Thai Pharmaceutical and Health Science Journal - วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/pharm
<p><strong>ไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ</strong></p> <p>วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ (Thai Pharmaceutical and Health Science Journal) เป็นวารสารวิชาการของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วารสารนี้จัดอยู่ในกลุ่ม 1 (tier 1) ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal Citation Index Centre; TCI) และ ASEAN Citation Index (ACI)</p> <p> </p> <p><strong>Impact Factor:</strong> 0.022 for 2018 (by TCI, since August 6, 2019)</p> <p><strong>รูปแบบ: </strong>วารสารตีพิมพ์บทความทั้งรูปแบบเล่ม (print) และออนไลน์ (online)</p> <p><strong>ISSN: </strong>1905-3460 (print) เริ่มตีพิมพ์เล่มตั้งแต่ 1 มกราคม 2549 (2006)</p> <p><strong>ISSN: </strong>2672-9687 (online) เริ่มตีพิมพ์ออนไลน์ตั้งแต่ 1 มกราคม 2551 (2008)</p> <p><strong>ความถี่: </strong>ปีละ 4 ฉบับ (ทุก 3 เดือน) โดยตีพิมพ์บทความวิจัยฉบับละ 10 - 12 บทความ</p> <p> </p> <p><strong>วัตถุประสงค์ (</strong><strong>Aim) </strong></p> <p> </p> <p>ไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาตีพิมพ์บทความวิชาการทั้ง1) บทความผลการศึกษาวิจัยที่แสดงข้อค้นพบใหม่หรือแง่มุมใหม่ทางวิชาการ และ 2) บทความประมวลความรู้ที่ก้าวหน้า ที่ครอบคลุมศาสตร์ทั้งเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ของทั้งคณาจารย์ นิสิต/นักศึกษา นักวิจัย เภสัชกร บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข และนักวิทยาศาสตร์</p> <p> </p> <p><strong>ขอบเขต (</strong><strong>Scope)</strong></p> <p> </p> <p><strong>ขอบเขตเนื้อหา</strong> <strong>-</strong> นำเสนอบทความวิจัยและบทความประมวลความรู้ ที่ครอบคลุมศาสตร์สาขาเภสัชศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ และสหสาขาวิชาชีพด้านสุขภาพ ดังต่อไปนี้</p> <ul> <li><strong>เภสัชศาสตร์</strong> <strong>(</strong><strong>pharmacy, pharmaceutical sciences)</strong> ได้แก่ เภสัชกรรมปฏิบัติ (pharmacy practice) การบริบาลทางเภสัชกรรม (pharmaceutical care) เทคโนโลยีเภสัชกรรม (pharmaceutical technology) เภสัชเคมี (pharmaceutical/medicinal chemistry) เภสัชวิทยา (pharmacology) เภสัชจลนศาสตร์ (pharmacokinetics) เภสัชพฤกษศาสตร์ (pharmaceutical botany) เภสัชเวทและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ (pharmacognosy and natural products) เภสัชกรรมสังคมและการบริหาร (social and administrative pharmacy) เภสัชเศรษฐศาสตร์ (pharmacoeconomics) โภชนคลินิก (clinical nutrition) อาหารและโภชนาการ (food and nutrition) เครื่องสำอาง (cosmetics) เทคโนโลยีชีวภาพ (biotechnology)</li> <li><strong>วิทยาศาสตร์การแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ</strong> <strong>(</strong><strong>medical and health science)</strong> ได้แก่ เวชกรรม/แพทยศาสตร์ (medicine) ทันตกรรม (dentistry) การพยาบาล (nursing) การสาธารณสุข (public health) การแพทย์เสริมและการแพทย์ทางเลือก (complementary and alternative medicine) สหเวชศาสตร์ (allied health science) กายภาพบำบัด (physical therapy) การตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ (diagnostic laboratory science) รวมถึง สรีรวิทยาทางการแพทย์ (medical physiology) กายวิภาคศาสตร์ (anatomy) จุลชีววิทยาทางการแพทย์ (medical microbiology)</li> <li><strong>สหสาขาวิชาชีพด้านสุขภาพ (</strong><strong>multidisciplinary healthcare science) </strong></li> </ul> <p> </p> <p><strong>ขอบเขตรูปแบบ – </strong>บทความวิชาการที่เผยแพร่ครอบคลุมรูปแบบดังต่อไปนี้</p> <ul> <li>บทความวิจัย (original research article)</li> <li>บทความนิพนธ์ปริทรรศน์ (review article)</li> <li>บทความวิชาการในรูปแบบรายงานผู้ป่วยหนึ่งราย (case report) และรายงานผู้ป่วยมากกว่าหนึ่งราย (case-series report)</li> <li>บทความวิจัยสื่อสารอย่างสั้น (short communication)</li> <li>บทความวิชาการในรูปแบบปกิณกะ (miscellaneous)</li> </ul>en-USThai Pharmaceutical and Health Science Journal - วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ1905-3460<span style="font-family: Times New Roman; font-size: small;"> </span><p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: center; mso-layout-grid-align: none;"><span style="font-size: large;"><strong><span style="font-family: "Browallia New","sans-serif"; mso-fareast-font-family: "Times New Roman";" lang="TH">ลิขสิทธิ์</span></strong><strong><span style="font-family: "Browallia New","sans-serif"; mso-fareast-font-family: "Times New Roman";"> (Copyright)</span></strong><span style="font-family: "Browallia New","sans-serif"; mso-fareast-font-family: "Times New Roman";"> </span></span></p><span style="font-family: Times New Roman; font-size: small;"> </span><p class="MsoBodyTextIndent" style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; text-justify: inter-cluster;"><span style="font-family: "Browallia New","sans-serif"; font-size: 6pt; mso-fareast-font-family: "Times New Roman";"> </span></p><span style="font-family: Times New Roman; font-size: small;"> </span><p class="MsoBodyTextIndent" style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; text-justify: inter-cluster;"><span style="font-family: "Browallia New","sans-serif"; font-size: 13pt; mso-fareast-font-family: "Times New Roman";" lang="TH">ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจาก</span><span style="font-family: "Browallia New","sans-serif"; font-size: 13pt;" lang="TH">เจ้าของ</span><span style="font-family: "Browallia New","sans-serif"; font-size: 13pt; mso-fareast-font-family: "Times New Roman";" lang="TH">ต้นฉบับและวารสารก่อน</span><span style="font-family: "Browallia New","sans-serif"; font-size: 13pt; mso-fareast-font-family: CordiaNew;"> </span></p><span style="font-family: Times New Roman; font-size: small;"> </span><p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; text-justify: inter-cluster; mso-layout-grid-align: none;"><strong><span style="font-family: "Browallia New","sans-serif"; font-size: 11pt; mso-fareast-font-family: "Times New Roman";"> </span></strong></p><span style="font-family: Times New Roman; font-size: small;"> </span><p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: center; mso-layout-grid-align: none;"><span style="font-size: large;"><strong><span style="font-family: "Browallia New","sans-serif"; mso-fareast-font-family: "Times New Roman";" lang="TH">ความรับผิดชอบ</span></strong><strong><span style="font-family: "Browallia New","sans-serif"; mso-fareast-font-family: "Times New Roman";"> (Responsibility)</span></strong><span style="font-family: "Browallia New","sans-serif"; mso-fareast-font-family: "Times New Roman";"> </span></span></p><span style="font-family: Times New Roman; font-size: small;"> </span><p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; text-indent: 36pt; text-justify: inter-cluster; mso-layout-grid-align: none;"><span style="font-family: "Browallia New","sans-serif"; font-size: 6pt; mso-fareast-font-family: "Times New Roman";"> </span></p><span style="font-family: Times New Roman; font-size: small;"> </span><p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; text-indent: 36pt; text-justify: inter-cluster; mso-layout-grid-align: none;"><span style="font-family: "Browallia New","sans-serif"; font-size: 13pt; mso-fareast-font-family: "Times New Roman";" lang="TH">ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์</span></p><span style="font-family: Times New Roman; font-size: small;"> </span>ปัจจัยเสี่ยงของภาวะเลือดเป็นกรดจากกรดแลคติกในเลือดสูงเนื่องจากยาเม็ทฟอร์มิน ในคนไข้เบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้ยาเม็ทฟอร์มิน Risk Factors of Metformin-associated Lactic Acidosis in Type 2 Diabetic Patients Using Metformin
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/pharm/article/view/14208
<p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อทดสอบปัจจัยเสี่ยงของภาวะเลือดเป็นกรดจากกรดแลคติกในเลือดสูงเนื่องจากยาเม็ทฟอร์มิน (MALA) ในคนไข้เบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้ยาเม็ทฟอร์มิน <strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>:</strong> การศึกษาแบบเคส-คอนโทรลมีตัวอย่างเป็นคนไข้เบาหวานชนิดที่ 2 ที่กินยาเม็ทฟอร์มินที่มีข้อมูลการรักษาในเวชระเบียนของโรงพยาบาลมหาสารคามในช่วง 1 มกราคม 2561 ถึง 31 ธันวาคม 2563 เคสคือคนไข้ที่เกิด MALA ส่วนคอนโทรลคือคนไข้ที่ไม่เกิด MALA ทดสอบปัจจัยเสี่ยง 38 ปัจจัยที่อาจสัมพันธ์กับ MAL โดยการวิเคราะห์ univariate จากนั้นทดสอบปัจจัยที่สัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญโดย multiple logisic regression analysis แสดงความเสี่ยงด้วยค่า adjusted odds ratio (adj. OR) พร้อมค่า 95% confidence interval (CI) <strong>ผลการศึกษา: </strong>มีเคส 37 ราย และคอนโทรล 74 ราย พบว่ามี 3ปัจจัยที่สัมพันธ์กับ MALA ได้แก่ เพศชาย (adj. OR = 6.319, 95% CI = 2.166 - 18.433, <em>P</em>-value = 0.001) ยาเม็ทฟอร์มินขนาดสูง ³ 2,000 มก.ต่อวัน (adj. OR = 12.153, 95% CI = 4.076 - 36.238, <em>P</em>-value < 0.001) และภาวะไตเสื่อมเรื้อรัง ระยะ 2 และ 3 (adj. OR = 7.709, 95% CI = 1.511 - 39.339, <em> P</em>-value = 0.014) <strong>สรุป:</strong> เพศชาย ยาเม็ทฟอร์มินขนาดสูง และโรคไตเรื้อรังระยะ 2 และ 3 มีความเสี่ยงในการเกิด MALA มากกว่าเพศหญิง ยาเม็ทฟอร์มินขนาดต่ำ และโรคไตเรื้อรังระยะ 1 หรือไม่มีโรคไตเรื้อรัง</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong>: ภาวะเลือดเป็นกรดจากกรดแลคติกในเลือดสูงเนื่องจากยาเม็ทฟอร์มิน, คนไข้เบาหวานชนิดที่ 2, ปัจจัยเสี่ยง, การรักษา, ผลลัพธ์ทางคลินิก</p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p><strong>Objective: </strong>To investigate risk factors, treatment modalities, and clinical outcomes of metformin-associated lactic acidosis (MALA). <strong>Method:</strong> In this case-control study, type 2 diabetic patients taking metofrmin in the medical records of Mahasarakham Hospital between 1 January 2018 to 31 December 2020 were reviewed. Patients who developed lactic acidosis were cases; while those who did not were controls. A total of 38 risk factors were tested were tested for associations with MALA using univariate analysis. Significant factors were further tested in multiple logistic regression analysis. Adjusted odds ratio (adj. OR) with 95% confidence interval (CI) were presented. <strong>Results:</strong> A total of 37 and 74 cases and cxontrols were included, respectively. Three risk factors were significantly associated with MALA: men (adj. OR = 6.319, 95% CI = 2.166 - 18.433, <em>P</em>-value = 0.001), metformin dose of ³ 2,000 mg/day (adj. OR = 12.153, 95% CI = 4.076 - 36.238, <em>P</em>-value < 0.001), and chronic kidney disease (CKD) stage 2 or 3 (adj. OR = 7.709, 95% CI = 1.511 - 39.339, <em> P</em>-value = 0.014). <strong>Conclusion:</strong> Men, high dose metformin and CKD stage 2 or 3 were significantly more likely to experience MALA than women, metformin lower dose, and CKD stage 1 or no CKD.</p> <p><strong>Keywords:</strong> metformin-associated lactic acidosis, type 2 diabetic patients, risk factors, treatment, clinical outcomes </p>Juntip KanjanasilpNarumon KuncharoenrutAtchareeya SeehawongBenjarat Jittayanan
Copyright (c) 2023 Thai Pharmaceutical and Health Science Journal - วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ
2023-04-032023-04-031818489ปัจจัยทำนายความสุขสบายของผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับยาเคมีบำบัด Factors Predicting Comfort of Colorectal Cancer Patients Receiving Chemotherapy
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/pharm/article/view/14859
<p> </p> <p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อประเมินระดับและปัจจัยที่ทำนายความสุขสบายของผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักชาวไทยที่ได้รับยาเคมีบำบัด ได้แก่ ความวิตกกังวล ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย และการสนับสนุนทางสังคม <strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>:</strong> การศึกษามีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่รักษาด้วยยาเคมีบำบัดที่แผนกผู้ป่วยในหอผู้ป่วยมะเร็งชายและหอผู้ป่วยมะเร็งหญิง ณ ศูนย์มะเร็ง โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาระหว่าง 14 ธันวาคม 2563 ถึง 29 มกราคม 2564 และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 77 ราย ด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) ความสุขสบายของผู้ป่วย 3) ความวิตกกังวล 4) ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย และ 5) การสนับสนุนทางสังคม ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคของแบบสอบถามที่ 2 – 5 เท่ากับ 0.88, 0.89, 0.82 และ 0.83 ตามลำดับ ทดสอบความสัมพันธ์ด้วยการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงเส้น <strong>ผลการศึกษา</strong><strong>:</strong> กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความสุขสบายในระดับมาก (mean = 239.6, <em>SD</em> = 18.06) และสัมพันธ์ทางลบกับความวิตกกังวลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>R<sup>2</sup></em> = 0.072, β = -0.269,<em> F</em><sub>1,75</sub> = 5.859, <em>P</em>-value < 0.05) <strong>สรุป</strong><strong>:</strong> ความสุขสบายในผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับยาเคมีบำบัดสัมพันธ์ทางลบกับความวิตกกังวล</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong> : ความสุขสบาย, ความวิตกกังวล, ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย, การสนับสนุนทางสังคม, โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก, การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด, ชาวไทย</p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p><strong>Objective:</strong> To determine level of comfort and its predicting factors including anxiety, uncertainty in illness, and social support in Thai colorectal cancer patients undergoing chemotherapy. <strong>Method:</strong> The sample was 77 patients with colorectal cancer undegoing chemotherapy at the cancer center of Maharat Nakhon Ratchasima Hospital from December 14, 2020, to January 29, 2021 and met the inclusion criteria selected by simple random sampling. Data were cllected using questionnaires of 1) demographic characteristics, 2) comfort, 3) anxiety, 4) uncertainty in illness, and 5) social support. Questionnaires 2 – 5 had Cronbach’s alpha coefficients of 0.88, 0.89, 0.82 and 0.83, respectively. The association was tested using linear regression analysis. <strong>Results:</strong> Comfort was at a high level (mean = 239.6, <em>SD</em> = 18.06). Comfort was significantly, negatively associated with anxiety (<em>R<sup>2</sup></em> = 0.072, β = -0.269,<em> F</em><sub>1,75</sub> = 5.859, <em>P</em>-value < 0.05). <strong>Conclusion:</strong> Comfort in Thai colorectal cancer patients undergoing chemotherapy was negatively associated with anxiety.</p> <p><strong>Keywords:</strong> comfort, anxiety, uncertainty in illness, social support, colorectal cancer, chemotherapy, Thais </p>Nisachon ChaiyamaengYupin TanatwanitPornchai Jullamate
Copyright (c) 2023 Thai Pharmaceutical and Health Science Journal - วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ
2023-03-312023-03-311813239ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเตรียมตัวเพื่อการตายกับการสนับสนุนทางสังคม ทัศนคติต่อความตาย ความเชื่อทางศาสนา อายุ และความวิตกกังวลเกี่ยวกับการตายในผู้สูงอายุโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย Associations between Death Preparation Behavior and Social Support, Attitude toward Death, Religious Beliefs, Age and Mortality Anxiety of the Older Adults with End-Stage Renal Disease
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/pharm/article/view/14847
<p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาระดับของพฤติกรรมการเตรียมตัวเพื่อการตาย และปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมดังกล่าวในผู้สูงอายุชาวไทยนับถือศาสนาพุทธที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย <strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>:</strong> สุ่มตัวอย่างแบบง่ายจากผู้สูงอายุที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รับบริการที่คลินิกโรคไตวาย โรงพยาบาลพุทธโสธร จ.ฉะเชิงเทรา จำนวน 97 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) การสนับสนุนทางสังคม 3) ทัศนคติต่อความตาย 4) ความเชื่อทางศาสนาเกี่ยวกับความตาย 5) ความวิตกกังวลเกี่ยวกับความตาย และ 6) พฤติกรรมการเตรียมตัวเพื่อการตายในผู้สูงอายุโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน (<em>r</em>) <strong>ผลการศึกษา:</strong> ตัวอย่างถึงร้อยละ 79.38 มีพฤติกรรมการเตรียมตัวเพื่อการตายอยู่ในระดับสูง (mean = 52.30, <em>SD</em> = 4.48) พบว่าพฤติกรรมการเตรียมตัวเพื่อการตายสัมพันธ์กับการสนับสนุนทางสังคมและทัศนคติต่อความตายสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง (<em>r </em>= 0.568,<em> P</em>-value < 0.001; <em>r</em> = 0.331, <em>P</em>-value < 0.01 ตามลำดับ) ความเชื่อทางศาสนาและอายุสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำ (<em>r </em>= 0.260, <em>P</em>-value < 0.01; <em>r</em> = 0.169, <em> </em><em>P</em>-value < 0.05 ตามลำดับ) ส่วนความวิตกกังวลเกี่ยวกับความตายสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำ (<em>r </em>= -0.185, <em> P</em>-value < 0.05) <strong>สรุป</strong><strong>:</strong> ผู้สูงอายุชาวพุทธที่มีโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายมีพฤติกรรมการเตรียมตัวเพื่อการตายระดับสูง และสัมพันธ์ทางบวกกับการสนับสนุนทางสังคม ทัศนคติต่อความตาย ความเชื่อทางศาสนาและอายุ และสัมพันธ์ทางลบกับความวิตกกังวลเกี่ยวกับความตาย</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> พฤติกรรมการเตรียมตัวเพื่อการตาย, ผู้สูงอายุ, การสนับสนุนทางสังคม, ทัศนคติต่อความตาย, โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย</p> <p><strong>Objective:</strong> To determine death preparation behavior and factors related to the behavior among Thai Buddhist older adults with end-stage renal disease (ESRD). <strong>Method:</strong> The sample of 97 older adults with ESRD receiving care at the kidney disease clinic at Buddasothron hospital, Chachoengsao province. Research instruments included questionnaires for demographic characterisics, scial support, attitudes to death, religious beliefs about death, mortality anxiety, preparatory behavior for death in older adults with ESRD. Spearman ranked order correlation coefficient (<em>r</em>) was used test the correlation. <strong>Results:</strong> Majority of the participants (79.38%) had a high level of death preparation behavior (mean = 52.30, <em>SD</em> = 4.48). Death preparation behavior was moderately, positively correalted with social support and attitudes toward death (<em>r </em>= 0.568,<em> P</em>-value < 0.001; <em>r</em> = 0.331, <em>P</em>-value < 0.01, respectively) while slightly, positively correalted with religious beliefs and age (<em>r </em>= 0.260, <em>P</em>-value < 0.01; <em>r</em> = 0.169, <em> P</em>-value < 0.05, respectively). Mortality anxiety was negatively correlated with the behavior (<em>r</em> = -0.185, <em>P</em>-value < 0.05). <strong>Conclusion:</strong> Buddhist Thai older patients with ESRD had a high level of death preparation behavior. The behavior was correlaed positively with social support, attitudes toward death, religious belief and age, and negatively with mortality anxiety.</p> <p><strong>keywords: </strong>death preparation behaviors, older adults, social support, attitudes toward death, end stage renal disease</p>Aporn YimneumNaiyana PiphatvanitchaPornchai Jullamate
Copyright (c) 2023 Thai Pharmaceutical and Health Science Journal - วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ
2023-03-312023-03-311812331ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายต่อความจุปอด และภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นหญิงที่มีภาวะซึมเศร้า Effects of Exercise Program on Lung Capacity and Depression among Female Adolescents with Depressive Symptoms
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/pharm/article/view/14398
<p>บทคัดย่อ <br />วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายต่อความจุปอดและภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นหญิงที่มีภาวะซึมเศร้า วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง คือ วัยรุ่นหญิงอายุ 15 - 17 ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า ในโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกจำนวน 66 คนที่ผ่านเกณฑ์คัดเข้า สุ่มตัวอย่างอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 33 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายแบบแอโรบิค 5 ครั้ง/สัปดาห์ ครั้งละ 50 นาที นาน 8 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติของโรงเรียน รวบรวมข้อมูลโดยใช้การวัดความจุปอด และแบบประเมินภาวะซึมเศร้า Children’s Depression Inventory (CDI) ที่ก่อนการทดลอง หลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที และติดตามผล 1 เดือน ทดสอบความแตกต่างระหว่างสองกลุ่มที่เวลาต่าง ๆ ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ ผลการศึกษา: ที่หลังการทดลอง และระยะติดตามผล กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความจุปอดเพิ่มขึ้นและคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าต่ำลงจากก่อนทดลองอย่างชัดเจนในขณะที่กลุ่มควบคุมมีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวค่อนข้างน้อย และกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความจุปอดและคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าแตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05) และกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความจุปอดและคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าในระยะก่อนและหลังการทดลอง และระยะติดตามผล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05) สรุป: โปรแกรมการออกกำลังกายสามารถลดภาวะซึมเศร้าและเพิ่มสมรรถภาพการทำงานของปอดให้กับวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนที่มีภาวะซึมเศร้าได้ <br />คำสำคัญ : โปรแกมการออกกำลังกาย, ความจุปอด, ภาวะซึมเศร้า, วัยรุ่นหญิง</p> <p><strong>Objective:</strong> To examine the effects of exercise program on lung capacity and depression in female adolescents with depressive symptoms. <strong>Method:</strong> Sixty-six high school students in the eastern region of Thailand who met the inclusion criteria were recruited and were randomly assigned to the experiment (test group) and usual care (control group), n = 33 each. The test group was trained with 5-times weekly 50-minute sessions for 8 weeks. Those in the control group received only routine care. The measurements of lung capacity and depression using the Children’s Depression Inventory questionnaire were carried out before, right after and one-month after the program. Repeated measure ANOVA was used to compare lung capacity and depressions score over the three time points. <strong>Results:</strong> Right after and one-month after the program, lung capacity increased and depression scores decreased overtly in the test group and slightly in the control group. Over time, participants in the test group had lung capacity higher and depression scores lower than those in the control group (<em>P</em>-value < 0.05). In the test group, lung capacity and depressions scores over the three time points were significantly different (<em>P</em>-value < 0.05). <strong>Conclusion:</strong> The exercise program improved lung capacity and decreased depression in depressed female adolescents.</p> <p><strong>Keywords:</strong> exercise program, lung capacity, depression, female adolescents</p>Wannee Daewisaretchanudda nabkasornAporn Denan
Copyright (c) 2023 Thai Pharmaceutical and Health Science Journal - วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ
2023-03-312023-03-31181814ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตต่อความผาสุกของมารดาเด็กออทิสติก Effects of Resilience-Enhancing Program on Well-being among Mothers of Children with Autistic Disorder
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/pharm/article/view/14324
<p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตต่อความผาสุกของมารดาเด็กออทิสติก <strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>: </strong>การวิจัยแบบกึ่งทดลองมีสองกลุ่ม ประเมินความแข็งแกร่งที่ก่อน หลัง และติดตามผล 1 เดือนหลังโปรแกรม ตัวอย่างเป็นมารดาเด็กออทิสติกที่พาบุตรมากระตุ้นพัฒนาการที่สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์จำนวน 30 คน โดยเข้ากลุ่มทดลองและควบคุมกลุ่มละ 15 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งฯ สัปดาห์ละครั้งนาน 8 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมรับบริการตามปกติ แบบประเมินความผาสุกมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.84 ทดสอบความแตกต่างของคะแนนความผาสุกระหว่างสองกลุ่ม 3 ครั้ง โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ <strong>ผลการศึกษา</strong><strong>:</strong> มารดาในกลุ่มทดลองมีคะแนนความผาสุกที่ก่อนการทดลอง (59.93 คะแนน) ที่เพิ่มที่หลังการทดลองและที่หลังการติดตาม (72.13 และ 76.67 คะแนน ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>P</em>-value < 0.001 ทั้งคู่) และสูงกว่าที่พบในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>P</em>-value < 0.001) <strong>สรุป</strong><strong>:</strong> โปรแกรมเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิต 8 สัปดาห์ สามารถเพิ่มความผาสุกในมารดาเด็กออทิสติก</p> <p><strong>คำสำคัญ: </strong>โปรแกรมเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิต, ความผาสุก, มารดาเด็กออทิสติก</p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p><strong>Objective: </strong>To examine the effect of resilience-enhancing program on well-being among mothers with autistic child. <strong>Method: </strong>In this quasi-experimental research with two groups and well-being assessed before, right after and 4-week follow-up after the 8-week weekly resilience-enhancing program among 30 mothers with autistic child receiving care at the Rajanagarindra Institute of Child and Adolescent Mental Health, Thailand. Participants were assigned to the program (test group, n = 15) and usual care (control group, n = 15). Well-being questionnaire had a Cronbach’s alpha coefficient of 0.84. Repeated measures ANOVA was used to compare well-being scores of the two groups before, right after and follow-up after the program. <strong>Results: </strong>Score of well-being in the test group before the program (59.93 points) significantly increased right after and at the follow-up (72.13 and 76.67 points, respectively) (<em>P</em>-value < 0.001 for both) and significantly higher those in the control group (<em>P</em>-value < 0.001). <strong>Conclusion:</strong> The 8-week resilience-enhancing program improved well-being scores among mothers with autistic child.</p> <p><strong>Keywords: </strong>resilience enhancing program, well-being, mothers with autistic child</p>Duangjai Vatanasinthanyaphat chinnakPornpat Hengudomsub
Copyright (c) 2023 Thai Pharmaceutical and Health Science Journal - วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ
2023-04-012023-04-011817783ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านฉลากโภชนาการและพฤติกรรมการใช้ข้อมูลบนฉลากโภชนาการในการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น Associations between Nutrition Label Literacy and Label Information Applications among First-year Students at Sirindhorn College of Public Health, Khon Kaen, Thailand
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/pharm/article/view/14021
<p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านฉลากโภชนาการ พฤติกรรมการใช้ข้อมูลบนฉลากโภชนาการในการเลือกซื้อเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารและความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านฉลากโภชนาการกับพฤติกรรมการใช้ข้อมูลบนฉลากโภชนาการ <strong>วิธีการศึกษา:</strong> การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีกลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น จำนวน 124 คน ด้วยการสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และสถิติ Chi-square test <strong>ผลการศึกษา:</strong> ความรอบรู้ด้านการประเมินข้อมูลฉลากโภชนาการ ด้านการตัดสินใจเลือกปฏิบัติและด้านการเข้าถึงข้อมูลฉลากโภชนาการอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 73.39, 72.58 และ 68.55 ตามลำดับ) ส่วนความรอบรู้ด้านความเข้าใจฉลากโภชนาการอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 60.48) ส่วนพฤติกรรมการใช้ข้อมูลบนฉลากโภชนาการอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 53.23) ความรอบรู้ด้านการเข้าถึง ด้านการประเมินและด้านการตัดสินใจเลือกปฏิบัติสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ข้อมูลบนฉลากโภชนาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>P</em>-value = 0.001, < 0.001 และ < 0.001 ตามลำดับ) ส่วนด้านความเข้าใจฉลากโภชนาการไม่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ข้อมูลบนฉลากโภชนาการ <strong>สรุป</strong><strong>:</strong> ความรอบรู้ด้านการเข้าถึง ด้านการประเมินและด้านการตัดสินใจเลือกปฏิบัติของนักศึกษา มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ข้อมูลบนฉลากโภชนาการ</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>:</strong> ความรอบรู้, ฉลากโภชนาการ, พฤติกรรมการใช้ข้อมูลบนฉลากโภชนาการ, การเลือกซื้อเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์อาหาร</p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p><strong>Objective:</strong> To determine the level of nutrition label literacy, behaviors of applying information from nutrition labels for consuming and buying products, and the relationships between nutrition label literacy and the behaviors of applying information from nutrition labels for consuming and buying products. <strong>Method:</strong> In this cross-sectional analytical research, 124 1<sup>st</sup> year students</p> <p>at Sirindhorn College of Public Health, Khon Kaen, Thailand, were selected randomly. Participants were tested for understanding and asked to rate their opinions on literacy of nutrition labels and behavior of applying nutrition label information. Data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation, median, interquartile range (IQR) and Chi-square Test. <strong>Results:</strong> 73.39% of the participants had a high level of the appraisal of nutrition labeling information and 72.58% had a high level of decision-making. 68.55% had a high-level accessibility of nutrition label information, 60.5% had a moderate level of understanding about nutrition labeling. Moreover, 53.23% showed moderate level of applying information. The behavior of using food label information was significantly associated with access to nutrition label information, appraisal of nutrition label information and decision making in purchasing food products (<em>P</em>-value = 0.001, < 0.001, and < 0.001, respectively). Understanding about nutrition labeling had no association with the behavior. <strong>Conclusion:</strong> Access to nutrition label information, appraisal of nutrition label information and decision-making literacy were significantly associated with the behavior of using food label information. </p> <p><strong>Keywords:</strong> literacy, nutrition labels, behavior of applying nutrition label information, consuming and buying food products </p> <p> </p> <p> </p>Benyapa Kankhwaoเนตรนภา - โยหาเคนPrateep Kankhwao
Copyright (c) 2023 Thai Pharmaceutical and Health Science Journal - วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ
2023-03-312023-03-311817076The ผลของโปรแกรมที่ประยุกต์ทฤษฎีปัญญาทางสังคมต่อการป้องกันการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น Effects of Social Cognitive Theory Applied Program on E-cigarette Smoking Prevention Among Junior High School Students
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/pharm/article/view/14911
<p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมที่ประยุกต์ทฤษฎีปัญญาทางสังคมต่อปัจจัยที่สัมพันธ์กับการป้องกันการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น <strong>วิธีการศึกษา:</strong> การศึกษาแบบกึ่งทดลองมีตัวอย่างเป็นนักเรียนชายและหญิงในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนใน จ.จันทบุรี แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 37 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมซึ่งพัฒนาจากกรอบแนวคิดทฤษฎีปัญญาทางสังคมซึ่งมีกิจกรรม 4 ชุด นาน 4 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการเรียนการสอนปกติ ปัจจัยที่ศึกษา คือ ความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า ความคาดหวังต่อผลลัพธ์ของการสูบบุหรี่ไฟฟ้า การรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิเสธการสูบบุหรี่ไฟฟ้า และความตั้งใจในการไม่สูบบุหรี่ไฟฟ้า วัดผล 3 ครั้ง คือ ก่อนการทดลอง หลังการทดลองทันที และระยะติดตามผล 4 สัปดาห์ (สัปดาห์ที่ 8) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามทาง Google Form<sup>TM</sup> ทดสอบการเปลี่ยนแปลงคะแนนของปัจจัยดังกล่าวด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ <strong>ผลการศึกษา:</strong> หลังการทดลองทันทีและระยะติดตามผล กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ ความคาดหวังต่อผลลัพธ์ การรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิเสธ และความตั้งใจไม่สูบบุหรี่ไฟฟ้า สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>P</em>-value < 0.001, 0.002, 0.009 และ < 0.001 ตามลำดับ) และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ <strong>สรุป:</strong> โปรแกรมที่ประยุกต์ทฤษฎีปัญญาทางสังคม สามารถเพิ่มคะแนนปัจจัยที่สัมพันธ์กับการป้องกันการสูบบุหรี่ไฟฟ้าได้ คือ ความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า ความคาดหวังต่อผลลัพธ์ของการสูบบุหรี่ไฟฟ้า การรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิเสธการสูบบุหรี่ไฟ และความตั้งใจในการไม่สูบบุหรี่ไฟฟ้าในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> โปรแกรมที่ประยุกต์ทฤษฎีปัญญาทางสังคม, การป้องกันการสูบบุหรี่ไฟฟ้า, วัยรุ่นตอนต้น</p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p><strong>Objective:</strong> To examine effects of the social cognitive theory-based program factors associating with E-cigarette smoking prevention among junior high school students. <strong>Method: </strong>In this quasi-experiment study, participants were male and female students in the 8<sup>th</sup> grade at a high school in Chanthaburi province. They were assigned to the test and control groups, 37 each. Participants in the test group received 4 weekly training sessions while those in the control group attended regular classes. Through the online Google Form<sup>TM</sup>, the study factors of knowledge about, outcome expectation of, self-efficacy in and the intention not smoke E-cigarette were measured using a questionnaire. These factors were measured at three times points (i.e., before and after the program, and at 4-week follow-up). Changes in scores of each of the four factors over time between the two groups were tested using repeated measure ANOVA. <strong>Results:</strong> At post-test and follow-up, scores of knowledge about, outcome expectation of, self-efficacy in refusing, and the intention not to smoke E-cigarette were significantly higher than those before the program (P-value < 0.001, 0.002, 0.009 and < 0.001, respectively), and significantly higher than those in the control group. <strong>Conclusion:</strong> The social cognitive theory-based program improved scores of factors associating with E-cigarette smoking prevention including knowledge about, outcome expectation of, self-efficacy in refusing, and the intention not to smoke E-cigarette among early adolescents</p> <p><strong>Keywords:</strong> social cognitive theory-based program, E-cigarette smoking prevention, early adolescents </p>ปิยะวดี พุฒไทยRungrat SrisuriyawatPornnapa Homsin
Copyright (c) 2023 Thai Pharmaceutical and Health Science Journal - วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ
2023-03-312023-03-311815059ปัจจัยทำนายความตั้งใจในการคุมกำเนิดแบบสองวิธีในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นหญิงในจังหวัดชลบุรี Predictors of Intention to Use Dual Contraception among Junior High School Female Students in Chonburi Province, Thailand
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/pharm/article/view/14863
<p>บทคัดย่อ <br />วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับและปัจจัยทำนายความตั้งใจในการคุมกำเนิดแบบสองวิธีในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นหญิงในจังหวัดชลบุรี วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงทำนายมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนหญิงในโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐชั้นปีที่ 2 และ 3 ในจังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2564 จำนวน 407 คน จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลระหว่างสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 โดยใช้แบบสอบถามผ่านระบบออนไลน์ ประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐาน ความรู้เกี่ยวกับการคุมกำเนิด ทัศคติต่อพฤติกรรมทางเพศ ความสะดวกใจของการสื่อสารทางเพศกับพ่อแม่ผู้ปกครอง ทัศนคติต่อการคุมกำเนิดแบบสองวิธี การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงคุมกำเนิดแบบสองวิธี การรับรู้ความสามารถในการคุมกำเนิดแบบสองวิธี และความตั้งใจคุมกำเนิดแบบสองวิธีของวัยรุ่นหญิง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษา: นักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 68.8 มีความตั้งใจคุมกำเนิดแบบสองวิธีระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 26.35 คะแนน) โดยสัมพันธ์กับทัศนคติต่อการคุมกำเนิดแบบสองวิธี (β = -0.292) การรับรู้ความสามารถของตนเองในคุมกำเนิดแบบสองวิธี (β = 0.239) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (β = 0.178) (P-value < 0.001 ทั้งหมด) และ ความสะดวกใจของการสื่อสารทางเพศกับพ่อแม่ผู้ปกครอง (β = 0.116, P-value = 0.007) โดยร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความตั้งใจคุมกำเนิดได้ร้อยละ 28 (R2adj= 0.281, F = 7.23, P-value = 0.007) สรุป: ความตั้งใจการคุมกำเนิดแบบสองวิธีในนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นอยู่ในระดับสูง และสัมพันธ์กับทัศนคติต่อการคุมกำเนิด การรับรู้ความสามารถของตนเองในคุมกำเนิดแบบสองวิธี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสะดวกใจของการสื่อสารทางเพศกับพ่อแม่ผู้ปกครอง<br />คำสำคัญ: การคุมกำเนิดแบบสองวิธี, การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, ความตั้งใจในการคุมกำเนิดแบบสองวิธี</p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p><strong>Objective: </strong>To determine the intention to use contraception and its predictive factors in junior high school female students in Chonburi province, Thailand. <strong>Method: </strong>In this predictive research, participants were 407 female students from junior high schools (grade 8 and 9) in Chonburi province recruited by multi-stage random sampling. Data collection was carried out from August to October 2021. Participants completed online questionnaires including demographic data, attitude toward sexual behavior, knowledge of contraception, comfortableness with sex communication with parents, attitudes toward dual contraception, subjective norms of dual contraception, self-efficacy of dual contraception and intention to use dual contraception. Associations were tested using stepwise multiple regression analysis. <strong>Results:</strong> Majority of participants had high level of intention to use dual contraception (68.8%) with a mean of 26.35 points. The intention was significantly associated with attitude toward dual contraception (β = -0.292), self-efficacy in dual contraception (β= 0.239), academic achievement (β = 0.178) with <em>P</em>-value < 0.001 for all, and comfortableness with sex communication with parents (β = 0.116, <em>P</em> -value = .007). These factors together explained 28.8% of variance of the intention to use dual contraception (<em>R<sup>2</sup><sub>adj </sub></em>= 0.281, <em>P</em>-value = 0.007). <strong>Conclusion:</strong> The intention to dual contraception among junior high school female students was at a high level and was associated attitudes toward dual contraception, self-efficacy in dual contraception, academic achievement and comfortableness with sex communication with parents.</p> <p><strong>Keywords:</strong> dual contraception, unplanned pregnancy, sexually transmitted diseases, intention to use dual contraception</p>Chalothon SukmaRungrat SrisuriyawatPornnapa Homsin
Copyright (c) 2023 Thai Pharmaceutical and Health Science Journal - วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ
2023-03-312023-03-311814049ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความมั่นใจในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันโดยไม่หกล้มของผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง Factors Associated with Fall Efficacy among Older Adult Patients Admitted in A Private Hospital
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/pharm/article/view/14848
<p> </p> <p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาระดับและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความมั่นใจในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันโดยไม่หกล้ม (fall efficacy) ของผู้ป่วยสูงอายุ <strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>:</strong> สุ่มตัวอย่างแบบง่ายจำนวน 97 คน จากผู้ป่วยสูงอายุในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ส่วนบุคคล เครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติ แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน แบบสัมภาษณ์การรับรู้ความสามารถในการทรงตัว และแบบประเมินความมั่นใจในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันโดยไม่หกล้ม ทดสอบความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมนแรงค์ออเดอร์ (<em>r</em><sub>s</sub>) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล (<em>r</em><sub>pb</sub>) <strong>ผลการศึกษา:</strong> กลุ่มตัวอย่างมีความมั่นใจในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันโดยไม่หกล้มในระดับสูง ร้อยละ 78.35 และสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ความสามารถในการทรงตัว และความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในระดับปานกลาง (<em>r</em><sub>s </sub> = 0.581, <em>P</em>-value < 0.001, <em>r</em><sub>s</sub> = 0.581, <em>P</em>-value < 0.001 ตามลำดับ) และสัมพันธ์ทางลบกับความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่าระดับปานกลาง (<em>r</em><sub>pb </sub> = -0.328, <em>P</em>-value < 0.01) และจำนวนอุปกรณ์การแพทย์พันธ์ในระดับต่ำ (<em>r</em><sub>s</sub> = -0.293, <em>P</em>-value < 0.01) <strong>สรุป</strong><strong>:</strong> ผู้ป่วยสูงอายุที่รักษาตัวในโรงพยาบาลเอกชนมีความมั่นใจในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันโดยไม่หกล้มในระดับสูง และสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ความสามารถในการทรงตัวและความสามารถในการ และทางลบกับความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่าและจำนวนอุปกรณ์การแพทย์</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong>: ความมั่นใจในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันโดยไม่หกล้ม, ผู้ป่วยสูงอายุ, การรับรู้ความสามารถในการทรงตัว, ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน</p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p><strong>Objective:</strong> To determine level of efficacy and its associating factors in older adults hospitalized in a private hospital. <strong>Method:</strong> Older adult patients hospitalized in a private hospital by simple random sampling was recruited (N = 97). Research instruments included demographic questionnaire, automatic blood pressure monitor, the Modified Barthel Activities of Daily Living (ADL)Index, perceived balance ability question, and the Fall-Efficacy Scale. Associations between fall efficacy and its associating factors were based on Spearman ranked order correlation coefficient (<em>r</em><sub>s</sub>) and point-biserial correlation coefficient (<em>r</em><sub>pb</sub>). <strong>Results:</strong> Majority of the participants a high level of fall efficacy (78.35%). Fall efficacy was significantly, positively correlated with perceived balance abilities and capability to perform ADL with a moderate level (<em>r</em><sub>s </sub> = 0.581, <em>P</em>-value < 0.001, <em>r</em><sub>s</sub> = 0.581, <em>P</em>-value < 0.001, respectively), and negatively correlated with orthostatic hypotension with a moderate level (<em>r</em><sub>pb </sub> = -0.328, <em>P</em>-value < 0.01) and number of medical devices used with a low level (<em>r</em><sub>s</sub> = -0.293, <em>P</em>-value < 0.01). <strong>Conclusion:</strong> Fall efficacy in older adults hospitalized in a private hospital was at a high level, and positively correlated with perceive balance ability and capability to perform ADL, and negative correlated with orthostatic hypotension and number of medical devices used.</p> <p><strong>Keywords: </strong>fall efficacy, older adult patients, perceived balance ability, activity of daily living</p>Supaporn SuwannakonNaiyana PiphatvanitchaPornchai Jullamate
Copyright (c) 2023 Thai Pharmaceutical and Health Science Journal - วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ
2023-03-312023-03-311811522ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความวิตกกังวลของหญิงตั้งครรภ์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 Factors Influencing Anxiety among Pregnant Women during the Covid-19 Pandemic
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/pharm/article/view/15032
<p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาระดับความวิตกกังวลและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความวิตกกังวลของหญิงตั้งครรภ์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 19 <strong>วิธีการศึกษา:</strong> กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไปที่รับบริการแผนกฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลสมุทรปราการและโรงพยาบาลบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ช่วงมกราคมถึงกรกฎาคม พ.ศ. 2565 จำนวน 126 ราย คัดเลือกโดยการสุ่มอย่างง่าย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความวิตกกังวล การสนับสนุนทางสังคม ความกลัวเชื้อโควิด 19 และความยืดหยุ่นทางจิตใจ ทดสอบความสัมพันธ์โดยทดสอบความถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน <strong>ผลการศึกษา</strong><strong>:</strong> หญิงตั้งครรภ์ความวิตกกังวลระดับปานกลาง (mean = 44.8 คะแนน) โดยการสนับสนุนทางสังคม (β = -0.343, <em>P</em>-value < 0.001) ความกลัวต่อโควิด-19 (β = 0.320, <em>P</em>-value<em> </em>< 0.001) และความยืดหยุ่นทางจิตใจ (β = -0.235, <em>P</em>-value = 0.003) สามารถร่วมทำนายความแปรปรวนของความวิตกกังวล ได้ร้อยละ 42.8 (<em>R<sup>2</sup> </em>= 0.428, F<sub>3,122</sub> = 30.49, <em>P</em>-value < 0.001) <strong>สรุป:</strong> หญิงตั้งครรภ์มีระดับความวิตกกังวลในช่วงการระบาดของโควิด-19 ระดับปานกลาง และสัมพันธ์กับการสนับสนุนทางสังคม ความกลัวต่อโควิด-19 และความยืดหยุ่นทางจิตใจ</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> ความวิตกกังวล, การสนับสนุนทางสังคม, ความกลัวต่อโรคโควิด-19, ความยืดหยุ่นทางจิตใจ, หญิงตั้งครรภ์ </p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p><strong>Objective:</strong> To determine level of anxiety and its influencing factors in pregnant women during the Covid-19 pandemic. <strong>Method:</strong> 126 pregnant women with a gestational age of 12 weeks or more receiving antenatal services at Samutprakarn Hospital and Bangpli Hospital, Samutprakarn province between January to July 2022 were recruited by simple random sampling. The questionnaire questions assessing anxiety, social support, fear of Covid-19, and resilience. Associations were tested using stepwise multiple regression analysis. <strong>Results:</strong> Pregnant women had a moderate level of anxiety (mean = 44.82 points). Anxiety was significantly associated with social support (β = -0.343, <em>P</em>-value < 0.001), fear of Covid-19 (β = 0.320, <em>P</em>-value<em> </em>< 0.001), and resilience (β = -0.235, <em>P</em>-value = 0.003). These three factors together explained 42.8% of variance of anxiety (<em>R<sup>2</sup> </em>= 0.428, F<sub>3,122</sub> = 30.49, <em>P</em>-value < 0.001). <strong>Results:</strong> Anxiety of pregnant women during the Covid-19 pandemic was a moderate level and was significantly associated with social support, fear of Covid-19, and resilience.</p> <p><strong>Keywords:</strong> anxiety, social support, fear of Covid-19, resilience, pregnant women </p>PAKAMAD CHEOYKLINNAREERAT BOONNATETATIRAT TACHASUKSRI
Copyright (c) 2023 Thai Pharmaceutical and Health Science Journal - วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ
2023-03-312023-03-311816069ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย Predictive Factors of Depression among Senior High School Students On
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/pharm/article/view/14397
<p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาระดับภาวะซึมเศร้าและปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย <strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>:</strong> กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนในจังหวัดอุดรธานีจำนวน 102 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนและมีคุณสมบัติตามงานวิจัยกำหนด รวบรวมข้อมูลโดยใช้ 1) แบบรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินภาวะซึมเศร้า 3) แบบประเมินการเห็นคุณค่าในตนเอง 4) แบบประเมินการถูกรังแกของนักเรียน 5) แบบประเมินความแข็งแกร่งในชีวิต และ 6) แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม ในช่วงธันวาคม พ.ศ. 2564 ทดสอบความสัมพันธ์ด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน <strong>ผลการศึกษา</strong><strong>:</strong> พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีภาวะซึมเศร้าร้อยละ 64.71 ปัจจัยที่ทำนายภาวะซึมเศร้าได้ ได้แก่ การเห็นคุณค่าในตนเอง (β = -0.468, <em>P</em>-value < 0.001) รองลงมาคือ การถูกข่มเหงรังแก (β = 0.397, <em>P</em>-value < 0.001) โดยร่วมกันทำนายความแปรปรวนของภาวะซึมเศร้าได้ร้อยละ 39.3 (R<sup>2</sup> = 0.393, <em>P</em>-value < 0.001) <strong>สรุป</strong><strong>:</strong> นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีอัตราภาวะซึมเศร้าค่อนข้างสูง การเห็นคุณค่าในตนเองเป็นปัจจัยทำนายที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้ามากที่สุด รองลงมาคือการถูกข่มเหงรังแก</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>:</strong> ภาวะซึมเศร้า, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, การเห็นคุณค่าในตนเอง, การถูกข่มเหงรังแก</p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p><strong>Objective:</strong> To determine depression and its predictive with selected factors among senior high school students. <strong>Method:</strong> A multi-stage random sampling was used to recruit 102 students in Udonthani province, Thailand who met the inclusion criteria. Data were collected using 1) demographic characteristics questionnaire, 2) the Center for Epidemiological Studies-Depression Scale (CES-D), 3) the Rosenberg Self-Esteem Scale, 4) bullying victimization questionnaire, 5) the Resilience Inventory, and 6) the Multidimensional Scale of Perceived Social Support questionnaire. Data were collected in December-2021. Associations were tested using stepwise multiple regression analysis. <strong>Results:</strong> 64.71% of participants had depression. Depression was significantly associated with self-esteem (β = -0.468, <em>P</em>-value < 0.001) followed by bullying (β = 0.397, <em>P</em>-value < 0.001). Both factors explained 39.3% of the variance of depression (R<sup>2</sup> = 0.393, <em>P</em>-value < 0.001). <strong>Conclusion:</strong> Depression rate in senior high school students was high. Depression was associated with self-esteem followed by bullying.</p> <p><strong>Keywords: </strong>depression, senior high school students, self-esteem, bullying</p>Sattawat Moonsorn1chanudda nabkasornPichamon IntaputSawitree Lakthong
Copyright (c) 2023 Thai Pharmaceutical and Health Science Journal - วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ
2023-03-312023-03-3118117อุปกรณ์การวิเคราะห์บนกระดาษด้วยระบบของไหลจุลภาคสำหรับตรวจหายาปนปลอม ในสมุนไพรและอาหารเสริม Microfluidic Paper-based Analytic Device (µPAD) for Detection of Adulterated Drugs in Herbal and Dietary Supplements
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/pharm/article/view/14909
<p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p>อุปกรณ์การวิเคราะห์บนกระดาษด้วยระบบของไหลจุลภาคประดิษฐ์ขึ้นโดยการสร้างกระดาษให้มีลวดลายซึ่งประกอบด้วยช่องไหลที่มีคุณสมบัติชอบน้ำ (หรือบริเวณโซนทดสอบ) คั่นด้วยขอบเขตที่มีคุณสมบัติไม่ชอบน้ำเพื่อควบคุมทิศทางการไหล คุณสมบัติการซึมน้ำและความพรุนของกระดาษเอื้อให้ของไหลไหลผ่านไปตามช่องโดยอาศัยเพียงคะปิลลารีแอกชัน อุปกรณ์กระดาษที่มีการออกแบบอย่างเหมาะสมสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานวิเคราะห์สาขาต่าง ๆ บทความนี้นำเสนอภาพรวมโดยสังเขปเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาอุปกรณ์การวิเคราะห์บนกระดาษ ครอบคลุมการเลือกชนิดกระดาษ วิธีการสร้างอุปกรณ์และเทคนิคการตรวจวัดสารที่นิยมใช้ เน้นตัวอย่างของการพัฒนาอุปกรณ์เพื่อตรวจหายาแผนปัจจุบันปนปลอมในสมุนไพรและอาหารเสริม อุปกรณ์กระดาษมีข้อดีหลายประการทั้งด้านความประหยัดของต้นทุน ใช้สารเคมีปริมาณน้อยที่ระดับจุลภาค เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ความสะดวกในการใช้งานและความรวดเร็ว</p> <p><strong>คำสำคัญ: </strong>อุปกรณ์การวิเคราะห์บนกระดาษด้วยระบบของไหลจุลภาค, ยาปนปลอม, สมุนไพรและอาหารเสริม</p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p>The microfluidic paper analytical device (µPAD) is fabricated by creating a patterned paper consisting of hydrophilic flow channels (or assay zones) separated by hydrophobic boundaries to control the flow direction. The wicking property and the porosity of paper facilitate the passive flow of fluids through the channel via capillary action. A well-designed µPAD can be applied in various analytical fields. This paper offers a brief review of the approaches for µPAD development, including the selection of paper types, design and fabrication method, and detection techniques commonly used, emphasizing the example of µPAD development for the detection of adulterated drugs in herbal and dietary supplements. Several advantages of µPAD are cost savings, the use of small amounts of reagent at the micro level, environmental friendliness, ease of use, and speed.</p> <p><strong>Keywords: </strong>microfluidic paper-based analytic device (µPAD), adulterated drugs, herbal and dietary supplements</p>Panadda PhattanawasinTheerasak Rojanarata
Copyright (c) 2023 Thai Pharmaceutical and Health Science Journal - วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ
2023-04-032023-04-031819099