การเยียวยาความโดดเดี่ยวในผู้สูงอายุด้วยการปรึกษาเชิงบูรณาการ โดยมีทฤษฎีภวนิยมเป็นฐาน HEALING LONELINESS AMONG ELDERLY THROUGH INTEGRATIVE COUNSELING BASED ON EXISTENTIAL THEORY

Main Article Content

วรรณพร ปั้นมณี
เพ็ญนภา กุลนภาดล
สรพงษ์ เจริญกฤตยาวุฒิ

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการเยียวยาความโดดเดี่ยวของผู้สูงอายุด้วยการปรึกษาเชิงบูรณาการ โดยมีทฤษฎีภวนิยมเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ผู้สูงอายุที่อยู่ในชุมชนวัดปากบ่อ กรุงเทพมหานคร ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีความสมัครใจในการเข้าร่วมการทดลอง ทำแบบประเมินความโดดเดี่ยวและได้คะแนนระดับปานกลางที่อยู่ในช่วง 41 – 60 คะแนน โดยคัดเลือกจากคะแนนสูงสุดลงมา จำนวน 20 คน ผู้วิจัยใช้วิธีการจับคู่เพื่อแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 10 คน และกลุ่มควบคุม 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วย แบบวัดความโดดเดี่ยวและการปรึกษาเชิงบูรณาการ โดยมีทฤษฎีภวนิยมเป็นฐาน โดยมีการให้การปรึกษาทั้งหมด 10 ครั้ง สัปดาห์ละ 2 ครั้งและใช้เวลาในการให้การปรึกษาแต่ละครั้ง 90 นาที มีการเก็บข้อมูลและดำเนินการในระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล จากนั้นนำคะแนนความโดดเดี่ยวมาวิเคราะห์ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซํ้าประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม และใช้วิธีทดสอบรายคู่แบบบอนเฟอโรนี ผลการศึกษาพบว่ามีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้ ผู้สูงอายุที่ได้รับการปรึกษาเชิงบูรณาการโดยมีทฤษฎี ภวนิยมเป็นฐานมีคะแนนความโดดเดี่ยวตํ่ากว่ากลุ่มควบคุม ทั้งในระยะหลังการทดลองและระยะติตตามผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้สูงอายุในกลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษาเชิงบูรณาการโดยมีทฤษฎีภวนิยมเป็นฐาน มีคะแนนความโดดเดี่ยวในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลตํ่ากว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
ปั้นมณี ว. ., กุลนภาดล เ., & เจริญกฤตยาวุฒิ ส. (2024). การเยียวยาความโดดเดี่ยวในผู้สูงอายุด้วยการปรึกษาเชิงบูรณาการ โดยมีทฤษฎีภวนิยมเป็นฐาน: HEALING LONELINESS AMONG ELDERLY THROUGH INTEGRATIVE COUNSELING BASED ON EXISTENTIAL THEORY. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 19(2), 14–28. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/16022
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2565). สถิติผู้สูงอายุไทยปี 2565. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2565. เข้าถึงได้จาก https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/1159

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). ปัญหาของผู้สูงอายุมีอะไรบ้าง. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2565. เข้าถึงได้จาก https://dop.go.th/th/know/15/461

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุไทย 2564. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2565. เข้าถึงได้จาก https://dop.go.th/th/know/15/466

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2565). สถิติผู้สูงอายุ. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2565. เข้าถึงได้จาก https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/1766

กรรณิการ์ มีสวัสดิ์. (2561). การให้คำปรึกษาผู้สูงอายุในครอบครัวแบบสังคมเมือง. (ระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาพุทธจิตวิทยา). กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.

จินตนา อาจสันเที๊ยะ. (2561). แนวโน้มการดูแลผู้สูงอายุในศตวรรษที่ 21: ความท้าทายในการพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(1), 39.

ญาณตา จ่าทา. (2564). การพัฒนาการปรับตัวทางสังคมของผู้สูงอายุด้วยการปรึกษาเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคโดยใช้ทฤษฎีอัตถิภาวนิยมเป็นฐาน. (ระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา คณะศึกษาศาสตร์). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ดวงมณี จงรักษ์. (2556). ทฤษฎีการให้คำปรึกษาและจิตบำบัดเบื้องต้น (ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ ส.ส.ท.

ดวงมณี จงรักษ์. (2560). การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการแนวทางและการปฏิบัติ (ครั้งที่ 1). ปัตตานี: โรงพิมพ์ฝ่ายเทคโนโลยีการศึกษาสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ทินกร วงศ์ปการันย์. UCLA Loneliness Scale (Developed by Prof. Daniel W. Russell). สืบค้น 28 กรกฎาคม 2565. เข้าถึงได้จาก http://www.pakaranhome.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=2147586886

นันท์ชัตสัณห์ สกุลพงศ์. (2557). บทวิจารณ์หนังสือเรื่อง “จิตวิทยาการปรึกษาและจิตวิทยาบำบัดแบบผสมผสาน” วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 22(2), 243.

บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์. กรมสุขภาพจิต. (2562). รายงานอัตราการฆ่าตัวตาย สืบค้น 20 มิถุนายน 2565, สืบค้น 28 กรกฎาคม 2565. เข้าถึงได้จาก https://suicide.dmh.go.th/report/suicide/stat_prov.asp

ปวีณา เพิ่มพูล, สุรินทร์ สุทธิธาทิพย์ และดลดาว วงศ์ธีระธรณ์. (2563). การพัฒนาภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุด้วยการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการโดยใช้ทฤษฎีอัตถิภาวะนิยมเป็นฐาน. (ระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา): มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภูเบศร์ สมุทรจักร, ธีรนุช ก้อนแก้ว และ ริฎวัน อุเด็น. (2559). ความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทย (พิมพ์ครั้งที่ 1). นครปฐม. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

มหาวิทยาลัยมหิดล. (2564) สังคมไทยกับการเปลี่ยนแปลงประชากรและครอบครัว. สืบค้น 14 สิงหาคม 2565, สืบค้น 29 กรกฎาคม 2565. เข้าถึงได้จาก https://ipsr.mahidol.ac.th/research-cluster/society-population-and-family-changes/

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2564). ผู้สูงอายุ กทม. คุณภาพชีวิตตํ่ากว่าในชนบท. สืบค้น 18 สิงหาคม 2565. ทเข้าถึงได้จาก https://www.bangkokbiznews.com/social/932916

ยุวดี สารบูรณ์. (2565). การเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไทยในช่วงการระบาดของโควิด-19. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 16(4), 421.

ลัญชนา พิมพันธ์ชัยยบูลย์. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความว้าเหว่ของผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ. (ระดับบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา

วิภาวรรณ อรัญมาลา. (2558). ผลการปรึกษากลุ่มอัตถิภาวนิยมต่อความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ. (ระดับวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการปรึกษา). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2562). ทฤษฎีจิตวิทยาบุคลิกภาพ (ครั้งที่18). กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์หมอชาวบ้านศูนย์เฝ้าระวังป้องกันการฆ่าตัวตาย. (2562). รายงานจำนวนการฆ่าตัวตายของประเทศไทยแยกตามช่วงอายุ. กระทรวงสาธารณสุข สืบค้น 5 มีนาคม 2566, จาก https://suicide.dmh.go.th/report/suicide/age.asp?ndead=2

สมหมาย กุมผัน, โสภิณ แสงอ่อน และพัชรินทร์ นินทจันทร์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความว้าเหว่ในผู้สูงอายุ. ระดับวิทยานิพนธ์. สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต.

สุดใจ ส่งสกุล, อนงค์ วิเศษสุวรรณ์ และสุรินทร์ สุทธิธาทิพย์. (2556). ผลการให้คำปรึกษาแนวอัตถิภาวะนิยมต่อความท้อแท้ของพนักงานผู้ช่วยเหลือคนไข้. (ระดับวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาจิตวิทยาการปรึกษา). ชลบุรี: มหาวิทยาลับูรพา.

สุววุฒิ วงศ์ทางสวัสดิ์. (2559). ผลของการปรึกษาจิตวิทยารายบุคคลแบบออนไลน์แนวอัตถิภาวนิยม-มนุษยนิยม ต่อสุขภาวะขอนิสิตนักศึกษาปริญญาตรีที่มีบุคลิกภาพไม่มั่นคงทางอารมณ์. (ระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Clark E. Moustakas. (1961). Loneliness. The United State of America. Prentice-Hall. Scientific Research. Retrieved August 2, 2022, from Moustakas, C.E. (1961) Loneliness. Prentice-Hall, New York

Daniel Perlman and Letitia Anne Peplau. (1982). Theoretical Approaches to Loneliness. A Wiley-Inter science Publication

Gerald Corey. (2013). Theory and Practice Counseling of Psychotherapy. (9th). The United States of America:Thomson/Brooks and Cole

Gerald Corey. (2014). The Art of Integrative Counseling. (4th). The United States of America: Wiley Publishing

Holt-Lunstad, J., Smith, T. B., Baker, M., Harris, T., & Stephenson, D. (2015). Loneliness and Social Isolation as Risk Factors for Mortality: A Meta-Analytic Review. Perspectives on Psychological Science, 10(2), 227–237. Retrieved December 4, 2022, from https://doi.org/10.1177/1745691614568352

Victor E. Frankl. (1992). Man’s Search for Meaning (4th). The United States of America: Beacon Press Book.

World Health Organization. (2021). Social Isolation and Loneliness. Retrieved July 27, 2022, from https://www.who.int/teams/social-determinants-of-health/demographic-change-and-healthy-ageing/social-isolation-and-loneliness

Most read articles by the same author(s)