การเสริมสร้างความสามารถในการเลือกอาชีพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นด้วยการปรึกษาทฤษฎีเผชิญความจริง THE ENCHANCEMENT OF JUNIOR HIGH SCHOOL STUDENTS’ CAREER CHOICE ABILITY THROUGH REALITY COUNSELING THEORY

Main Article Content

คมชาญ ทรงโฉม
เพ็ญนภา กุลนภาดล
ณัฐกฤตา งามมีฤทธิ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเลือกอาชีพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่ได้รับการปรึกษาออนไลน์ทฤษฎีเผชิญความจริงในระยะก่อนทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล 2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเลือกอาชีพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่ได้รับการปรึกษาออนไลน์ทฤษฎีเผชิญความจริงกับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่ไม่ได้รับการปรึกษาออนไลน์ทฤษฎีเผชิญความจริงในระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1. แบบวัดความสามารถในการเลือกอาชีพ จำนวน 28 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 2. โปรแกรมการปรึกษาออนไลน์ทฤษฎีเผชิญความจริงเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเลือกอาชีพ ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตโรงเรียนพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 ที่มีความสมัครใจที่จะเข้าร่วมโครงการวิจัย และมีคะแนนความสามารถในการเลือกอาชีพต่ำสุด 20 คน ผู้วิจัยใช้ตารางเลขสุ่มผ่านระบบคอมพิวเตอร์แบ่งกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 คน กลุ่มทดลองเป็นกลุ่มที่ได้รับการปรึกษาออนไลน์ทฤษฎีเผชิญความจริง จำนวน 10 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที และกลุ่มควบคุมจะไม่ได้รับการปรึกษาออนไลน์ทฤษฎีเผชิญความจริง สถิตที่ใช้ในการวิจัย วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า คะแนนความสามารถในการเลือกอาชีพของนักเรียนที่ได้รับ การปรึกษาออนไลน์ด้วยทฤษฎีเผชิญความจริง ระยะทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนที่ได้รับการปรึกษาออนไลน์ด้วยทฤษฎีเผชิญความจริง มีคะแนนความสามารถในการเลือกอาชีพสูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้รับการปรึกษาออนไลน์ด้วยทฤษฎีเผชิญความจริงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
ทรงโฉม ค. ., กุลนภาดล เ. ., & งามมีฤทธิ์ ณ. . (2023). การเสริมสร้างความสามารถในการเลือกอาชีพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นด้วยการปรึกษาทฤษฎีเผชิญความจริง: THE ENCHANCEMENT OF JUNIOR HIGH SCHOOL STUDENTS’ CAREER CHOICE ABILITY THROUGH REALITY COUNSELING THEORY. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(2), 59–68. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15641
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กมลชนก วงวาฬ. (2562). การเสริมสร้างการตัดสินใจเลือกอาชีพของนักเรียนมัธยมศึกษาด้วยรูปแบบการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการ. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบันฑิต), มหาวิทยาลัยบูรพา.

คมเพชร ฉัตรศุภกุล. (2547). ทฤษฎีการให้คำปรึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จำกัด.

ดวงมณี จงรักษ์. (2556). ทฤษฎีการให้การปรึกษาและจิตบำบัดเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

เพ็ญนภา กุลนภาดล. (2563). การเสริมสร้างความสามารถในการเลือกอาชีพของนักเรียนไทยด้วยรูปแบบการเรียนรู้ผ่านแอพพลิเคชั่น. มหาวิทยาลัยบูรพา.

เพ็ญนภา กุลนภาดล. (2565). การให้การปรึกษาวัยรุ่น Adolescent Counseling. รูปแบบการเรียนรู้ผ่านแอพพลิเคชั่น. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภารดี พูลประภา เอี่ยมเจริญ. (2562). สัมมาทิฏฐิ: พื้นฐานการพัฒนาตนให้สามารถพึ่งตนเองได้. วารสารธรรมวิชญ์. 2(2): 391-406.

สมโภชน์ อเนกสุข. (2553). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. Statistical methods for research: ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยา

ประยุกต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวทิยาลัยบูรพา 169 ถนนลงหาดบางแสน ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. (2563). สรุปข้อมูลทางการศึกษา.

สำนักงานสถิติเเห่งชาติ. (2566). สรุปผลการทำงานของประชากร เดือนกรกฎาคม. In.

อัจฉรา อินโต. (2560). การพัฒการรับรู้ความสามารถในการเลือกอาชีพของนักเรียนด้วยการปรึกษาบุคคลเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

Kırdök, O. (2018). High School Students' Career Decision-making Difficulties According to Locus of Control. Universal Journal of Educational Research, 6(2), 242-248.

Palos, R., & Drobot, L. (2010). The impact of family influence on the career choice of adolescents. Procedia social and behavioral sciences, 2(2), 3407-3411.

Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2010). Structural equation modeling. New York: Routledge.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York : Harper&Row.

Most read articles by the same author(s)