชิงสร้างสรรค์มีสมรรถนะทางอารมณ์หลังการทดลองเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
ภูมี ภ., จารุเพ็ง ม., & วรเจริญศรี ส. (2024). การเสริมสร้างสมรรถนะทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยโดยการใช้กิจกรรมกลุ่มบนฐานวิธีการเชิงสร้างสรรค์: THE ENHANCEMENT OF EMOTIONAL COMPETENCE AMONG EARLY CHILDHOOD THROUGH GROUP ACTIVITY BASED ON CREATIVE APPROACHES. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 19(2), 111–121. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/16283
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Alzahrani, M., Alharbi, M., & Alodwani, A. (2019). The Effect of Social-Emotional Competence on Children Academic Achievement and Behavioral Development. International Education Studies, 12(12), 141. https://doi.org/10.5539/ies.v12n12p141

Bartroli, M., Angulo-Brunet, A., Bosque-Prous, M., Clotas, C., & Espelt, A. (2022). The Emotional Competence Assessment Questionnaire (ECAQ) for Children Aged from 3 to 5 Years: Validity and Reliability Evidence. Education Sciences, 12(7), 489. https://doi.org/10.3390/educsci12070489

Denham, S. A., Wyatt, T. M., Bassett, H. H., Echeverria, D., & Knox, S. S. (2009). Assessing social-emotional development in children from a longitudinal perspective. Journal of Epidemiology & Community Health, 63(Suppl 1), i37–i52. https://doi.org/10.1136/jech.2007.070797

Pahl, K. M., & Barrett, P. M. (2007). The Development of Social–Emotional Competence in Preschool-Aged Children: An Introduction to the Fun FRIENDS Program. Australian Journal of Guidance and Counselling, 17(1), 81–90. https://doi.org/10.1375/ajgc.17.1.81

Tobin, R. M., Sansosti, F. J., & McIntyre, L. L. (2007). Developing Emotional Competence in Preschoolers: A Review of Regulation Research and Recommendations for Practice. The California School Psychologist, 12(1), 107–120. https://doi.org/10.1007/BF03340935

เกริก ยุ้นพันธ์. (2543). 2. In การเล่านิทาน (Vol. 3). essay, กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

คมเพชร ฉัตรรศุภกุล. (2546). กิจกรรมกลุ่มในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: แสงรุ้ง การพิมพ์.

นิตยา. (2546). การใช้กิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาพฤติกรรมกล้าแสดงออกของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน บ้านปงสนกุ จังหวัดลำปาง. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยั เชียงใหม่, 10.

เยาวพา. (2542). การศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เอบี กราฟฟิคส์ดีไซน์.

ศรีกัญภัสสร์, & หาคูณ . (2560). ความรู้เบื้องต้นทางการศึกษาปฐมวัย : 15 เรื่องที่ควรรู้ (Vol. 3). โรงพิมพ์มหาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ศรีเรือน. (2553). 199. In จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย (Vol. 9). essay, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมนึก เหลืองอ่อน. (2549). การใช้กิจกรรมกลุ่มเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ช่วงชั้นที่ 3. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.(การศึกษาพิเศษ). เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่., 9.

สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2553). การศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

Most read articles by the same author(s)

> >>