กรณีศึกษา: ภาวะเลือดเป็นกรดจากการคั่งของแลคติกซึ่งสัมพันธ์กับการใช้ยาเมทฟอร์มิน Case Report: Metformin-associated Lactic Acidosis
Abstract
บทคัดย่อ เมทฟอร์มิน (metformin) เป็นยาที่แนะนำให้ใช้เป็นลำดับแรกในการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (type 2 diabetes mellitus) เนื่องจากมีประสิทธิภาพดีในการลดระดับน้ำตาลในเลือด และไม่ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ แต่ metformin ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงที่มีอุบัติการณ์ค่อนข้างต่ำ คือ ภาวะเลือดเป็นกรดจากการคั่งของแลคติกซึ่งสัมพันธ์กับการใช้ยา metformin (metformin associated lactic acidosis; MALA) ซึ่งสภาวะที่สัมพันธ์กับอัตราการตายสูง คือ การที่มีระดับยา metformin ในเลือดสูงเกินค่าปกติ มีการสร้างกรด แลคติกมากขึ้น และการขจัดกรดแลคติกน้อยลง ดังนั้น ต้องวินิจฉัยภาวะ MALA อย่างรวดเร็ว และรักษาแบบประคับประคอง แก้ไขภาวะเลือดเป็นกรด และฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมซึ่งสามารถขจัดกรดออกจากร่างกายและลดระดับยา metformin ได้ เภสัชกรสามารถมีบทบาทในการป้องกันการเกิดภาวะนี้ได้โดยช่วยปรับขนาดยา metformin ให้เหมาะสมกับค่าการทำงานของไต คำสำคัญ: เมทฟอร์มิน, ภาวะเลือดเป็นกรดจากการคั่งของแลคติก, ภาวะไตวายเฉียบพลัน, การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม Abstract Metformin is the first-line oral antidiabetic agent recommended to treat type 2 diabetes. Metformin shows the ability to lower blood sugar levels efficiently and a low chance of experiencing hypoglycemia. However, metformin causes metformin associated lactic acidosis (MALA) which is a rare but fatal adverse event. Clinical manifestatiosn of MALA that are associated with a high death rate include elevated metformin blood level, over-production of lactic acid, and lower lactic acid clearance. Therefore, prompt diagnose of MALA is crucial. The initial treatment is to reverse the acidosis by supportive treatment. Hemodialysis has proved to be effective in removing lactic acid and metformin. Pharmacist may have an important role in preventing this fatal event by raising the concern about metformin dose adjustment in renal-impaired patients. Keywords: metformin, lactic acidosis, acute kidney injury, hemodialysisDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2021-12-31
Issue
Section
Review Article - นิพนธ์ปริทัศน์
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์