การเสริมสร้างสมรรถนะทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยโดยการใช้กิจกรรมกลุ่มบนฐานวิธีการเชิงสร้างสรรค์ THE ENHANCEMENT OF EMOTIONAL COMPETENCE AMONG EARLY CHILDHOOD THROUGH GROUP ACTIVITY BASED ON CREATIVE APPROACHES

Main Article Content

ภัทราวดี ภูมี

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย และ 2) เปรียบเทียบสมรรถนะทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้กิจกรรมกลุ่มบนฐานวิธีการเชิงสร้างสรรค์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นเด็กปฐมวัยที่มีอายุ 3 - 5 ปี ชั้นอนุบาล 1 - 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 90 คน ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนแห่งหนึ่ง โดยการศึกษาสมรรถนะทางอารมณ์ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลกับกลุ่มประชากรทั้งหมดและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเสริมสร้างสมมรรถนะทางอารมณ์จากการเลือกแบบเจาะจง โดยคัดเลือกนักเรียนที่มีคะแนนสมรรถนะทางอารมณ์ตั้งแต่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 50 ลงมา มีความสมัครใจในการเข้าร่วมการทดลองและได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง ได้จำนวนทั้งสิ้น 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบวัดสมรรถนะทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.992 2) กิจกรรมกลุ่มบนฐานวิธีการเชิงสร้างสรรค์ ค่าความเที่ยงตรงเท่ากับ 0.933 โดยใช้เทคนิคการอ่านนิทาน การใช้จินตนาการมรการดูภาพและเล่าเรื่อง เทคนิคเชิงสร้างสรรค์โดยใช้กิจกรรมกลุ่ม การวาดรูประบายสี การเล่นผ่านการรับรู้ทางประสาทสัมผัส บอร์ดเกมและการเล่นบทบาทสมมติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1) เด็กปฐมวัยมีคะแนนเฉลี่ยของสมรรถนะทางอารมณ์โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับสูง 2) เด็กปฐมวัยที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มบนฐานวิธีการเชิงสร้างสรรค์มีสมรรถนะทางอารมณ์หลังการทดลองเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
ภูมี ภ. (2024). การเสริมสร้างสมรรถนะทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยโดยการใช้กิจกรรมกลุ่มบนฐานวิธีการเชิงสร้างสรรค์: THE ENHANCEMENT OF EMOTIONAL COMPETENCE AMONG EARLY CHILDHOOD THROUGH GROUP ACTIVITY BASED ON CREATIVE APPROACHES. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 19(2), 111–121. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/16283
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Alzahrani, M., Alharbi, M., & Alodwani, A. (2019). The Effect of Social-Emotional Competence on Children Academic Achievement and Behavioral Development. International Education Studies, 12(12), 141. https://doi.org/10.5539/ies.v12n12p141

Bartroli, M., Angulo-Brunet, A., Bosque-Prous, M., Clotas, C., & Espelt, A. (2022). The Emotional Competence Assessment Questionnaire (ECAQ) for Children Aged from 3 to 5 Years: Validity and Reliability Evidence. Education Sciences, 12(7), 489. https://doi.org/10.3390/educsci12070489

Denham, S. A., Wyatt, T. M., Bassett, H. H., Echeverria, D., & Knox, S. S. (2009). Assessing social-emotional development in children from a longitudinal perspective. Journal of Epidemiology & Community Health, 63(Suppl 1), i37–i52. https://doi.org/10.1136/jech.2007.070797

Pahl, K. M., & Barrett, P. M. (2007). The Development of Social–Emotional Competence in Preschool-Aged Children: An Introduction to the Fun FRIENDS Program. Australian Journal of Guidance and Counselling, 17(1), 81–90. https://doi.org/10.1375/ajgc.17.1.81

Tobin, R. M., Sansosti, F. J., & McIntyre, L. L. (2007). Developing Emotional Competence in Preschoolers: A Review of Regulation Research and Recommendations for Practice. The California School Psychologist, 12(1), 107–120. https://doi.org/10.1007/BF03340935

เกริก ยุ้นพันธ์. (2543). 2. In การเล่านิทาน (Vol. 3). essay, กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

คมเพชร ฉัตรรศุภกุล. (2546). กิจกรรมกลุ่มในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: แสงรุ้ง การพิมพ์.

นิตยา. (2546). การใช้กิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาพฤติกรรมกล้าแสดงออกของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน บ้านปงสนกุ จังหวัดลำปาง. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยั เชียงใหม่, 10.

เยาวพา. (2542). การศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เอบี กราฟฟิคส์ดีไซน์.

ศรีกัญภัสสร์, & หาคูณ . (2560). ความรู้เบื้องต้นทางการศึกษาปฐมวัย : 15 เรื่องที่ควรรู้ (Vol. 3). โรงพิมพ์มหาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ศรีเรือน. (2553). 199. In จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย (Vol. 9). essay, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมนึก เหลืองอ่อน. (2549). การใช้กิจกรรมกลุ่มเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ช่วงชั้นที่ 3. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.(การศึกษาพิเศษ). เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่., 9.

สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2553). การศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต