การพัฒนาระบบการแจ้งผลคะแนนอัตโนมัติด้วยไลน์แชทบอทสำหรับรายวิชาการรู้ดิจิทัล DEVELOPMENT OF AN AUTOMATIC SCORE APPLICATION WITH LINE CHATBOT FOR THE DIGITAL LITERACY COURSE

Main Article Content

พรวนา รัตนชูโชค
จุฬาวลี มณีเลิศ

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบการแจ้งผลคะแนนอัตโนมัติด้วยไลน์แชทบอทสำหรับรายวิชาการรู้ดิจิทัล 2) หาประสิทธิภาพของระบบแจ้งผลคะแนนอัตโนมัติด้วยไลน์แชทบอท และ 3) ประเมินความพึงพอใจการใช้งานระบบแจ้งผลคะแนนอัตโนมัติด้วยไลน์แชทบอท กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างสำหรับประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิเคชัน จำนวน 5 คน โดยการใช้วิธีการแบบเจาะจง และกลุ่มตัวอย่างของการประเมินความพึงพอใจของการใช้งานระบบแจ้งผลคะแนนอัตโนมัติด้วยไลน์แชทบอท จำนวน 32 คน โดยการใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ระบบการแจ้งผลคะแนนอัตโนมัติด้วยไลน์แชทบอทสำหรับรายวิชาการรู้ดิจิทัล แบบประเมินประสิทธิภาพ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบการแจ้งผลคะแนนอัตโนมัติด้วยไลน์แชทบอทสำหรับรายวิชาการรู้ดิจิทัลสามารถแจ้งผลคะแนนแบบฝึกหัดท้ายบท คะแนนชิ้นงานปฏิบัติ และคะแนนสอบผ่านไลน์แอปพลิเคชัน โดยโต้ตอบการสนทนาอัตโนมัติกับผู้เรียนได้ 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพจากผู้เชี่ยวชาญโดยภาพรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.761 และ 3) ความพึงพอใจโดยผู้ใช้งาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.673 ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่า ระบบการแจ้งผลคะแนนอัตโนมัติด้วยไลน์แชทบอทช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียนและผู้สอน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการแจ้งผลคะแนนให้กับผู้เรียนได้

Article Details

How to Cite
รัตนชูโชค พ., & มณีเลิศ จ. . (2024). การพัฒนาระบบการแจ้งผลคะแนนอัตโนมัติด้วยไลน์แชทบอทสำหรับรายวิชาการรู้ดิจิทัล: DEVELOPMENT OF AN AUTOMATIC SCORE APPLICATION WITH LINE CHATBOT FOR THE DIGITAL LITERACY COURSE. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 19(1), 126–138. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/16014
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Likert, R. (1932). A Technique for the Measurement of Attitudes. Archives of Psychology 140: (pp. 1–55).

Villanueva, D., & Aguilar-Alonso, I. (2021). A Chatbot as a Support System for Educational Institutions. 2021 62nd International Scientific Conference on Information Technology and Management Science of Riga Technical University (ITMS) (pp. 1-6). Riga: Latvia. doi:10.1109/ITMS52826.2021.9615271.

ขวัญฤดี ฮวดหุ่น. (2560). อิทธิพลของแอพพลิเคชั่นไลน์ในการสื่อสารยุคปัจจุบัน. วารสารศิลปการจัดการ, 1(2), 75-88.

ฐิติกร ทองเอียด. (14 เมษายน 2565). การใช้ Line Chatbot เพื่อการแพทย์. เรียกใช้เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2567 จาก WU BLOGS Walailak University Learning Community: https://blog.wu.ac.th/?p=365#:~:text=ChatBot%20Line%20คือ%20บัญชีไลน์,Dialogflow%20 ที่ใช้งานง่าย

ธนากร อุยพานิชย์, และ กอบแก้ว มีเพียร. (2565). การพัฒนาแชทบอทเพื่อบริการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา. วารสารวิทยสารสนเทศและเทคโนโลยี, 3(1), 65-76.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพ: สุวีริยาสาส์น.

มนต์ทิชา รัตนพันธ์, และ ฉัตรวดี สายใยทอง. (2566). การพัฒนา Line Chatbot สำหรับงานบริการด้านงานวิจัย กรณีศึกษาสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารวิจัยประยุกต์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 22(1), 78-89.

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (ม.ป.ป.). GEN1402 การรู้ดิจิทัล. เรียกใช้เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2567 จาก CMRU MOOCs: https://cmrumooc.teachable.com/p/a6ff0b

วิชุดา ไชยศิวามงคล, เยาวลักษณ์ สมพงษ์, สุชิราภรณ์ สุนทรภักดิ์, และ สุธารัตน์ พิทยาวัฒนชัย. (2565). การพัฒนาไลน์ แชทบอทสำหรับระบบห้องสมุุดอัตโนมัติ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 30(6), 1-18.

สุขสวัสดิ์ แซ่ลิ่ม, และพรเทพ นํ้าใจสุข. (2563). การพัฒนาระบบแชทบอทสำหรับการให้บริการข้อมูลของศูนย์สุขภาพ ชุมชนเมือง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. งานประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 12 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. (9 - 10 กรกฎาคม 2563) , น. 535-542.

อภิชัย ตระหง่านศรี. (2566). การพัฒนาระบบสารสนเทศอัตโนมัติเพื่อแสดงผลข้อมูลการเรียนผ่านไลน์แชทบอท. สหวิทยาการสังคมศาสตร์ และการสื่อสาร, 6(2), 127-138.

แอลวาย คอร์ปอเรชั่น. (ม.ป.ป.). LINE. เรียกใช้เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2567 จาก LINE: https://line.me/th/