การพัฒนามาตรวัดความสำเร็จในชีวิตสมรส DEVELOPING OF THE MARITAL SUCCESS SCALES FOR COUPLE

Main Article Content

วรัญญา คงปรีชา
เพ็ญนภา กุลนภาดล
ดลดาว วงศ์ธีระธรณ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนามาตรวัดความสำเร็จในชีวิตสมรส 2) ศึกษาระดับของความสำเร็จในชีวิตสมรส กลุ่มตัวอย่าง คือ ชายหรือหญิงที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย และใช้ชีวิตสมรสร่วมกันมากกว่า 1 ปี ขึ้นไป มีสัญชาติไทย ที่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออก ที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ มาตรวัดความสำเร็จในชีวิตสมรส สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของความสำเร็จในชีวิตสมรส ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) ความมั่นคงในชีวิตสมรส (Marital Stability) 2) ความพึงพอใจในชีวิตสมรส (Marital Satisfaction) ผลการพัฒนามาตรวัดความสำเร็จในชีวิตสมรส ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่ 2 (Secondary Confirm Factor Analysis) พบว่า แบบจำลองสมการโครงสร้างองค์ประกอบความสำเร็จในชีวิตสมรส มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์  พิจารณาได้จากค่า x2= 503.75, df = 282, p-value = .00000,  x2 / df = 1.78, RMSEA = .046, RMR = .048, SRMR = .046, CFI = .91,  GFI = .93, AGFI = .91, CN = 363.13 และสามารถกำหนดเกณฑ์ในการแปลความหมายจากค่าเกณฑ์ปกติเปอร์เซ็นต์ไทล์ (Percentile Norm) ของมาตรวัดความสำเร็จในชีวิตสมรสได้ ดังนี้ ค่าเฉลี่ยน้อยกว่าหรือเท่ากับ 3.88 แสดงว่า อยู่ในระดับน้อยที่สุด ค่าเฉลี่ย 3.89 – 4.07 แสดงว่า อยู่ในระดับน้อย ค่าเฉลี่ย 4.08 - 4.26 แสดงว่า อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 4.2 - 4.57 แสดงว่า อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยมากกว่าหรือเท่ากับ 4.58 แสดงว่า อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
คงปรีชา ว., กุลนภาดล เ., & วงศ์ธีระธรณ์ ด. (2023). การพัฒนามาตรวัดความสำเร็จในชีวิตสมรส: DEVELOPING OF THE MARITAL SUCCESS SCALES FOR COUPLE. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(2), 45–58. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15583
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กรรณิการ์ มีสวัสดิ์. (2562). การให้การปรึษาคู่สมรสในครอบครัวเดี่ยว. วารสารพุทธจิตวิทยา มหาวิทยาลัยมาหจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 4(2): 36-49.

บัณฑิตา อินสมบัติ. (2554). ข้อพิจารณาในการคัดเลือกข้อคำถามที่มีค่าอำนาจจำแนก. วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลับราชภัฎนครสวรรค์, 6(16): 1-12.

รัจรี นพเกตุ. (2552). มนุษย์: จิตวิทยาทางเพศ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ประกายพรึก.

รพีพงค์ ยังวราสวัสดิ์. (2558). รูปแบบการให้การปรึกษาครอบครัวแบบบูรณาการเพื่อเสริมสร้างความสำเร็จในชีวิตสมรสของคู่สมรส. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 10(1), 130-145.

วิไลวรรณ รังสร้อย (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างความซื่อสัตย์กับความพึงพอใจในชีวิตสมรสของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช/นนทบุรี.

สำเริง จันทรสุวรรณ. (2547). ระเบียบวิธีวิจัยทางสัมคมศาสตร์. ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2565). รายงานสถิติจำนวนทะเบียนหย่า. เข้าถึงได้จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/marry/new/staticDivorce.php

อุมาพร ตรังคสมบัติ. (2545). จิตวิทยาชีวิตคู่และการบำบัดคู่สมรส. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและพัฒนาครอบครัว.

Berscheid, E. S., & Regan, P. C. (2016). The psychology of interpersonal relationships. Psychology Press.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). Harper Collins Publishers.

Diamantopoulos, A., Siguaw, J. A., & Siguaw, J. A. (2000). Introducing LISREL: A guide for the uninitiated. Londan: Sage.

Fowers, J. B. and Olson, H. D. (1986). Predicting marital success with prepare: a predictive validity study. Journal of Marital and Family Therapy, 12(4), 403-405.

Joreskog, K. G. & Sörbom, D. (1996). LISREL 8 User's reference guide. Chicago: Scientific Software.

Kimeto, J. (2016). The effect of social media on marital success: a case of lang’ ata constituency, Nairobi county, kanya. Pan Africa Christian University.

MacCallum, R. C., Browne, M. W., & Sugawara, H. M. (1996). Power analysis and determination of sample size for covariance structure modeling. Psychological methods, 1(2), 130.

Schumacker, R. E. & Lomax, R. G. (2010). Structural Equation Modeling. (3th ed.). New York: Routledge.

Tabachnick, B. G., & Fidell, L. S. (2007). Using multivariate statistics (5th ed.). New York: Allyn and Bacon.

Vangelisti, A. L. (Ed.). (2012). The Routledge handbook of family communication. Routledge.

Most read articles by the same author(s)