ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าใจความรู้สึกผู้อื่นของนักศึกษาพยาบาล ในเขตภาคตะวันออก ประเทศไทย Factors Related to Empathy of Nursing Students in Eastern Region, Thailand
Thai Pharm Health Sci J 2022;17(3):219–225.
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อ 1) บรรยายความสัมพันธ์ระหว่างการเข้าใจความรู้สึกผู้อื่น การมองโลกทางบวก และความสามารถในการเผชิญปัญหาและอุปสรรค และ 2) เปรียบเทียบการเข้าใจความรู้สึกผู้อื่นในรูปแบบการเรียนรู้และรูปแบบการเลี้ยงดูที่ต่างกันของนักศึกษาพยาบาลในเขตภาคตะวันออก ประเทศไทย วิธีการ: การวิจัยเชิงบรรยายหาความสัมพันธ์ (descriptive correlational design) ในนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 - 4 จำนวน 130 คน จากสถาบันการศึกษา 3 แห่งในเขตภาคตะวันออกของประเทศไทย ช่วงปี 2561 - 2562 เครื่องมือประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกผู้อื่น 2) การมองโลกในทางบวก 3) ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค 4) รูปแบบการเรียนรู้ และ 5) รูปแบบการเลี้ยงดู ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.75 0.86 0.95 0.81 และ 0.82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์ความแตกต่างด้วยสถิติ ANOVA ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนรวมการเข้าใจความรู้สึกผู้อื่นเท่ากับ 111.50 คะแนน (SD = 10.00) นักศึกษาส่วนใหญ่มีการเข้าใจความรู้สึกผู้อื่นอยู่ในระดับสูงที่ค่าเฉลี่ย 5.58 คะแนน (SD = 0.50) (จำนวน 114 คน คิดเป็น 87.7%) การมองโลกทางบวกสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.318, P-value < 0.01) ความสามารถในการเผชิญปัญหาและอุปสรรคสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.490, P-value < 0.01) นักศึกษามีคะแนนการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ตามรูปแบบการเรียนรู้ (F4,125 = 3.352, P-value = 0.012) และรูปแบบการเลี้ยงดู (F3,126 = 2.887, P-value = 0.038) สรุป: ผลการวิจัยบ่งชี้ว่าผู้บริหารและบุคลากรการศึกษาทางการพยาบาล ควรให้ความสำคัญกับการมองโลกทางบวก ความสามารถในการเผชิญปัญหาและอุปสรรค รูปแบบการเรียนรู้ และรูปแบบการเลี้ยงดูเพื่อส่งเสริมการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นของนักเรียนพยาบาลต่อไป คำสำคัญ: การเข้าใจความรู้สึกผู้อื่น, การมองโลกทางบวก, การเผชิญปัญหาและอุปสรรค, นักศึกษาพยาบาล Abstract Objective: To 1) describe the relationship between empathy, optimism, and adversity quotient, and 2) compare empathy among learning styles and parenting styles among nursing students in the eastern region of Thailand. Method: In this descriptive correlational study, 130 nursing students in the first to the fourth year from three educational institutions in the eastern region of Thailand during 2018 – 2019 were recruited. Research instruments included 1) personal information form, 2) empathy scale, 3) life orientation scale, 4) adversity quotient questionnaire, 5) learning style questionnaire, and 6) parenting style questionnaire, with Cronbach’s alpha coefficient reliabilities were 0.75, 0.86, .95, 0.81, and 0.82, respectively. Descriptive statistics, Pearson’s correlation coefficient, and a one-way ANOVA test were used to analyze the data. Results: The mean total score of empathy was 111.50 points (SD = 10.00). Most of nursing students informed a high empathy level at a mean score of 5.58 points (SD = 0.50) (n = 114 or 87.7%). Optimism was positively and significantly related to empathy at a low level (r = 0.318, P-value < 0.01). The adversity quotient was positively and significantly related to empathy at a moderate level (r = 0.490, P-value < 0.01). There were a significant difference empathy scores between groups of learning styles (F4,125 = 3.352, P-value = 0.012) and parenting styles (F3,126 = 2.887, P-value = 0.038). Conclusion: These findings suggested that administrators and instructors who work with the nursing educational system should be concerned about optimism, adversity quotient, learning styles, and parenting styles to promote empathy in nursing students. Keywords: empathy, optimism, adversity quotient, nursing studentsDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2022-10-01
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์