Submissions

Login or Register to make a submission.

Submission Preparation Checklist

As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.
  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • The submission file is in Microsoft Word, RTF, or WordPerfect document file format.
  • Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines, which is found in About the Journal.
  • If submitting to a peer-reviewed section of the journal, the instructions in Ensuring a Blind Review) have been followed.

Author Guidelines

คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์

(Instructions for authors)

คำแนะนำทั่วไปเกี่ยวกับการเขียนต้นฉบับ (Manuscript preparation)

1. การเขียนต้นฉบับ (Manuscript) สามารถเขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ แต่บทคัดย่อ (Abstract) ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เนื้อหาต้นฉบับควรมีความยาวไม่เกิน 15 หน้ากระดาษขนาด A4 ทั้งนี้ไม่รวมบทคัดย่อ ตาราง รูปภาพ และรายการเอกสารอ้างอิง อย่างไรก็ตาม วารสารจะตีพิมพ์บทความเป็นภาษาอังกฤษ
2. เนื่องจากวารสารฯ ใช้การพิจารณาแบบ doble-blind peer review ดังนั้น ในไฟล์ต้นฉบับต้องไม่มีชื่อผู้เขียนและ affiliations โดยให้นำชื่อผู้เขียนและ affiliation ไปสร้างเป็นไฟล์ชื่อ Title Page ต่างหาก แล้วนำทั้งสองไฟล์ upload ในการ submission 
3. การสร้างไฟล์ต้นฉบับ และไฟล์ Title Page ควรสร้างด้วยโปรแกรม Microsoft Word
4. การพิมพ์ต้นฉบับ (Manuscript) ควรใช้ตัวอักษรแบบ Browalia New ขนาด 13 พอยท์ จัดหน้าขนาด A4 ห่างจากขอบด้านละ 2 เซนติเมตร จัดระยะห่างระหว่างบรรทัดเท่ากับ 1.5 บรรทัด
5. ในการพิมพ์ หากจะเว้นวรรคระหว่างคำหรือประโยคต้องทำโดยการเคาะ space bar ไม่เกินหนึ่งครั้ง และจัดรูปแบบการพิมพ์ให้กระจายแบบเต็มแนว (distributed)
6. ละเว้นการจัดรูปแบบเอกสารอัตโนมัติ (autoformat) เช่น heading และรายการย่อยอัตโนมัติต่าง ๆ และห้ามจัดรูปแบบให้เหมือนบทความที่เสร็จสมบูรณ์พร้อมตีพิมพ์
7. การเขียนหน่วยต่างๆ ควรใช้ระบบ International System Units (SI) และเป็นสากล หากต้องการย่อหน่วย ควรใช้ตัวย่อเป็นภาษาอังกฤษที่ถูกต้องและเป็นสากล
8. การเขียนคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษให้ยึดตามศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถาน
9. บทความวิชาการควรประกอบด้วย ชื่อเรื่อง ชื่อผู้นิพนธ์ ที่อยู่ อีเมลล์ของผู้นิพนธ์ บทคัดย่อ (Abstract) และคำสำคัญ (Keywords) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตามด้วยเนื้อหา ซึ่งลักษณะองค์ประกอบของเนื้อหาอาจแตกต่างกัน
10. บทคัดย่อมีความยาวตามจำเป็น โดยไม่ควรเกิน 350 คำสำหรับบทความวิจัย (สำหรับบทความอื่น ๆ ไม่ควรเกิน 200 คำ) โดยต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สำหรับบทความทุกรูปแบบที่ส่งตีพิมพ์ ทั้งนี้ สำหรับบทความทุกรูปแบบยกเว้นนิพนธ์ปริทัศน์ให้จัดบทคัดย่อตามหัวข้อดังนี้ วัตถุประสงค์ (objective) วิธีการศึกษา (method) ผลการศึกษา (results) สรุป (conclusion) และคำสำคัญ (keywords) ส่วนบทคัดย่อของนิพนธ์ปริทัศน์ไม่ต้องมีหัวข้อดังกล่าว 

 

การจัดแบ่งหัวข้อในบทความ

    1. บทความวิจัย (original research article) และบทความอื่นๆ ยกเว้นนิพนธ์ปริทัศน์ให้แบ่งเนื้อหาเป็นหัวข้อหลัก ดังนี้ บทนำ (introduction) วิธีการศึกษา (method) ผลการศึกษา (results) อภิปรายผลการศึกษา (discussion) และสรุปผลการศึกษา (conclusion) กิตติกรรมประกาศ และเอกสารอ้างอิง
    2. เนื้อหาบทความนิพนธ์ปริทรรศน์ (review article) ให้แบ่งเนื้อหาเป็นหัวข้อหลัก ดังนี้ บทนำ เนื้อเรื่อง บทสรุป และเอกสารอ้างอิง

การอ้างอิงเอกสาร

    1. ในเนื้อหาให้ใช้ระบบตัวเลขยก (superscript) ระบุที่ท้ายเนื้อหาที่นำมาอ้างอิง เรียงตัวเลขตามลำดับการอ้างอิงที่ปรากฏในบทความ และนำมารวบรวมไว้ในรายการเอกสารอ้างอิงที่ท้ายเรื่อง ตามตัวอย่างที่วารสารกำหนดอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้เอกสารทุกชิ้นในรายการเอกสารอ้างอิงต้องปรากฏอย่างชัดเจนว่าอ้างไว้ในส่วนใดของเนื้อหา
    2. การอ้างอิงท้ายบทความให้ใช้การเรียงลำดับหมายเลขอ้างอิง โดยเขียนเป็นภาษาอังกฤษทุกรายการเรียงลำดับตามการอ้างอิงในบทความ (ไม่ว่าต้นฉบับบทความจะเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ)
  • ควรแสดงผลการพิจารณาจริยธรรมสำหรับการศึกษาในสัตว์ทดลองหรือในมนุษย์ตามความเหมาะสม ทั้งหน่วยงานที่พิจารณา พร้อมเลขที่และวันที่ที่อนุมัติ

รายละเอียดของส่วนประกอบในบทความ (Manuscript components)

 ก) บทความวิจัย (Original research article)

ชื่อเรื่อง (Title)

ควรสั้น กะทัดรัด และสื่อเป้าหมายหลักของการศึกษาวิจัย ไม่ใช้คำย่อ ความยาวไม่ควรเกิน 100 ตัวอักษร ใช้อักษรใหญ่ capital letter ในตัวหน้าทุกคำ เน้นประโยคด้วยตัวหนา (Bold) ชื่อเรื่องต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยให้นำชื่อเรื่องภาษาไทยขึ้นก่อน

ชื่อผู้นิพนธ์และที่อยู่

ให้มีทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ และระบุตำแหน่งทางวิชาการ หน่วยงานหรือสถาบันที่สังกัด ที่อยู่ และอีเมล์ของผู้นิพนธ์ (correspondent author) เพื่อใช้ติดต่อเกี่ยวกับต้นฉบับและบทความที่ตีพิมพ์แล้ว

บทคัดย่อ (Abstract)

ให้มีทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เป็นเนื้อความย่อที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย ไม่ควรมีคำย่อหากไม่จำเป็น โดยจัดแบ่งตามหัวข้อ ดังนี้ วัตถุประสงค์ (Objective) วิธีการศึกษา (Method) ผลการศึกษา (Results) และสรุป (Conclusion) เนื้อความไม่ควรเกิน 350 คำ ให้เรียงบทคัดย่อภาษาไทยขึ้นก่อนภาษาอังกฤษ

คำสำคัญ (Keywords)

ให้ระบุทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ใส่ไว้ท้ายบทคัดย่อของแต่ละภาษา จำนวนไม่เกิน 5 คำ

บทนำ (Introduction)

ให้ระบุความเป็นมาและเหตุผลนำไปสู่การศึกษาวิจัย ให้ข้อมูลทางวิชาการพร้อมทั้งจุดมุ่งหมายที่เกี่ยวข้องอย่างกระชับ แสดงวัตถุประสงค์โดยรวมของการศึกษา และวัตถุประสงค์จำเพาะให้ชัดเจน ผู้นิพนธ์อาจนำเสนอสมมติฐานของการศึกษา

วิธีการศึกษา (Method)

ให้ระบุรายละเอียด โดยแสดงเป็นหัวข้อย่อยต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับการศึกษาในสาขาวิชานั้น ๆ เช่น วัสดุ/อุปกรณ์ สิ่งที่นำมาศึกษา จำนวนลักษณะเฉพาะของตัวอย่างที่ศึกษา ตลอดจนเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการศึกษา อธิบายวิธีการศึกษา หรือแผนการทดลองทางสถิติ การสุ่มตัวอย่าง วิธีการเก็บข้อมูล และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น

ผลการศึกษา (Results)

ให้ระบุผลที่พบตามลำดับหัวข้อของการศึกษาวิจัยให้ได้ใจความชัดเจน ถ้าผลการศึกษาไม่ซับซ้อนและมีตัวเลขไม่มาก ควรใช้คำบรรยาย แต่ถ้ามีตัวเลขมาก หรือตัวแปรมาก ควรแสดงผลการศึกษาในรูปตาราง หรือแผนภูมิ ควรแปลความหมายและวิเคราะห์ผลที่ค้นพบ และสรุปเปรียบเทียบกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ การนำเสนอสามารถแบ่งเป็นหัวข้อย่อยตามความจำเป็น

อภิปรายและสรุปผลการศึกษา (Discussions and Conclusion)

ให้ระบุว่าผลการศึกษาตรงกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย หรือแตกต่างไปจากผลงานที่มีผู้รายงานไว้ก่อนหรือไม่ อย่างไร เหตุผลใดจึงเป็นเช่นนั้น และมีพื้นฐานอ้างอิงที่เชื่อถือได้ และให้จบด้วยข้อเสนอแนะที่จะนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ หรือเสนอประเด็นคำถามการวิจัย ซึ่งเป็นแนวทางสำหรับการวิจัยต่อไป

ตาราง และรูปภาพ (Tables and figures) (ถ้ามี)

ควรคัดเลือกตารางและรูปภาพเฉพาะที่จำเป็น โดยจัดตารางและรูปภาพแยกออกจากเนื้อหาเรียงไว้ด้านท้ายของเอกสารอ้างอิง โดยเรียงลำดับให้สอดคล้องกับคำอธิบายในเนื้อหา ทุกตารางและรูปภาพ ต้องมีหมายเลขและเขียนเรียงตามลำดับ มีคำอธิบายสั้น ๆ สื่อความหมาย ได้สาระครบถ้วน และมีรูปแบบดังนี้

  • สำหรับตาราง ต้องสร้างโดยใช้คำสั่งหรือเครื่องมือสร้างตารางของโปรแกรม Microsoft Word ไม่ใช้เครื่องมือในการวาดเส้นหรือวาดรูป เพื่อวาดเส้นต่างๆ ประกอบกันเป็นตาราง เมื่อจะขึ้นบรรทัด (line) ใหม่ต้องใช้ row ใหม่เสมอไม่ควรใช้การเคาะเอนเตอร์ (enter)
  • ตารางต้องมีหมายเลขตาราง (พิมพ์ตัวหนา) และคำอธิบายอยู่ด้านบนตาราง (พิมพ์ตัวธรรมดา)
  • กรณีที่เป็นรูปภาพ มีหมายเลขรูปภาพ (พิมพ์ตัวหนา) และคำอธิบายอยู่ด้านล่างรูปภาพ (พิมพ์ตัวธรรมดา) รูปภาพควรเป็นภาพที่ชัดเจน

กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements) (ถ้ามี)

เพื่อกล่าวขอบคุณบุคคล หน่วยงาน สถาบัน ที่สนับสนุนการวิจัย ควรอยู่ในหน้าสุดท้ายของเนื้อความ ควรระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนงานวิจัยด้วย

เอกสารอ้างอิง (References)

เอกสารอ้างอิงกำหนดไม่เกิน 50 เรื่อง เอกสารอ้างอิงต้องเป็นเอกสารที่ถูกตีพิมพ์และได้รับการยอมรับทางวิชาการ ถ้ายังไม่ได้ถูกตีพิมพ์ต้องระบุว่า รอการตีพิมพ์ (in press)

 

ข) บทความวิจัยสื่อสารอย่างสั้น (Short communication)

มีข้อพิจารณาเหมือนกับบทความวิจัย (original research article) โดยควรเป็นองค์ความรู้ใหม่ ต้นฉบับความยาวไม่เกิน 4 หน้ากระดาษ A4 อาจมีรูปภาพและตารางรวมกันไม่เกิน 2 รูป บทคัดย่อไม่ควรเกิน 200 คำ จำนวนเอกสารอ้างอิงไม่เกิน 25 รายการ

ค) บทความนิพนธ์ปริทัศน์ (Review article)

บทความต้องรวบรวมความก้าวหน้าของประเด็นทางวิชาการมานำเสนออย่างกระชับ และต้องมีเนื้อหาการวิเคราะห์และวิจารณ์ด้วยเสมอ ความยาวต้นฉบับไม่เกิน 8 หน้ากระดาษ A4 อาจมีรูปภาพและตารางรวมกันไม่เกิน 10 รูป บทคัดย่อไม่ควรเกิน 200 คำ แบ่งเนื้อหาเป็นหัวข้อหลัก ดังนี้ บทนำ เนื้อเรื่อง บทสรุป และเอกสารอ้างอิง โดยจำนวนเอกสารอ้างอิงไม่เกิน 100 รายการ บทความนิพนธ์ปริทัศน์จะผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิเช่นเดียวกันบทความประเภทอื่น

 

การเขียนเอกสารอ้างอิง (reference style)

สำหรับต้นฉบับไม่ว่าเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ให้แสดงรายการเอกสารอ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษทุกรายการ วารสารกำหนดรูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงโดยใช้ American Medical Association (AMA) style โดยมีหลักดังนี้

  1. แสดงชื่อผู้นิพนธ์ทุกคน แต่หากมีชื่อผู้นิพนธ์มากกว่า 6 คน ให้แสดงเพียง 3 ชื่อแรก แล้วตามด้วย “et al”
  2. เขียนชื่อเรื่องโดยใช้อักษรตัวเล็กปกติ
  3. ชื่อย่อของวารสารที่อ้างอิง ให้เป็นไปตามวิธีของ AMA style
  4. ควรใส่ issue number เสมอ แม้วารสารนั้นเรียงเลขหน้าต่อเนื่องในแต่ละ volume เพื่อง่ายต่อการสืบค้นเอกสารอ้างอิงดังกล่าว
  5. สำหรับเว็บไซต์ ให้ระบุวันที่สืบค้นด้วยเสมอ

 

ตัวอย่างการเขียนรายการเอกสารอ้างอิง

บทความวิจัย (Original research articles)

Bodmeier R, Paeratakul O. Plasticizer uptake by aqueous colloidal polymer dispersions used for the coating of solid dosage forms. Int J Pharm 1997;152(4):17-26.

บทความในหนังสือ และหนังสือ (Book chapters & Books)

Bodmeier R, Paeratakul O. Suspensions and dispersible dosage forms of multiparticulates. In: Ghebre-Sellassie I (ed.). Multiparticulate oral drug delivery (drugs and the pharmaceutical sciences series, Vol. 65). New York . Marcel Dekker, 1994: pp.143-157.

Patton TC. Paint flow and pigment dispersion – a rheological approach in coating and ink technology. New York. Wiley, 1979: pp.126-204.

วิทยานิพนธ์ (Thesis)

Anuwong W. Adverse drug reaction monitoring in children’s hospital. M. Sc. (Pharmacy) thesis. Bangkok. Mahidol University, 1993.

บทคัดย่อ และรายงานการประชุม (Abstracts & Proceedings)

Paeratakul O, Bodmeier R. Microporous coatings prepared from aqueous latexes. 4th National Meeting of the American Association of Pharmaceutical Scientists, Atlanta. Pharm Res 1989;6(9):S102.

Bodmeier R, Paeratakul O. Process and formulation variables affecting the drug release from beads coated with aqueous ethyl cellulose latexes. Proceedings of the 10th International Pharmaceutical Technology Conference, Bologna, Italy. Apr. 1991.

สิทธิบัตร (Patents)

Higuchi T, U.S. Patent 4, 439, 196 (1984).

เว็บไซต์ (website)

Pratt TA, Kuckelman JF. The learned intermediary doctrine and direct-to-consumer advertising of prescription drugs. 2001. (Accessed on Jun. 27, 2003, at http://www.thefederation.org/ documents/pratt.htm)

 

การส่งต้นฉบับและการพิจารณาต้นฉบับ (Manuscript submission and review)

  1. ผู้นิพนธ์สมัครเข้าระบบ online submission ที่ http://ejournals.swu.ac.th/index.php/pharm ในฐานะ author (อย่าเลือกฐานะเป็น reader หรือ reviewer เด็ดขาด)
  2. เมื่อสมัครสำเร็จ ผู้นิพนธ์ login อีกครั้งเพื่อ upload ไฟล์ต้นฉบับ และไฟล์อื่น ๆ ได้แก่ ไฟล์ข้อมูลผู้นิพนธ์  (Title page) ไฟล์ข้อมูลหรือตารางหรือภาพ (หากแยกจากไฟล์ต้นฉบับบทความ) หากมีปัญหาข้อขัดข้อง สามารถติดต่อบรรณาธิการที่ charoen@g.swu.ac.th และเมื่อเสร็จขั้นตอนนี้แล้วต้องอีเมล์แจ้งที่บรรณาธิการด้วย
  3. ในการส่งบทความ ผู้นิพนธ์ต้องแจ้งนามจริงและที่อยู่ / สังกัดของผู้นิพนธ์อย่างชัดเจน ในกรณีที่มีผู้นิพนธ์เป็นหมู่คณะให้ระบุชื่อผู้ประสานงานซึ่งบรรณาธิการสามารถติดต่อได้โดยสะดวก ในกรณีที่นิสิต-นักศึกษาเป็นผู้ส่งบทความต้องได้รับอนุญาตจากอาจารย์ที่ปรึกษา (ให้สำเนาแจ้งการส่งบทความไปยัง email ของอาจารย์ที่ปรึกษาด้วย)
  4. ในเว็บไซต์ ผู้นิพนธ์ต้องกรอกข้อมูล metadata ให้ครบถ้วน รวมถึงรายชื่อผู้นิพนธ์ (contributors) และ affiliation ของผู้นิพนธ์ทุกราย พร้อมระบุ corresponding author
  5. ผู้นิพนธ์โอนเงินค่าธรรมเนียมการพิจารณาบทความเข้าบัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" เลขที่ 283-200568-4 ธนาคารไทยพานิชย์ สาขามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ-องครักษ์ จำนวนเงิน 2,000 บาท สำหรับบทความวิจัย (original research article) และ 1,000 บาท สำหรับบทความประเภทอื่น
    ผู้เขียนจะได้รับคำวิจารณ์ภายใน 1 เดือน ผู้เขียนบทความต้องชำระค่าธรรมเนียมพิารณาบทความก่อนเริ่มกระบวนการพิจารณา (ทั้งนี้ วารสารจะไม่คืนค่าธรรมเนียมให้ในกรณีที่บทความถูกปฏิเสธหลังการพิจารณา) 

    จากนั้นถ่ายภาพหรือสแกนเอกสารหลักฐานการโอนเงินส่งอีเมล์มายังบรรณาธิการ charoen@g.swu.ac.th หรือส่งไปรษณีย์เอกสารดังกล่าวมายัง บรรณาธิการไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 63 หมู่ 7 ถ. รังสิต – นครนายก อ. องครักษ์ จ. นครนายก 26120

    6. บทความทุกฉบับจากผู้นิพนธ์จะได้รับการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer-review journal) ตรงตามสาขาวิชาและเป็นผู้ที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์ จำนวน 3 ท่านต่อบทความ (สำหรับต้นฉบับบทความวิจัยที่ submit ตั้งแต่ 20 มกราคม 2565 เป็นต้นไป) เพื่อประเมินคุณภาพความเหมาะสมก่อนการตีพิมพ์ ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 1 เดือน ในกรณีที่ผลการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิระบุให้ต้องปรับปรุงหรือแก้ไข ผู้นิพนธ์ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับจากวันที่ผู้นิพนธ์ได้รับผลการประเมินบทความ (หมายเหตุ: ไม่มีการพิจารณาบทความแบบเร่งด่วน หรือ fast track review แล้ว)

7. กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตีพิมพ์ต้นฉบับ / บทความทุกเรื่อง ต้นฉบับที่ส่งมาเพื่อการพิจารณาต้องไม่ใช่ต้นฉบับที่กำลังได้รับการพิจารณาอยู่โดยวารสารอื่น

 

จริยธรรมและข้อปฏิบัติเบื้องต้น ในการตีพิมพ์ในวารสารฯ

จริยธรรมของบรรณาธิการ (Editor)

  1. บรรณาธิการดำเนินการกระบวนการพิจารณาคุณภาพต้นฉบับบทความโดยจัดให้มีคำแนะนำเหมาะสมและสอดคล้องกับหลักการทางวิชาการที่เป็นปัจจุบันให้แก่ผู้นิพนธ์
  2. บรรณาธิการดำเนินการพิจารณาและตีพิมพ์บทความโดยยึดหลักจริยธรรมสากล โดยให้ความสำคัญกับการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนในทุกขั้นตอนและบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ เจ้าหน้าที่ของวารสาร ผู้นิพนธ์ ผู้ประเมินบทความ
  3. การดำเนินการเพื่อคงไว้ซึ่งคุณภาพของบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร โดยบรรณาธิการ

ก) คัดเลือกต้นฉบับบทความที่สอดคล้องกับขอบเขตของวารสาร และมีความสำคัญ คุณภาพ ความชัดเจนและความใหม่ทางวิชาการ
ข) เลือกผู้ประเมินที่มีความเชี่ยวชาญทางวิชาการที่สอดคล้องกับเนื้อหาในต้นฉบับบทความ
ค) รักษาระบบการประเมินที่ปกปิดเป็นความลับในทุกขั้นตอนการพิจารณา ระหว่างผู้นิพนธ์กับผู้ประเมิน (วารสารใช้ระบบ double-blind peer review) และรักษาความลับของข้อมูลส่วนตัวของผู้ประเมิน
ง) แก้ไขปัญหาและสื่อสารกับผู้นิพนธ์และผู้ประเมินหากเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน หรือข้อสงสัยต่าง ๆ
จ) แก้ไขเนื้อหาที่ผิดพลาดหรือเนื้อความที่อาจทำให้เข้าใจผิดในบทความที่ตีพิมพ์ไปแล้วโดยรวดเร็วและโปร่งใส
ฉ) พิจารณาตรวจสอบและเพิกถอนบทความที่ตีพิมพ์ไปแล้วหากพบว่ามีการบิดเบือนข้อเท็จจริงหรือมีการลอกเลียนวรรณกรรม (plagiarism) หรือมีการประพฤติทุจริตโดยรวดเร็วและโปร่งใส และประกาศเพิกถอนให้สาธารณะและฐานข้อมูลอื่น ๆ ทราบ

  1. ในการตรวจสอบการคัดลอกวรรณกรรม (Plagiarism) บรรณาธิการดำเนินการอย่างสม่ำเสมอต่อทุกบทความ ทั้งด้วยตนเองและจากข้อสังเกตของผู้ประเมิน
  2. สำหรับบทความที่ถูกปฏิเสธการตีพิมพ์ไปแล้ว บรรณาธิการคงการตัดสินโดยไม่เปลี่ยนไปรับตีพิมพ์ อีกทั้งไม่กลับคำตัดสินปฏิเสธการตีพิมพ์ของบรรณาธิการคนก่อน เว้นเสียแต่มีการพิสูจน์ปัญหาและหรือข้อขัดข้องแล้วอย่างโปร่งใสโดยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
  3. สำหรับกรณีข้อขัดแย้งหรือปัญหาที่ผู้นิพนธ์เห็นต่างจากการตัดสินหรือชี้แนะ บรรณาธิการจัดให้มีช่องทางอุทธรณ์ให้แก่ผู้นิพนธ์โดยสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส ในการปฏิสัมพันธ์ และการให้คำอธิบาย รวมถึงการให้ข้อมูลชี้แจงกระบวนการประเมินตามระบบ peer review
  4. ผู้นิพนธ์และผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถร้องเรียน โดยบรรณาธิการจัดให้มีช่องทางการร้องเรียน และตอบกลับต่อคำร้องเรียนโดยเร็วและโปร่งใส

จริยธรรมของผู้ประเมินบทความ (Reviewer)

1) หากผู้ประเมินบทความพิจารณาแล้วว่าไม่สามารถพิจารณาบทความให้เสร็จในเวลาที่กำหนด ขอความกรุณาแจ้งแก่บรรณาธิการทันที (charoen@g.swu.ac.th)
2) เนื่องจากถือว่าบทความเป็นความลับ ทั้งข้อมูล แนวคิด และเนื้อความทั้งหมด ดังนั้น ให้ผู้ประเมินบทความถือเป็นความลับ ไม่นำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน ไม่นำไปอภิปรายหรือเปิดเผยในทุกที่ 
3) ผู้ประเมินให้ความเป็นธรรมในการประเมินบทความ ในการวิจารณ์ขอให้ปราศจากอคติ และความชอบหรือไม่ชอบส่วนตัว 
4) ผู้ประเมินประเมินโดยใช้ภาษาให้ชัดเจน แสดงความเห็นอย่างชัดเจนและละเอียดเพียงพอ ให้เหตุผลอย่างชัดเจนว่าทำไมจึงวิจารณ์เช่นนั้น และอาจแนะนำช่องทางการปรับแก้แก่ผู้นิพนธ์ด้วย โดยให้เป็นการวิจารณ์และการถามอย่างสร้างสรรค์ แม้ว่าอาจให้ความเห็นสุดท้ายว่าบทความไม่เหมาะสมสำหรับการตีพิม์และถูกปฏิเสธการตีพิมพ์ ผู้นิพนธ์สามารถนำไปปรับปรุงได้เช่นกัน 
5) ผู้ประเมินสามารถแจ้งบรรณาธิการเมื่อสงสัยว่ามีการลอกเลียนผลงานไม่ว่ารูปแบบใด ๆ ในบทความที่ประเมิน และ/หรือการตีพิมพ์ซ้ำ พร้อมหลักฐาน (ถ้ามี)  

จริยธรรมของผู้นิพนธ์ (Author)

1. ต้นฉบับบทความที่ขอรับการพิจารณาต้องเป็นผลงานใหม่ที่ไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน (non-redundant publication) โดยผู้นิพนธ์ต้องยืนยันในแบบฟอร์มที่วารสารฯ กำหนดให้ (แต่ดูข้อยกเว้นในข้อ 2)
2. หากเคยตีพิมบางส่วนของผลการศึกษามาก่อน ต้องระบุให้ชัดเจนว่าเคยตีพิมพ์ในวารสารใด เนื้อหาใดที่ตีพิมพ์แล้ว และต้นฉบับบทความที่ขอรับการพิจารณานั้นมีผลการศึกษาเพิ่มจากการตีพิมพ์ก่อนหน้าอย่างไร โดยวารสารฯ จะตัดสินว่าส่วนที่เพิ่มมานั้นมากพอหรือไม่
3. หากพบว่ามีการส่งต้นฉบับบทความไปรับการพิจารณานอกเหนือจากที่วารสารนี้ (simultaneous submission) ต้นฉบับจะถูกถอน (retraction)
4. เมื่อบทความได้รับการตีพิมพ์กับวารสารฯแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องไม่นำไปเผยแพร่หรือตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งอื่นอีก หากฝ่าฝืนบทความนั้นจะถูกถอน (retraction)
5. หากพบว่ามีการลอกเลียนผลงาน (plagiarism) รวมถึงการลอกเลียนผลงานตนเอง (self-plagiarism) ทั้งในต้นฉบับบทความและบทความที่ตีพิมพ์แล้ว บทความนั้นจะถูกถอน ดังนั้นผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิงอย่างเหมาะสม
6. หากเกิดการฟ้องร้องเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ของเนื้อหาที่ปรากฎในวารสารฯ ให้ผู้นิพนธ์รวมถึงผู้นิพนธ์ร่วมเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว และบทความนั้นอาจถูกถอน
7. ผู้นิพนธ์และผู้นิพนธ์ร่วมทุกรายต้องระบุหน้าที่และสัดส่วนที่ตนมีส่วนร่วมในบทความนั้น ในแบบฟอร์มที่วารสารฯ กำหนด
8. หากมีผลประโยชน์ทับซ้อน (conflict of interest) ให้ระบุให้ชัดเจนในต้นฉบับบทความ หากพบว่ามีความบกพร่องรุนแรง บทความนั้นอาจถูกถอน
9. ควรเตรียมต้นฉบับบทความให้เป็นไปตามรูปแบบที่วารสารฯ กำหนด โดยเฉพาะรูปแบบเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ เพื่อลดภาระของกองบรรณาธิการ
10. ผู้นิพนธ์และผู้นิพนธ์ร่วมของบทความที่ถูกถอน จะไม่สามารถส่งต้นฉบับบทความเรื่องใหม่เพื่อรับการพิจารณาภายในเวลา 2 ปี
11. วารสารฯ จะแจ้งให้สาธารณะทราบเกี่ยวกับบทความที่ถูกถอน (retraction) บนเว็บไซต์ของวารสารฯ

 

นโยบายและมาตรการเกี่ยวกับการลอกเลียนวรรณกรรม (Plagiarism)

เนื้อหาในต้นฉบับควรเกิดจากการสังเคราะห์ความคิดขึ้นโดยผู้นิพนธ์เอง ไม่ได้ลอกเลียนหรือตัดทอนมาจากบทความอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือปราศจากการอ้างอิงที่เหมาะสม ต้นฉบับบทความที่พิสูจน์ได้ว่ามีการลอกเลียนวรรณกรรมจะถูกยกเลิกการพิจารณา

สำหรับบทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้วและภายหลังพบว่ามีการลอกเลียนวรรณกรรม วารสารจะไม่รับพิจารณาต้นฉบับบทความของผู้นิพนธ์นั้นในอนาคตเป็นเวลา 2 ปี

 

การพิจารณาต้นฉบับบทความโดยสังเขป 

1. การพิจารณาใช้หลักการ double-blind peer review โดยใช้ผู้ประเมิน 3 ท่าน

2. บรรณาธิการเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด

3. กระบวนการพืจารณาต้นฉบับบทความดำเนินการบนเว็บไซต์ของวารสารตามระบบอัตโนมัติของ ThaiJO ซึ่งรวมถึงการสื่อสารทางธุรการ และการวิจารณ์และตัดสินทางวิชาการ โดยผู้นิพนธ์สามารถดูคำวิจารณ์จากผู้ประเมินแต่ละท่านบนเว็บไซต์ของวารสารโดยตรง 

 

คำชี้แจงแก่ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ

  1. การประเมินบทความในวารสารนี้ เป็นแบบ Anonymous Reviewer / Anonymous Author สำหรับทุกบทความ ดังนั้น ผู้ประเมินบทความจะไม่เห็นชื่อของผู้นิพนธ์และผู้นิพนธ์จะไม่เห็นชื่อผู้ประเมินบทความ
  2. ขอความกรุณาผู้ประเมินบทความ ตอบรับหรือปฏิเสธการประเมินบทความภายในเวลาที่กำหนดคือประมาณ 1 สัปดาห์ บนเว็บไซต์ของวารสาร และส่งผลการประเมินกลับภายในเวลาที่กำหนด คือประมาณ 4 สัปดาห์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป การประเมินบทความเป็นแบบอัตโนมัติบนเว็บไซต์วารสารตามระบบ THAIJO โดยผู้ประเมินต้องกรอกข้อมูลการประเมินแต่ละข้อบนเว็บไซต์วารสารโดยตรง   
  3. ในระบบประเมินบทความ มีคำถามแบบปรนัย (yes/no) และคำถามแบบอัตนัยให้ท่านตั้งคำถาม, ข้อสังเกต และคำแนะนำ แก่ผู้นิพนธ์
  4. ผู้ประเมินทุกท่านจะได้รับหนังสือเชิญสำหรับการประเมินบทความแต่ละเรื่อง (และหนังสือขออนุญาตผู้บังคับบัญชา สำหรับบางหน่วยงาน) ส่งไปให้ทางไปรษณีย์ เพื่อให้ท่านดำเนินการด้านวินัยการปฏิบัติงานและการประเมินภาระงาน
  5. ท่านสามารถสอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ charoen@g.swu.ac.th (บรรณาธิการ)

 

บทบาทของผู้ประเมินบทความ

- สำหรับบทความวิจัยแต่ละเรื่อง วารสารใช้การประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ส่วนบทความประเภทอื่น ๆ ใช้ 1 ท่าน โดยเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องกับบทความนั้น 
- โดยขอความอนุเคราะห์ท่านวิจารณ์และตั้งคำถามในประเด็นที่แต่ละท่านเชี่ยวชาญ ทั้งระเบียบวิธีวิจัยและเนื้อหาวิชาการเฉพาะด้าน และอื่น ๆ ตามจำเป็น
- ท้ายสุดเป็นการให้ความเห็นตัดสินว่าบทความควรได้รับการตีพิมพ์หรือไม่ หรือหากจะตีพิมพ์ควรมีการปรับปรุงแก้ไขมากน้อยเพียงใด โดยทุกคำวิจารณ์และคำถามถือเป็นการช่วยเหลือผู้นิพนธ์พัฒนาคุณภาพของบทความ 

ทั้งนี้ มีข้อพึงปฏิบัติดังนี้ 

1) หากผู้ประเมินบทความพิจารณาแล้วว่าไม่สามารถพิจารณาบทความให้เสร็จในเวลาที่กำนห ขอความกรุณาแจ้งแก่บรรณาธิการทันที (charoen@g.swu.ac.th)
2) เนื่องจากถือว่าบทความเป็นความลับ ทั้งข้อมูล แนวคิด และเนื้อความทั้งหมด ขอความกรุณาผู้ประเมินบทความถือเป็นความลับ ไม่นำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน ไม่นำไปอภิปรายหรือเปิดเผยในทุกที่ 
3) ขอให้ใช้ความเป็นธรรมในการประเมินบทความ ในการวิจารณ์ขอให้ปราศจากอคติ และความชอบหรือไม่ชอบส่วนตัว 
4) ขอให้ประเมินโดยใช้ภาษาให้ชัดเจน แสดงความเห็นอย่างชัดเจนและละเอียดเพียงพอ ให้เหตุผลอย่างชัดเจนว่าทำไมจึงวิจารณ์เช่นนั้น และอาจแนะนำช่องทางการปรับแก้แก่ผู้นิพนธ์ด้วย โดยให้เป็นการวิจารณ์และการถามอย่างสร้างสรรค์ แม้ว่าอาจให้ความเห็นสุดท้ายว่าบทความไม่เหมาะสมสำหรับการตีพิม์และถูกปฏิเสธการตีพิมพ์ ผู้นิพนธ์สามารถนำไปปรับปรุงได้เช่นกัน 
5) ผู้ประเมินสามารถแจ้งบรรณาธิการเมื่อสงสัยว่ามีการลอกเลียนผลงานไม่ว่ารูปแบบใด ๆ ในบทความที่ประเมิน และ/หรือการตีพิมพ์ซ้ำ พร้อมหลักฐาน (ถ้ามี)  

Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ

Review Article - นิพนธ์ปริทัศน์

Special Article - บทความพิเศษ

Miscellaneous Article - ปกิณกะ

Privacy Statement

- ห้ามใส่รายชื่อผู้นิพนธ์ลงในไฟล์ต้นฉบับบทความเด็ดขาด และทำตามคำแนะนำใน Ensuring a Blind Peer Review section- The names and email addresses entered in this journal site will be used exclusively for the stated purposes of this journal and will not be made available for any other purpose or to any other party.