การเสริมสร้างทักษะพ่อแม่ในการเลี้ยงดูลูกยุคดิจิทัลด้วยนวัตกรรมการปรึกษาครอบครัวร่วมสมัย PARENTING SKILLS ENHANCEMENT FOR CHILDREN IN DIGITAL AGE THROUGH INNOVATIVE CONTEMPORARY FAMILY COUNSELING

Main Article Content

ปฐมา สุขทวี
เพ็ญนภา กุลนภาดล
ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์

Abstract

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.พัฒนานวัตกรรมการปรึกษาครอบครัวร่วมสมัยเพื่อเสริมสร้างทักษะพ่อแม่ในการเลี้ยงดูลูกยุคดิจิทัล 2.ศึกษาผลของนวัตกรรมการปรึกษาครอบครัวร่วมสมัยที่มีต่อการเสริมสร้างทักษะพ่อแม่ในการเลี้ยงดูลูกยุคดิจิทัล กลุ่มตัวอย่างคือ พ่อแม่ที่มีลูกอายุ 13 – 15 ปี ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชลบุรี จำนวน 20 คู่ ทำการสุ่มอย่างง่ายเข้าสู่กลุ่มทดลอง 10 คู่ และกลุ่มควบคุม 10 คู่ ซึ่งมีความสมัครใจเข้าร่วมการทดลองและมีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะพ่อแม่ในการเลี้ยงดูลูกยุคดิจิทัลในระดับ ต่ำกว่าเกณฑ์คะแนนปกติ (Norms) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ มาตรวัดทักษะพ่อแม่ในการเลี้ยงดูลูกยุคดิจิทัล และนวัตกรรมการปรึกษาครอบครัวร่วมสมัย สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า 1.นวัตกรรมการปรึกษาครอบครัวร่วมสมัย ดำเนินการให้การปรึกษาจำนวน 10 ครั้ง ครั้งละ 60 – 90 นาที 2.ศึกษาผลของนวัตกรรมการปรึกษาครอบครัวร่วมสมัยที่มีต่อการเสริมสร้างทักษะพ่อแม่ในการเลี้ยงดูลูกยุคดิจิทัล พบว่า 1) กลุ่มทดลองที่ได้รับนวัตกรรมการปรึกษาครอบครัวร่วมสมัย มีคะแนนทักษะพ่อแม่ในการเลี้ยงดูลูกยุคดิจิทัลในระยะหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม 2) กลุ่มทดลองที่ได้รับนวัตกรรมการปรึกษาครอบครัวร่วมสมัย มีคะแนนทักษะพ่อแม่ในการเลี้ยงดูลูกยุคดิจิทัลในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง

Article Details

How to Cite
สุขทวี ป., กุลนภาดล เ., & เฮงอุดมทรัพย์ ภ. . (2023). การเสริมสร้างทักษะพ่อแม่ในการเลี้ยงดูลูกยุคดิจิทัลด้วยนวัตกรรมการปรึกษาครอบครัวร่วมสมัย: PARENTING SKILLS ENHANCEMENT FOR CHILDREN IN DIGITAL AGE THROUGH INNOVATIVE CONTEMPORARY FAMILY COUNSELING. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(1), 178–190. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15255
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กิตติชัย สุธาสิโนบล. (2562). หลักสูตรและการเรียนรู้แบบดิจิทัล DIGITAL CURRICULUM AND LEARNING. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 10(1): 200-211

คงเดช กี่สุขพันธ์. (2561). ความท้าทายต่อบทบาทของพ่อแม่ในยุคดิจิทัล: มุมมองในระดับนานาชาติ. เข้าถึงได้จาก https://thailandunicef.blogspot.com/2018/01/challenges-of-parental-responsibility-in-the-digital-age.html

จงจิตต์ ฤทธิรงค์, สุภรต์ จรัสสิทธิ์ และ พิมลพรรณ นิตย์นรา. (2563). เปิดบ้านเด็กซี-แอลฟา การอบรมเลี้ยงดู พัฒนาการ พฤติกรรม บรรยากาศในครอบครัว. กรุงเพทฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

ธนพล อุควงศ์เสรี และ ชัยชนะ นิ่มนวล. (2565). ความฉลาดทางอารมณ์สัมพันธภาพในครอบครัวสัมพันธภาพกับเพื่อนและการเห็นคุณค่าในตนเอง ของนักเรียนมัธยมปลายชายล้วนในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 23(2): 1-19

ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์. (2551). แนวคิดและแนวปฏิบัติในการให้การปรึกษาแบบผสมผสานในประมวลสาระชุดวิชา ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการให้การปรึกษา หน่วยที่ 12.(พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เพ็ญนภา กุลนภาดล. (2563). การปรึกษาครอบครัว (Family Counseling). (พิมพ์ครั้งที่ 3 ปรับปรุงครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: เปเปอร์เมท (ประเทศไทย) จํากัด.

ระบบสถิติทางทะเบียน กรมการปกครอง. (2565). ข้อมูลสถิติจำนวนประชากร. เข้าถึงได้จาก https://stat.bora.dopa.go.th/new_stat/webPage/statByYear.php

วรางคณา โสมะนันทน์, คาลอส บุญสุภา และ พลอยไพลิน กมลนาวิน. (2564) การให้บริการการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบออนไลน์ : มิติใหม่ของการให้บริการปรึกษาเชิงจิตวิทยา. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 15(1): 247-260.

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว. (2563). รายงานผลการวิจัย โครงการผลกระทบของสื่อดิจิทัลที่มีผลต่อพัฒนาการมนุษย์ในศตวรรษที่ 21. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุรพงศ์ อำพันวงษ์. (2566). แนวคิดการเลี้ยงดูด้วยวิธีทางบวก. เข้าถึงได้จาก https://th.rajanukul.go.th/preview-3605.html

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behav Res Methods, 39(2), 175-91.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Norcross, J. C. (2005). The Psychotherapist's Own Psychotherapy: Educating and Developing Psychologists. American Psychologist, 60(8), 840-850.

Norcross, J., & Beutler, L. (2008). Integrative psychotherapies. In R. Corsini & D. Wedding (Eds.), Current psychotherapies (8th ed., p. 481-511). Belmont, CA: Brooks/Cole.

Miller, S. D., & Hubble, M. (2011). The road to mastery. Psychotherapy Networker, 35(3), 22-31.

Pinheiro-Carozzo, N. P., Gato, J. J. C. V., Fontaine, A. M. G. V., & Murta, S. G. (2020). Internal structure of the parenting practices scales in a vulnerable sample: A confirmatory factor analysis. Estudos de Psicologia (Campinas), 37, 15-36.

Reed, C. S., Van Egeren, L. A., & McKelvey, L. (2009). Psychometric Study of the parenting skills assessment: A practitioner approach to measuring parenting practices. Michigan: Michigan State University.

World Health Organization (WHO). (2007). Helping parents in developing countries improve Adolescents’ health. Geneva: World Health Organization.

Most read articles by the same author(s)