การประเมินผลชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนา จรรยาบรรณวิชาชีพครูผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่งเสริมและอุปสรรคต่อชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาจรรยาบรรณวิชาชีพผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (E-plc) เพื่อประเมินประสิทธิผลของกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาจรรยาบรรณวิชาชีพผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และสร้างข้อเสนอเชิงนโยบายในการนำมาใช้ในการพัฒนาจรรยาบรรณวิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาปัจจัยส่งเสริมและอุปสรรคของโครงการ จำนวน 36 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาประสิทธิผลโครงการ คือ ครูพี่เลี้ยง จำนวน 55 คน นิสิตครูชั้นปีที่ 5 จำนวน 145 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการสร้างข้อเสนอเชิงนโยบาย จำนวน 7 คน เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นแบบสังเกตการปฏิบัติการสอน แบบประเมินจรรยาบรรณวิชาชีพครู และประเด็นสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติพื้นฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยส่งเสริมได้แก่ เจตคติเชิงบวกของผู้เข้าร่วมกระบวนการความร่วมมือของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องความพร้อมของระบบและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ส่วนปัจจัยอุปสรรค ได้แก่ เจตคติเชิงลบของผู้ร่วมกระบวนการ ความพร้อมของระบบและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และความซับซ้อนของขั้นตอนการดำเนินงาน 2. ประสิทธิผลของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพฯ พบว่า นิสิตครูมีจรรยาบรรณวิชาชีพจากการประเมินตนเองและการประเมินโดยครูพี่เลี้ยงอยู่ในระดับมากที่สุดโดยมีส่วนช่วยกระตุ้นเตือนให้นิสิตเห็นความสำคัญของการมีจรรยาบรรณวิชาชีพครูและทำให้มีการกำกับตนเองให้ปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ อย่างไรก็ตามผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพพบว่า จรรยาบรรณวิชาชีพครูที่เพิ่มขึ้นอาจเป็นผลมาจากการที่นิสิตได้รับการหล่อหลอมจรรยาบรรณวิชาชีพครูจากการเรียนและการทำกิจกรรมเสริมหลักสูตรในแต่ละชั้นปีด้วยเช่นกัน 3. ข้อเสนอเชิงนโยบายมีดังนี้ 3.1 กำหนดนโยบายในการพัฒนานิสิตครูโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง 3.2 ส่งเสริมให้เกิดการสร้างความเข้าใจและแรงบันดาลใจในการเข้าร่วมชุมชน 3.3 สร้างระบบการส่งเสริมความรู้ที่จำเป็น 3.4 สนับสนุนการสร้างเครือข่ายชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพบนพื้นฐานของความไว้วางใจความสมัครใจ และความเชื่อมั่นในทีม 3.5 สร้างระบบและเครือข่ายการส่งเสริมและพัฒนาครูที่ใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในการพัฒนาผู้เรียน 3.6 สร้างวัฒนธรรมองค์กรในสถาบันครุศึกษาและสถานศึกษาที่เข้มแข็งเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาผู้เรียนอย่างยั่งยืน และ 3.7 ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่สนับสนุนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ คำสำคัญ : ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพครู ABSTRACT The objectives of this research were to study the supporting factors and obstacles to professional learning community in order to developteacher professional ethics through the information technology systems (E-plc), evaluate the effectiveness, and create proposed policies for the further development. The samples were divided into 3 groups: 36 participants for study factors and obstacles, 55 mentors and 145 student teachers in year 5 for evaluate the effectiveness, and seven participants for create proposed policies. Research tools were interviews, observations, assessments for teacher professional ethics, and a focus group topics. Data analysis included descriptive statistics and content analysis. The research results reported that (1) the supporting factors were positive attitude of the participants, cooperation of the stakeholders, and system availability and the stakeholders. The obstacle factors were negative attitudes of the participants, system availability and the stakeholders, and the complexity of the usage. (2) The effectiveness of the E-plc demonstrated that the student teachers received the highest ratings in teacher professional ethics from self-assessment and mentor teachersby stimulate the student teachers to realise the importance of the professional ethics and allow self-regulation to follow the plan. Nonetheless, The results of the qualitative data analysis show that the increasing teacher professional ethics may also be the result of the students getting the professional teaching morals from their studies and extra curricular activities in each year. (3) The proposed policies are: 3.1 The establishment of the policies to develop teacher students through a systematic and continuous professional learning community. 3.2 To promote the creation of understanding and inspiration for the stakeholders to participate in the community. 3.3 To create a necessary system to promote knowledge 3.4 To support the creation of a network of professional learning communities based on trust, willingness, and team confidence. 3.5 To create a system and a network to promote and develop teachers to use the professional learning community in learner development. 3.6 To establish an organisation culture that strengthens education institutions in order to raise sustainable cooperation in learner development. 3.7 To promote the development of information technology systems that support the creation of professional learning community. Keywords: Professional Learning Community, Code of Ethics of Teaching Profession
Article Details
How to Cite
สัจจพิบูล ศ. (2019). การประเมินผลชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนา จรรยาบรรณวิชาชีพครูผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 14(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/12295
Section
บทความวิจัย (Research Articles)