https://ejournals.swu.ac.th/index.php/pharm/issue/feedThai Pharmaceutical and Health Science Journal - วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ2024-09-30T16:12:28+00:00Charoen Treesakcharoen@g.swu.ac.thOpen Journal Systems<p><strong>ไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ</strong></p> <p>วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ (Thai Pharmaceutical and Health Science Journal) เป็นวารสารวิชาการของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วารสารนี้จัดอยู่ในกลุ่ม 1 (tier 1) ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal Citation Index Centre; TCI) และ ASEAN Citation Index (ACI)</p> <p> </p> <p><strong>Impact Factor:</strong> 0.022 for 2018 (by TCI, since August 6, 2019)</p> <p><strong>รูปแบบ: </strong>วารสารตีพิมพ์บทความทั้งรูปแบบเล่ม (print) และออนไลน์ (online)</p> <p><strong>รูปแบบการประเมินต้นฉบับบทความ: </strong>double-blind peer review </p> <p><strong>ISSN: </strong>1905-3460 (print) เริ่มตีพิมพ์เล่มตั้งแต่ 1 มกราคม 2549 (2006)</p> <p><strong>ISSN: </strong>2672-9687 (online) เริ่มตีพิมพ์ออนไลน์ตั้งแต่ 1 มกราคม 2551 (2008)</p> <p><strong>ความถี่: </strong>ปีละ 4 ฉบับ (ทุก 3 เดือน) โดยตีพิมพ์บทความวิจัยฉบับละ 10 - 12 บทความ</p> <p> </p> <p><strong>วัตถุประสงค์ (</strong><strong>Aim) </strong></p> <p> </p> <p>ไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาตีพิมพ์บทความวิชาการทั้ง1) บทความผลการศึกษาวิจัยที่แสดงข้อค้นพบใหม่หรือแง่มุมใหม่ทางวิชาการ และ 2) บทความประมวลความรู้ที่ก้าวหน้า ที่ครอบคลุมศาสตร์ทั้งเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ของทั้งคณาจารย์ นิสิต/นักศึกษา นักวิจัย เภสัชกร บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข และนักวิทยาศาสตร์</p> <p> </p> <p><strong>ขอบเขต (</strong><strong>Scope)</strong></p> <p> </p> <p><strong>ขอบเขตเนื้อหา</strong> <strong>-</strong> นำเสนอบทความวิจัยและบทความประมวลความรู้ ที่ครอบคลุมศาสตร์สาขาเภสัชศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ และสหสาขาวิชาชีพด้านสุขภาพ ดังต่อไปนี้</p> <ul> <li><strong>เภสัชศาสตร์</strong> <strong>(</strong><strong>pharmacy, pharmaceutical sciences)</strong> ได้แก่ เภสัชกรรมปฏิบัติ (pharmacy practice) การบริบาลทางเภสัชกรรม (pharmaceutical care) เทคโนโลยีเภสัชกรรม (pharmaceutical technology) เภสัชเคมี (pharmaceutical/medicinal chemistry) เภสัชวิทยา (pharmacology) เภสัชจลนศาสตร์ (pharmacokinetics) เภสัชพฤกษศาสตร์ (pharmaceutical botany) เภสัชเวทและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ (pharmacognosy and natural products) เภสัชกรรมสังคมและการบริหาร (social and administrative pharmacy) เภสัชเศรษฐศาสตร์ (pharmacoeconomics) โภชนคลินิก (clinical nutrition) อาหารและโภชนาการ (food and nutrition) เครื่องสำอาง (cosmetics) เทคโนโลยีชีวภาพ (biotechnology)</li> <li><strong>วิทยาศาสตร์การแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ</strong> <strong>(</strong><strong>medical and health science)</strong> ได้แก่ เวชกรรม/แพทยศาสตร์ (medicine) ทันตกรรม (dentistry) การพยาบาล (nursing) การสาธารณสุข (public health) การแพทย์เสริมและการแพทย์ทางเลือก (complementary and alternative medicine) สหเวชศาสตร์ (allied health science) กายภาพบำบัด (physical therapy) การตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ (diagnostic laboratory science) รวมถึง สรีรวิทยาทางการแพทย์ (medical physiology) กายวิภาคศาสตร์ (anatomy) จุลชีววิทยาทางการแพทย์ (medical microbiology)</li> <li><strong>สหสาขาวิชาชีพด้านสุขภาพ (</strong><strong>multidisciplinary healthcare science) </strong></li> </ul> <p> </p> <p><strong>ขอบเขตรูปแบบ – </strong>บทความวิชาการที่เผยแพร่ครอบคลุมรูปแบบดังต่อไปนี้</p> <ul> <li>บทความวิจัย (original research article)</li> <li>บทความนิพนธ์ปริทรรศน์ (review article)</li> <li>บทความวิชาการในรูปแบบรายงานผู้ป่วยหนึ่งราย (case report) และรายงานผู้ป่วยมากกว่าหนึ่งราย (case-series report)</li> <li>บทความวิจัยสื่อสารอย่างสั้น (short communication)</li> <li>บทความวิชาการในรูปแบบปกิณกะ (miscellaneous)</li> </ul>https://ejournals.swu.ac.th/index.php/pharm/article/view/15982ผลลัพธ์ของการจัดการโรคลมชักโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ณ โรงพยาบาลเศรษฐาธิราช ประเทศลาว Outcomes of a Multidisciplinary Team for Epilepsy Management at Setthathirat Hospital in LAO PDR2024-02-13T07:10:10+00:00Peeraya Sriphongpeeraya.s@msu.ac.thSaysamooth Phanouvongmoothphanouvong@gmail.comJuntip Kanjanasilpjuntip.k@msu.ac.th<p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อประเมินผลลัพธ์ของทีมสหสาขาวิชาชีพในการจัดการโรคลมชักในประเทศลาว <strong>วิธีการศึกษา:</strong> ผู้ป่วยโรคลมชัก 68 ราย ได้รับการดูแลโดยทีมสหสาขาวิชาชีพนาน 6 เดือน ที่คลินิกผู้ป่วยนอกภาควิชาประสาทวิทยา ผู้ป่วยได้รับการประเมินความร่วมมือในการใช้ยาด้วยวิธีการนับ<em>เม็ดยา</em>และการรายงานด้วยตนเอง ประเมินความรู้ด้วยแบบสอบถาม และคำนวณความถี่ของการชักในช่วง 3 เดือน ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับยาในด้านปฏิกิริยาระหว่างยา ผลข้างเคียงจากการใช้ยา และการใช้ยาเกินขนาด ประเมินคุณภาพชีวิตโดยใช้แบบสอบถาม QOLIE-10 <strong>ผลการศึกษา:</strong> ก่อนการดูแลของทีมสหสาขาวิชาชีพ ในนัดตรวจครั้งที่ 1 (เดือนที่ 0) ความร่วมมือในการใช้ยาเป็น 58.15 ± 27.3% แล้วเพิ่มเป็น 90.17 ± 4.5% ในการนัดตรวจครั้งที่ 2 (เดือนที่ 3) (P-value = 0.001) คะแนนเฉลี่ยความรู้ก่อนให้ความรู้เท่ากับ 29.72 ± 3.6 คะแนน เพิ่มเป็น 37.63 ± 1.1 ในการนัดตรวจครั้งที่ 1 (เดือนที่ 0) ความรู้เกี่ยวกับยากันชักเพิ่มขึ้นจาก 6.00 ± 0.45 คะแนนเป็น 9.58 ± 1.12 (P-value = 0.0001) ร้อยละผู้ป่วยที่มีอาการชักสามครั้งในสามเดือนลดลงจาก 29.4% เป็น 8.8% ในการนัดตรวจครั้งที่ 2 (เดือนที่ 3) จำนวนปัญหาที่เกี่ยวข้องกับยาลดลงจาก 24 เป็น 11 คะแนนคุณภาพชีวิตเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญ (P-value < 0.001) ในด้านอารมณ์ ข้อจำกัดในการทำงาน ปัญหาด้านความจำ ผลการรักษาทางร่างกายและความรู้ความเข้าใจ และความวิตกกังวลในการชัก (P-value < 0.05) ยกเว้นการเคลื่อนไหว <strong>สรุป:</strong> การปฏิบัติงานเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยา ความรู้ และคุณภาพชีวิต และลดความถี่ในการชักและปัญหาเกี่ยวกับยาในผู้ป่วยโรคลมชัก</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> โรคลมชัก; ทีมสหสาขาวิชาชีพ; ความสม่ำเสมอ; ความรู้; ความถี่ในการชัก; ปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติด; QOLIE-10; คุณภาพชีวิต</p> <p> </p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p><strong>Objective:</strong> To assess the outcomes of a multidisciplinary team (MDT) care for epilepsy management receiving usual care at the OPD clinic department of Setthathirat Hospital, Lao PDR. <strong>Method:</strong> Sixty-eight epilepsy patients receiving the 6-month MDT care. Medication adherence was evaluated using both pill counts and self-reported data. Patient knowledge was measured through a questionnaire, and seizure frequency was calculated every 3 months. We identified three main categories of DRPs including drug interactions, overdosage, failure to receive drugs, and adverse drug reactions. Quality of life was assessed using the QOLIE-10 questionnaire. <strong>Result:</strong> Prior to receiving MDT care at visit 1 (month 0), the patient's adherence was 58.15 ± 27.3% which increased to 95.24 ± 2.03% at visit 3 (month 6) (P-value = 0.001). Knowledge of epilepsy scores were 29.72 ± 3.6 points at pre-visit 1 (month 0) and increased to 37.63 ± 1.1 points at post-visit 1 (month 0). Knowledge about antiepileptic drugs increased from 6.00 ± 0.45 point at pre-visit 1 (month 0) to 9.58 ± 1.12 points at post-visit 1 (month 0). % patients experiencing seizures three times in three months decreased from 29.4% to 8.8% at visit 2 (month 3). DRPs decreased from 24 at pre-visit 1 (month 0) to 15 at visit 3 (month 6). Quality of life showed significant improvements (P-value < 0.05) in mood, work limitations, memory problems, physical and cognitive treatment effects, and seizure worries, except mobility. <strong>Conclusion:</strong> MDT practice enhanced adherence, knowledge, and quality of life, while decreasing seizure frequency and DRPs among epileptic patients.</p> <p><strong>Keywords: </strong>epilepsy; multidisciplinary team; adherence; knowledge; seizure frequency; drug-related problems; QOLIE-10; quality of life</p>2024-09-29T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 Thai Pharmaceutical and Health Science Journal - วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพhttps://ejournals.swu.ac.th/index.php/pharm/article/view/15927ปัจจัยทำนายสุขภาวะทางจิตใจของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจ ด้วยอำนาจของความเครียด ความแข็งแกร่งและยืดหยุ่นของชีวิต การมีสติ และการสนับสนุนทางสังคม Factors Predicting Psychological Well-Being of the Elderly with Coronary Artery Disease based on the Power of Stress, Resilience, Mindfulness, and Social Support2024-01-24T14:08:35+00:00Siriwan Kongudomsapsiriwan.ornorn@gmail.comWareerat Thanoiwareerat.tha@mahidol.eduAtittaya Pornchaikate Au Yeongatittaya.auy@mahidol.ac.thSudarat Pianchobsudarat.pia@mahidol.ac.th<p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายสุขภาวะทางจิตใจของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจด้วยอำนาจของความเครียด ความแข็งแกร่งและยืดหยุ่นของชีวิต การมีสติ และการสนับสนุนทางสังคม <strong>วิธีการศึกษา:</strong> การวิจัยความสัมพันธ์เชิงทำนาย มีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจที่เข้ารับการตรวจตามนัด ณ คลินิกผู้ป่วยนอกอายุรกรรมโรคหัวใจ โรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่ง 138 คน คัดกรองด้วยแบบทดสอบสมรรถภาพสมองของไทยที่คะแนนมากกว่า 23 คะแนน ใช้วิธีการสุ่มตามความสะดวก เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล สุขภาวะทางจิตใจ การรับรู้ความเครียด ความแข็งแกร่งและยืดหยุ่นของชีวิต การมีสติ และการสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์โดยใช้สถิติถดถอยพหุคูณแบบนำตัวแปรเข้าทั้งหมด <strong>ผลการวิจัย:</strong> พบว่าความเครียด ความแข็งแกร่งและยืดหยุ่นของชีวิต การมีสติ และการสนับสนุนทางสังคม สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของสุขภาวะทางจิตใจของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจได้ร้อยละ 42 โดยความแข็งแกร่งและยืดหยุ่นของชีวิต การมีสติ และการสนับสนุนทางสังคมสามารถทำนายสุขภาวะทางจิตใจได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = 0.24, 0.33 และ 0.23 ตามลำดับ P-value < 0.01 ทั้งหมด) ปัจจัยที่ทำนายได้ดีที่สุด คือ การมีสติ <strong>สรุป:</strong> ความแข็งแกร่งและยืดหยุ่นของชีวิต การมีสติ และการสนับสนุนทางสังคม สามารถทำนายสุขภาวะทางจิตใจของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจได้ บุคลากรด้านสุขภาพควรนำข้อมูลนี้ไปพัฒนาโปรแกรมหรือนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตใจให้ผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจต่อไป</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> สุขภาวะทางจิตใจ; ผู้สูงอายุ; โรคหลอดเลือดหัวใจ</p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p><strong>Objective:</strong> To examine factors predicting psychological well-being (PWB) of the elderly with coronary artery disease based on the power of stress, resilience, mindfulness, and social support.<strong> Methods:</strong> A cross-sectional study recruited 138 elderly patients with coronary artery disease followed up at the cardiology outpatient clinic of a tertiary-care hospital in Thailand and had a Thai Mental State Examination score higher than 23 points. A convenience sampling method was used to recruit participants. Participants were interviewed for Personal Information Questionnaire, Ryff’s Scales of Psychological Well-Being, Thai Perceived Stress Scale, Connor-Davidson Resilience Scale, Philadelphia Mindfulness Scale, and Personal Resource Questionnaire 2000. Associations were tested using multiple linear regression with the enter method. <strong>Results:</strong> Stress, resilience, mindfulness, and social support accounted for 42% of the variance of in explaining PWB. Resilience, mindfulness, and social support were predictors of PWB (β = 0.24, 0.33, and 0.23, respectively, P-value < 0.01 for all) and mindfulness was the strongest predictor. <strong>Conclusion:</strong> Resilience, mindfulness, and social support were predictors of PWB among the elderly with coronary artery disease. Health care providers could use these findings to develop programs or innovations to enhance PWB of the elderly with coronary artery disease.</p> <p><strong>Keywords:</strong> psychological well-being; the elderly; coronary artery disease</p>2024-09-25T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 Thai Pharmaceutical and Health Science Journal - วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพhttps://ejournals.swu.ac.th/index.php/pharm/article/view/15972การเยียวยาตนเองตามการรับรู้ของผู้รอดชีวิตจากการฆ่าตัวตายในบริบทวัฒนธรรมไทย Exploring Suicide Survivors' Perspectives on Healing in Thai Culture2024-05-03T00:26:11+00:00kanyanat supapornkanyanat@g.swu.ac.thSang-arun Isaramalaiisangarun@hotmail.comUayart Chuchuenuayart@hotmail.comSomruk Suntibenchakulkanyanat@g.swu.ac.thSrisawas NungowattaSrisawas02417@gmail.com<p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> <strong>เพื่อศึกษาการรับรู้การเยียวยาตนเองของผู้ที่รอดชีวิตจากการฆ่าตัวตายชาวไทย วิธีการศึกษา</strong><strong>: ใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยา ในผู้รอดชีวิตจากการฆ่าตัวตาย 12 รายที่อาศัยในเขตที่รับผิดชอบการให้บริการสุขภาพโดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแห่งหนึ่ง ในจังหวัดนครนายก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา: การรับรู้ด้วยการเยียวยาตนเองของผู้ที่รอดชีวิตจากการฆ่าตัวตายที่พบมี 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) ความเชื่อสามารถช่วยให้เกิดพลังภายในตน 2) การเปลี่ยนแปลงชีวิตด้วยตนเอง 3) ได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวและเพื่อน สรุป: การศึกษาค้นพบมุมมอง 3 ด้านของการรับรู้การเยียวยาตนเองหลังจากการรอดชีวิตของผู้พยายามฆ่าตัวตาย ซึ่งอาจใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาในอนาคตและการดูแลผู้ที่รอดชีวิตจากการฆ่าตัวตายได้ดียิ่งขึ้น </strong></p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>การเยียวยา; การฆ่าตัวตาย; ผู้รอดชีวิต; มุมมอง; วัฒนธรรมไทย</p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p><strong>Objectives: </strong>To explore healing from Thai suicide survivors’ perspectives. <strong>Method:</strong> This qualitative study used phenomenology through semi-structured interviews and participatory observation in 12 suicide survivors under the supervision of a sub-district health promoting hospital in Nakhonnayok province, Thailand. Data were analyzed using content analysis. <strong>Results:</strong> Three themes of healing of suicide survivors were identified, specifically 1) beliefs work as an inner source of power, 2) my life was changed by myself, and 3) family and friends as a source of support. <strong>Conclusion:</strong> Three aspects of healing among Thai suicide survivors were identified. This information could be used for future research and care for suicide survivors.</p> <p><strong>Keywords:</strong> healing; suicide; survivors; perspectives; Thai culture</p>2024-09-30T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 Thai Pharmaceutical and Health Science Journal - วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพhttps://ejournals.swu.ac.th/index.php/pharm/article/view/15920Factors Related to Pre-operative Comfort of Older Adults with Hip Fracture in Wenzhou, China 2024-01-23T01:39:30+00:00Qingyun Wu2279305294@qq.comJinjutha Chaisenajinjuthatawan@gmail.comPornchai Jullamatepornchai@buu.ac.th<p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาระดับความสุขสบายก่อนการผ่าตัดและปัจจัยที่สัมพันธ์ในผู้ป่วยสูงอายุที่กระดูกสะโพกหัก ในเมืองเหวินโจว ประเทศจีน <strong>วิธีการศึกษา:</strong> ตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่กระดูกสะโพกหักและตรงตามเกณฑ์การคัดเลือกเข้าศึกษา จำนวน 128 คน จากการสุ่มอย่างง่าย รวบรวมข้อมูลระหว่างเมษายน - มิถุนายน ค.ศ 2022 โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบคัดกรอง แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการผ่าตัดกระดูกสะโพก ความพร้อมต่อการผ่าตัด ความสุขสบาย และการสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ปัจจัยสัมพันธ์โดยการทดสอบสเปียร์แมน <strong>ผลการศึกษา:</strong> ความสุขสบายก่อนการผ่าตัดของผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 68.50 ± 7.34 จากทั้งหมด 112 คะแนน) พบว่าความสุขสบายก่อนการผ่าตัดสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความพร้อมต่อการผ่าตัด (r = 0.333, P-value < 0.001) ความรู้เกี่ยวกับการผ่าตัดกระดูกสะโพก (r = 0.296, P-value < 0.001) และการสนับสนุนทางสังคม (r = 0.226, P-value = 0.010) <strong>สรุป:</strong> ความสุขสบายก่อนการผ่าตัดสัมพันธ์กับความพร้อมต่อการผ่าตัด ความรู้เกี่ยวกับการผ่าตัดกระดูกสะโพก และการสนับสนุนทางสังคม ผู้ป่วยสูงอายุที่กระดูกสะโพกหักสามารถมีความสุขสบายก่อนการผ่าตัดด้วยการสนับสนุนความพร้อมต่อการผ่าตัด ความรู้เกี่ยวกับการผ่าตัดกระดูกสะโพก และการสนับสนุนทางสังคม</p> <table> <tbody> <tr> <td width="392"> </td> </tr> </tbody> </table> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> ผู้สูงอายุที่กระดูกสะโพกหัก; ความสขสบายก่อนการผ่าตัด; ความพร้อมต่อการผ่าตัด; ความรู้เกี่ยวกับการผ่าตัดกระดูกสะโพก; การสนับสนุนทางสังคม</p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p><strong>Objective: </strong>To determine level of pre-operative comfort and its related factors among older adult patients with hip fractures in Wenzhou, China. <strong>Method:</strong> Simple random sampling was used to recruit 128 older adults who had hip fractures and met the criteria. Data were collected from April to June 2022 using demographic data form, a screening questionnaire, and four questionnaires assessing knowledge about the hip operation, readiness for the operation, Kolcaba’s comfort level, and social support. Spearman correlation analysis was used to examine correlations. <strong>Result</strong>: Mean score of the pre-operative comfort was at a moderate level (mean = 68.50 ± 7.34 out of 112 points). Pre-operative comfort was significantly positively correlated with readiness for operation (r = 0.333, P-value < 0.001), knowledge about hip fracture (r = 0.296, P-value < 0.001), and social support (r = 0.226, P-value = 0.010). <strong>Conclusion:</strong> Pre-operative comfort was correlated with readiness for operation, knowledge about hip fracture, and social support. The patients with hip fracture undergoing the surgery could have more comfort through enhancing readiness for the operation, knowledge about hip fracture operation, and social support.</p> <p><strong>Keywords</strong>: older adults with hip fractures; pre-operative comfort; readiness for operation; knowledge about hip fracture; social support</p>2024-09-24T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 Thai Pharmaceutical and Health Science Journal - วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพhttps://ejournals.swu.ac.th/index.php/pharm/article/view/15683ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อระดับกิจกรรมการเคลื่อนไหวออกแรง สมรรถนะทางกาย และสมรรถภาพทางกาย ในวัยผู้ใหญ่ตอนปลายและผู้สูงอายุ Effects of Health Promotion Program on the Levels of Physical Activity, Physical Function, and Physical Fitness in Late Adults and Older Persons 2023-10-21T14:01:06+00:00Wanid Duangdechwanid@g.swu.ac.thVanida Visuthipanichwanid@g.swu.ac.thNattawara Chaneaimwanid@g.swu.ac.thWaranuch Pruktaratwanid@g.swu.ac.thSupranee Purahongwanid@g.swu.ac.thWipawan Numsricharoenkulwanid@g.swu.ac.thNinlapa Jirarattanawannawanid@g.swu.ac.thWimonwan Lertwongpaopunwanid@g.swu.ac.th<p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อการใช้พลังงานทำกิจกรรมเคลื่อนไหวออกแรง สมรรถนะทางกายและสมรรถภาพทางกายผู้ใหญ่ตอนปลายและผู้สูงอายุ <strong>วิธีการศึกษา:</strong> การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลัง มีตัวอย่างเป็นวัยผู้ใหญ่ตอนปลายและผู้สูงอายุ 50 คน ร่วมโปรแกรม โดยให้ความรู้และพาปฏิบัติกิจกรรมเคลื่อนไหวออกแรง 1 วัน จากนั้นติดตามและกระตุ้นพฤติกรรมการเคลื่อนไหวออกแรงนาน 8 สัปดาห์ ประเมินการเปลี่ยนแปลงผลลัพธ์ดังนี้ 1) กิจกรรมการเคลื่อนไหวออกแรงโดยใช้แบบสอบถามเพื่อคำนวณเป็นพลังงานที่ใช้ 2) ทดสอบสมรรถนะทางกาย (physical function และ 3) ทดสอบสมรรถภาพทางกาย (physical fitness) ที่ก่อนเริ่มโปรแกรม และ 4 และ 8 สัปดาห์ ทดสอบการเปลี่ยนแปลงผลลัพธ์โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ <strong>ผลการศึกษา:</strong> หลังเข้าร่วมโปรแกรม ทั้ง 1) ค่าพลังงานทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวออกแรง (47.34, 58.04 และ 32.61 METS-min/week ที่ก่อนโปรแกรม 4 สัปดาห์ และ 8 สัปดาห์ ตามลำดับ) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกคู่เวลาที่เปรียบเทียบ (P-value < 0.05 ทั้งหมด) ค่าสมรรถนะทางทางกาย (เฉพาะ sit-to-stand test) (13.12, 14.48 และ 15.24 ครั้งต่อนาที) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญเฉพาะก่อนและ 4 สัปดาห์ และ ก่อนและ 8 สัปดาห์ (P-value < 0.05 ทั้งคู่) ส่วนค่าสมรรถภาพทางกาย (เฉพาะ cardio-respiratory endurance) (336.80, 388.40 และ 398.80 เมตร จาก 6-minute walk test) ที่ 4 และ 8 สัปดาห์เพิ่มขึ้นจากก่อนโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05 ทั้งคู่) แต่ไม่ต่างกันระหว่าง 4 และ 8 สัปดาห์ <strong>สรุป:</strong> โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพให้ความรู้ส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหวออกแรงและการส่งเสริมสมรรถนะทางกายกับสมรรถภาพทางกาย และการติดตามและกระตุ้นกิจกรรมการเคลื่อนไหวออกแรง มีผลต่อสมรรถนะทางกายและสมรรถภาพทางกายของผู้ใหญ่ตอนปลายและผู้สูงอายุ</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> การให้ความรู้; กิจกรรมการเคลื่อนไหวออกแรง; การออกกำลังกาย; สมรรถนะทางกาย; สมรรถภาพทางกาย; วัยผู้ใหญ่ตอนปลาย; ผู้สูงอายุ</p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p><strong>Objective:</strong> To determine effects of the Health Promotion Program on energy expenditure of physical activity (PA) engagement, physical function (P-Func), and physical fitness (P-Fit) in Thai late adults and older persons. <strong>Method:</strong> This one-group pretest-posttest quasi-experimental study recruited 50 Thai late adults and elderly. The outcomes measured at before, at 4 and 8 weeks of the 8-week program included 1) PA to converted to energy expenditure, 2) P-Func tests, and 3) P-Fit measures. The first day was for education and demonstration. The 8 weeks were for follow-up for encouragement. Changes in each of the three outcomes were tested using repeated measures ANOVA. <strong>Results:</strong> Changes in energy expenditure (METS-min/week) based on PA (47.34, 58.04 and 32.61 METS-min/week before the program, and at 4 and 8 weeks, respectively) were significantly different for all 3 comparisons (P-value < 0.05 for all). Changes in P-Func (only for sit-to-stand test) (13.12, 14.48 and 15.24 times/min) at 4 and 8 weeks were significantly different from that before the program (P-value < 0.05 for both). For P-Fit (only for cardio-respiratory endurance) (336.80, 388.40 and 398.80 meters from 6-minute walk test), performance at 4 and 8 weeks were significantly higher than that before the program (P-value < 0.05 for both) with no difference between those at 4 and 8 weeks. <strong>Conclusion: </strong>The health promotion program to providing health education to promote PA, P-Func and P-Fit with follow-up for encouragement improved physical activity and certain physical function and physical fitness measures in late adults and the elderly.</p> <p><strong>Keywords:</strong> health promotion program; physical activity; physical function; physical fitness; late adults; older persons</p>2024-09-25T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 Thai Pharmaceutical and Health Science Journal - วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพhttps://ejournals.swu.ac.th/index.php/pharm/article/view/15594ปัจจัยทำนายความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะท้าย Factors Predicting Spiritual Well-being among Terminally Ill Patients with Breast Cancer2023-08-31T12:16:22+00:00Sonthikarn Rachthoseenoopu2560@gmail.comChanudda Nabkasornchanudda@buu.ac.thPornpat Hengudomsubchanudda@buu.ac.th<p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะท้าย ได้แก่ การรับรู้ความรุนแรงของโรค ความหวัง การมองโลกในแง่ดี และแรงสนับสนุนทางสังคม <strong>วิธีการศึกษา:</strong> การทดสอบความสัมพันธ์เชิงทำนายมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะท้าย ที่แผนกผู้ป่วยนอกรังสีรักษาและแผนกผู้ป่วยนอกเคมีบำบัด โรงพยาบาลมะเร็ง-ชลบุรี คัดเลือกตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย 94 คน รวบรวามข้อมูลส่วนบุคคล และใช้แบบประเมินการรับรู้ความรุนแรงของโรค ความหวัง การมองโลกในแง่ดี แรงสนับสนุนทางสังคม และความผาสุกทางจิตวิญญาณ รวบรวามข้อมูลในเดือนมกราคมถึงเมษายน พ.ศ. 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน <strong>ผลการศึกษา:</strong> ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะท้ายมีความผาสุกทางจิตวิญญาณอยู่ในระดับปานกลาง (mean = 81.37 ± 13.57 คะแนน) ปัจจัยที่สามารถทำนายความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะท้ายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ การรับรู้ความรุนแรงของโรค (β = -0.655) ความหวัง (β = 0.387) และแรงสนับสนุนทางสังคม (β = 0.249) (P-value < 0.001 ทั้งหมด) โดยสามารถร่วมกันทำนายความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะท้ายได้ร้อยละ 55.1 (R<sup>2</sup>= 0.551, F<sub>3,93</sub> = 36.745, P-value < 0.001) การมองโลกในแง่ดีไม่สามารถทำนายความผาสุกทางจิตวิญญาณ <strong>สรุป:</strong> พยาบาลและบุคลากรทางสุขภาพสามารถใช้ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบเพื่อเสริมสร้างความผาสุกทางจิตวิญญาณให้กับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะท้าย โดยการเสริมสร้าง ความหวัง การสนับสนุนทางสังคม และการให้ข้อมูลที่เหมาะสมเกี่ยวกับความรุนแรงของโรคนี้</p> <p><strong>คำสำคัญ: </strong>ความผาสุกทางจิตวิญญาณ; การรับรู้ความรุนแรงของโรค; ความหวัง;การมองโลกในแง่ดี; การสนับสนุนทางสังคม</p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p><strong>Objective: </strong>To determine factors influencing spiritual well-being including perceived severity of the disease, hope, optimism, and social support. <strong>Method:</strong> This predictive correlation research was conducted in terminally ill patients with breast cancer who received treatment at the radiotherapy outpatient department and the chemotherapy outpatient department, Chonburi Cancer Hospital. 94 participants were recruited by simple random sampling. Six 6 questionnaires were used to assess demographic characteristics, perceived severity of the disease, hope, optimism, social support, and spiritual well- being, from January to April 2022. Stepwise multiple regression was used to test the associations. <strong>Results:</strong> Spiritual well-being was at a moderate level (mean = 81.37 ± 13.57 points). Severity of the disease (β = -0.655), hope (β = 0.387) and social support (β = 0.249,) jointly predicted spiritual well–being (P-value < 0.001 for all) with 55.1% of the variance of spiritual well-being explained (R<sup>2 </sup>= 0.551, F<sub>3</sub>,<sub>93</sub> = 36.745, P-value < 0.001). Optimism did not influence spiritual well-being. <strong>Conclusion:</strong> Nurses and health professional could apply the results as a baseline information to develop intervention to enhance spiritual well-being of terminally ill patients with breast cancer through promoting hope, and social support through information regarding severity of the disease.</p> <p><strong>Keywords:</strong> spiritual well-being; perceived severity of the disease; hope; optimism; social support</p>2024-09-25T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 Thai Pharmaceutical and Health Science Journal - วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพhttps://ejournals.swu.ac.th/index.php/pharm/article/view/16003Factors Associated with Depression among Elderly Migrants in Wenzhou, China: A Cross-sectional Study2024-04-29T02:11:54+00:00chunjue baochunjuebao1688@163.comChintana Wacharasinchintana@buu.ac.thKhemaradee Masingboonkhemaradee@buu.ac.th<p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาระดับภาวะซึมเศร้าและตรวจสอบปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้อพยพที่เป็นผู้สูงอายุในเมืองเหวินโจว <strong>วิธีการ</strong><strong>:</strong> การศึกษาภาคตัดขวางดำเนินการในเมืองเวิ่นโจว มณฑลเจ้อเจียง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่เป็นผู้อพยพจำนวน 160 คน คัดเลือกจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ได้แก่ แบบบันทึกลักษณะประชากร และแบบประเมินความซึมเศร้าผู้สูงอายุ การดูแลตนเอง ความสัมพันธ์ของครอบครัว และการสนับสนุนทางสังคมพหุมิติ ทดสอบค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณ <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> คะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าคือ 2.96 ± 2.72 คะแนนซึ่งอยู่ในระดับปกติ ปัจจัยความสัมพันธ์ในครอบครัว (r = -0.461) การดูแลตัวเอง (r = -0. 381) และการสนับสนุนทางสังคม (r = - 0.289) สัมพันธ์ทางลบกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.001 ทั้งหมด) แต่พบว่ามีเพียงความสัมพันธ์ในครอบครัวที่สามารถทำนายภาวะซึมเศร้าได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = -0.343, P-value < 0.001) และอธิบายความแปรปรวนของคะแนนซึมเศร้าได้ร้อยละ 23.0 <strong>สรุป:</strong> ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่เป็นผู้อพยพอยู่ในระดับปกติ งานวิจัยในอนาคตควรมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มความสัมพันธ์ในครอบครัวเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าในประชากรนี้</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>:</strong> ผู้สูงอายุที่เป็นผู้อพยพ; ภาวะซึมเศร้า; การสนับสนุนทางสังคม; การดูแลตัวเอง; ความสัมพันธ์ในครอบครัว</p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p><strong>Objectives: </strong>To determine depression level and examine the factors predicting depression among elderly migrants in Wenzhou. <strong>Methods: </strong>A cross-section study was conducted in Wenzhou, Zhejiang province, China. A total of 160 elderly migrants were selected by cluster random sampling technique. Data were collected using demographic questionnaire, the Geriatric Depression Scale, the Appraisal of Self-care Agency Scale, the Brief Family Relationship Scale, and the Multidimensional Scale of Perceived Social Support. Pearson correlation analysis and multiple linear regression were used to analyze the associations. <strong>Results: </strong>The average score of depression was 2.96 ± 2.72 points indicating a normal level. Family relationships (r = -0.461), self-care (r = -0.381) and social support (r = -0.289) had a negative correlation with depression with statistical significance (P-value < 0.001 for all). Only family relationships significantly predicted depression (β = -0.343, P-value < 0.001) and could explain 23.0% of the variance in depression scores. <strong>Conclusions: </strong>Depression among elderly migrants in Wenzhou, China was normal. Future research should focus on enhancing family relationships to prevent depression in the elderly migrants.</p> <p><strong>Keywords:</strong> elderly migrants; depression; social support; self-care; family relationship</p>2024-09-29T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 Thai Pharmaceutical and Health Science Journal - วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพhttps://ejournals.swu.ac.th/index.php/pharm/article/view/15943การพัฒนารูปแบบการดูแลประคับประคองแบบมีส่วนร่วม The Development of A Participatory Palliative Care Model2024-01-31T09:29:37+00:00Yupa Sarunyusetnipa966@gmail.comNipa Sangkittipaiboonnipa966@yahoo.comPanta Apiruknapanondnipa966@yahoo.comSirikanda Kokaewnipa966@yahoo.com<p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อพัฒนาและทดสอบรูปแบบการดูแลประคับประคองแบบมีส่วนร่วมต่อสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล <strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>:</strong> การศึกษามี 3 ระยะ ระยะที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์ บริบทของชุมชน และประเมินความต้องการพัฒนา ระยะที่ 2 กำหนดเป้าหมาย แก้ปัญหา การตัดสินใจ การเปลี่ยนแปลง การยอมรับ ความผูกพัน และความรับผิดชอบ โดยใช้แนวคิดการมีส่วนร่วม ร่วมกับพัฒนาสมรรถนะพยาบาลตาม Co2HoPE Model และสร้างแนวทางการดูแลผู้ป่วยประคับประคองในชุมชน ระยะที่ 3 ดำเนินการเยี่ยมบ้านและประเมินผลการดำเนินงาน คัดเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงเป็นพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขต อ.เมือง จ.ลพบุรี 17 แห่ง 24 คน และผู้ป่วยโรคมะเร็งแบบประคับประคองในชุมชน อ.เมืองลพบุรี 10 คน ทดสอบพยาบาลด้วยแบบประเมินสมรรถนะการดูแลแบบประคับประคองก่อนและหลังการเยี่ยมบ้าน และประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการดูแลแบบประคับประคอง เปรียบเทียบคะแนนสมรรถนะก่อนและหลังการดูแลผู้ป่วย <strong>ผลการศึกษา</strong><strong>:</strong> รูปแบบประกอบด้วย ระบบการส่งต่อแบบไร้รอยต่อ การพัฒนาสมรรถนะพยาบาลแบบประคองในชุมชน การดูแลแบบมีส่วนร่วม การแบ่งปันอุปกรณ์ และระบบเครือข่ายการดูแล คะแนนสมรรถนะของพยาบาลเพิ่มจาก 127.29 เป็น 176.88 คะแนน ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05) พบความพึงพอใจของผู้ป่วยและผู้ดูแลระดับมากที่สุด <strong>สรุป</strong><strong>:</strong> การดูแลประคับประคองแบบมีส่วนร่วมที่พัฒนาขึ้นทำให้สมรรถนะของพยาบาลสูงขึ้นและผู้ป่วยและผู้ดูแลมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด </p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> พัฒนารูปแบบ; การดูแลแบบประคับประคอง; การมีส่วนร่วม; คนไข้มะเร็ง; สมรรถนะ; พยาบาล </p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p><strong>Objective: </strong>To develop and test the participatory palliative care model for nurses in sub-district health promoting hospitals. <strong>Method:</strong> Of the 3 study phases, phase 1 consisted of situational analysis, community context and needs for development. Phase 2 consisted of goal setting, problem solving, decision making, changes, acceptance, bond and responsibility using participation concept with the nurse competency development Co2HoPE Model. The guideline was and model was developed. In phase 3, the home care was carried out and evaluated. Twenty-four nurses from sub-district health promoting hospitals and 10 patients/care givers in Muang district, Lopburi province, Thailand were purposively selected. Nurses were tested for competency in palliative care before and after delivering home care. Patients/care givers were asked for satisfaction toward palliative care. Scores of nurse’s competency were compared. <strong>Results:</strong> The participatory palliative care consisted of 5 components namely seamless referral system, development of nurse’s competency in community palliative care, participatory care, device sharing, and care network. Score of nurse’s competences after the care (176.88 points) was significantly higher than that before the care (127.29 points) (P-value < 0.05). Satisfaction was at the highest level. <strong>Conclusion:</strong> The developed participatory palliative care for cancer patients improved nurse’s competency and satisfied the patients/care givers. </p> <p><strong>Keywords:</strong> model development; palliative care; participatory care, cancer patients, competency; nurse </p>2024-09-30T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 Thai Pharmaceutical and Health Science Journal - วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพhttps://ejournals.swu.ac.th/index.php/pharm/article/view/15697Factors Influencing Blood Glucose Control Behavior Among Pregnant Women with Class A1 Gestational Diabetes Mellitus in Wenzhou, China2023-10-27T03:43:43+00:00Leixi Wang836502058@qq.comJinjutha Chaisena Dallasjinjutha@buu.ac.thChintana Wacharasinchintana@buu.ac.th<p><span style="text-decoration: line-through;"> </span></p> <p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อประเมินระดับและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานชนิด A1 ในเมืองเหวินโจว ประเทศจีน <strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>:</strong> การศึกษาภาคตัดขวางรวบรวมข้อมูลกับหญิงตั้งครรภ์ 131 คนที่เป็นเบาหวานชนิด A1 ด้วยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายจากผู้ป่วยที่รักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเมืองเหวินโจว ประเทศจีน ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงธันวาคม พ.ศ 2565 ทดสอบปัจจัยอายุ การรับรู้ความอ่อนแอ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล การรับรู้ความอ่อนแอ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม ทดสอบความสัมพันธ์ด้วยการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณแบบมาตรฐาน <strong>ผลการศึกษา</strong><strong>:</strong> พฤติกรรมควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดมีคะแนนรวมระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 60.68 ± 13.47 คะแนน) อายุ การรับรู้ความอ่อนแอ การรับรู้อุปสรรค และการรับรู้ความสามารถของตนเองอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (adj. R<sup>2</sup> = 0.45, F<sub>5,25</sub> = 22.29, P-value < 0.001) ตัวทำนายที่ดีที่สุดคือ การรับรู้ความสามารถของตนเอง (β = 0.47, P-value < 0.001) ตามด้วยอายุ การรับรู้อุปสรรค และการรับรู้ความอ่อนแอ (β = 0. 22, -0.15 และ 0.14 ตามลำดับ, P-value < 0.05) ส่วนการสนับสนุนทางสังคมไม่สามารถทำนายพฤติกรรม <strong>สรุป:</strong> อายุ การรับรู้ความอ่อนแอ การรับรู้อุปสรรค และการรับรู้ความสามารถของตนเองมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานชนิด A1</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> พฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด; อายุ; การรับรู้ความอ่อนแอ; การรับรู้อุปสรรค; การรับรู้ความสามารถของตนเอง </p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p><strong>Objective: </strong>To determine level of and influence of factors on blood glucose control behavior of pregnant women with class A1 gestational diabetes mellitus (GDM) in Wenzhou, China. <strong>Method:</strong> A cross-sectional study was conducted with 131 pregnant women with class A1 GDM through simple random sampling. Data were collected from the patients visiting the outpatient department of a hospital in Wenzhou, China from June to December 2022. Data of influencing factors including age, perceived susceptibility, perceived barriers, self-efficacy, and social support were collected using questionnaires. Standard multiple linear regression was used to test the association. <strong>Results:</strong> Score of blood glucose control behavior was at a moderate level (mean = 60.68 ± 13.47 points). Age, perceived susceptibility, perceived barrier, self-efficacy and social support explained 45% of the behavior variance (adj. R<sup>2</sup> = 0.450, F<sub>5,125</sub> = 22.299, P-value < 0.001). The best predictor was self-efficacy (β = 0.47, P-value < 0.001), followed by age, perceived barrier and perceived susceptibility (β = 0. 22, -0.15 and 0.14, respectively, P-value < 0.05 for all) whereas social support was not a is not a significant predictor. <strong>Conclu</strong><strong>sion:</strong> Age, perceived susceptibility, perceived barrier, and self-efficacy significantly influence on blood glucose control behavior in pregnant women with class A1 GDM.</p> <p><strong>Keywords</strong>: blood g1lucose control behavior; age; perceived susceptibility; perceived barrier; self-efficacy; social support</p>2024-09-17T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 Thai Pharmaceutical and Health Science Journal - วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพhttps://ejournals.swu.ac.th/index.php/pharm/article/view/15668ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของมารดาในการส่งเสริมทักษะการคิดเชิงบริหาร ของเด็กวัยก่อนเรียน Factors Related to Maternal Behaviors in Promoting Executive Functions of Preschool Children 2023-10-23T04:37:36+00:00arpasuwan Klaysubanmilk.arpasuwan@gmail.comNatchanan Chivanonnatchananc@gmail.comNarumon Teerarungsikulnatchananc@gmail.com<p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาพฤติกรรมของมารดาในการส่งเสริมทักษะการคิดเชิงบริหารเด็กวัยก่อนเรียน และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม <strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>:</strong> การศึกษาความสัมพันธ์มีกลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาเด็กวัยก่อนเรียนที่เข้ารับบริการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3 แห่งในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 101 คน จากการสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูลระหว่างสิงหาคมถึงกันยายน พ.ศ. 2566 โดยใช้แบบสอบถามจำนวน 7 ชุด ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทางประชากรศาสตร์ ความเครียดของมารดา สภาพแวดล้อมที่บ้าน พฤติกรรมการใช้หน้าจอของมารดา ความสัมพันธ์ระหว่างมารดาและบุตร การสนับสนุนของครอบครัว และพฤติกรรมของมารดาในการส่งเสริมทักษะการคิดเชิงบริหารเด็กวัยก่อนเรียน ทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสหสัมพันธ์ของเพียร์สันหรือสเปียร์แมนตามความเหมาะสม <strong>ผลการศึกษา</strong><strong>:</strong> คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมของมารดาในการส่งเสริมทักษะการคิดเชิงบริหารเด็กวัยก่อนเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก (<em>M</em> = 106.15, <em>SD</em> = 12.14) และสัมพัน์ทางลบกับความเครียดของมารดาและพฤติกรรมการใช้หน้าจอของมารดาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>r</em> = -0.21 และ -0.196 ตามลำดับ, P-value < 0.05 ทั้งหมด) และทางบวกกับสภาพแวดล้อมที่บ้าน ความสัมพันธ์ระหว่างมารดาและบุตร และการสนับสนุนของครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>r</em> = 0.521, 0.488 และ 0.543 ตามลำดับ, P-value < 0.01 ทั้งหมด) <strong>สรุป</strong><strong>:</strong> พฤติกรรมของมารดาในการส่งเสริมทักษะการคิดเชิงบริหารเด็กวัยก่อนเรียนสัมพัน์ทางลบกับความเครียดของมารดาและพฤติกรรมการใช้หน้าจอของมารดา และทางบวกกับสภาพแวดล้อมที่บ้าน ความสัมพันธ์ระหว่างมารดาและบุตร และการสนับสนุนของครอบครัว</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>:</strong> พฤติกรรมมารดา, ทักษะการคิดเชิงบริหาร, เด็กวัยก่อนเรียน, ปัจจัยสัมพันธ์</p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p><strong>Objective:</strong> To determine the level of executive functions (EF) promoting behavior of the mothers of preschool children and its related factors. <strong>Methods:</strong> This correlational research had 101 mothers of preschool children receiving services at three municipal child development centers in Chonburi province as the sample recruited by simple random sampling. Data were collected between August and September 2023 using a questionnaire with 7 parts to assess demographic characteristics, maternal stress, home environment, mothers' screen-use behaviors, child-mother relationship, family support, and mother’s EF promoting behavior on preschool children. Data were analyzed using Pearson's correlation test or Spearman’s correlation test, as appropriate. <strong>Results:</strong> The overall mean score of maternal behavior in promoting EFs in preschool children was at a high level (<em>M</em> = 106.15, <em>SD</em> = 12.14). The EF promoting behavior was negatively correlated with maternal stress and screen-use behavior (<em>r</em> = -0.21 and -0.196, respectively, P-value < 0.05, for both) and positively correlated with home environment, mother-child relationship, and family support (<em>r</em> = 0.521, 0.488, and 0.543, respectively, P-value < 0.01, for all). <strong>Conclusion:</strong> The EF promoting behavior was negatively correlated with maternal stress and screen-use behavior and positively correlated with home environment, mother-child relationship, and family support</p> <p><strong>Keywords:</strong> maternal behaviors, executive functions, preschool children, relative factors</p>2024-09-13T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 Thai Pharmaceutical and Health Science Journal - วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพhttps://ejournals.swu.ac.th/index.php/pharm/article/view/16258ดาสิกลูคากอนและภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำขั้นรุนแรง Dasiglucagon and Severe Hypoglycemia 2024-06-25T08:04:31+00:00Surinee Jirakriangkaisurinee.jir@mahidol.eduPiroon Khamleepiroon.kha@mahidol.ac.th<p>H</p> <p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p>ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำขั้นรุนแรงเป็นอาการที่ควรเฝ้าระวังและให้การรักษาอย่างทันท่วงทีเพราะอาจทำให้เสียชีวิตได้ เกิดมากในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่รักษาด้วยยาลดระดับน้ำตาลในเลือดหรืออินซูลิน ผู้ป่วยที่เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำขั้นรุนแรงอาจมีข้อจำกัดในการให้คาร์โบไฮเดรตทางปากหรือการฉีดกลูโคสทางหลอดเลือดดำ ดังนั้นอาจต้องใช้ผลิตภัณฑ์กลูคากอนซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ออกฤทธิ์ต้านอินซูลิน มีประสิทธิภาพเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด ผู้ป่วยสามารถใช้ผลิตภัณฑ์กลูคากอนรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้เองโดยฉีดเข้าใต้ผิวหนัง สมาคมโรคเบาหวานประเทศสหรัฐอเมริกา (American Diabetes Association) แนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานที่เสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำที่รุนแรงระดับ 2 ขึ้นไปให้มีกลูคากอนสำรองไว้ใช้เมื่อเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำทุกราย ข้อมูลการศึกษาทางคลินิกพบว่า dasiglucagon มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำขั้นรุนแรง และมีรูปแบบเภสัชภัณฑ์ที่พร้อมใช้ได้ทันที สามารถเก็บได้ในอุณหภูมิห้อง dasiglucagon อาจเป็นทางเลือกหนึ่งในการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำขั้นรุนแรงในอนาคต</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> ดาสิกลูคากอน; กลูคากอน; ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำขั้นรุนแรง</p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p>Severe hypoglycemia is an alarming sign that needs urgent medical attention since it could be life-threatening. Severe hypoglycemia is found more frequent among diabetic patients treated with oral hypoglycemic drugs and insulin. Some of these patients with severe hypoglycemia may not be treated with oral carbohydrate or intravenous glucose. These patients could use products of glucagon which is an anti-insulin hormone to increase blood glucose level. The patients could self-administer glucagon product by subcutaneous injection. The American Diabetes Association recommends all diabetic patients with a risk of severe hypoglycemia level 2 or higher to carry adequate supply of glucagon products for urgent severe hypoglycemia. Clinical studies suggest efficacy and safety of dasiglucagon in severe hypoglycemia. Dasiglucagon products, with ready-to-use availability and feasible room temperature storage, could be an option in averting severe hypoglycemia.</p> <p><strong>Keywords: </strong>dasiglucagon; glucagon; severe hypoglycemia</p>2024-09-30T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 Thai Pharmaceutical and Health Science Journal - วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพhttps://ejournals.swu.ac.th/index.php/pharm/article/view/16297เภสัชบำบัดและการประยุกต์ใช้ยาสลบชนิดไอระเหยเพื่อการสงบระงับในผู้ป่วยวิกฤต Pharmacotherapy and Application as Inhaled Anesthetics for Critically Ill Patients2024-07-05T04:04:23+00:00Vichapat Tharanonvichapat.t@gmail.comKanokrada Thammasrivichapat.t@gmail.comPawanrat Svetsomboonvichapat.t@gmail.comYuda Sutherasanvichapat.t@gmail.comPongdhep Theerawitvichapat.t@gmail.com<p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p>ผู้ป่วยที่รักษาตัวในหอผู้ป่วยวิกฤต (intensive care unit; ICU) มักประสบกับความปวดและภาวะกายใจไม่สงบ จำเป็นต้องได้รับยาระงับปวดร่วมกับยาสงบระงับชนิดบริหารทางหลอดเลือดดำหลายชนิดเพื่อลดความปวด ลดภาวะกายใจไม่สงบ และลดโอกาสเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากยาโดยอาศัยหลักการ analgosedation ในการดูแลผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยวิกฤตที่มีข้อจำกัดดังกล่าวสามารถคงภาวะสงบระงับอยู่ในช่วงเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย ในทางคลินิกปฏิบัติ ยาสลบชนิดไอระเหยมักถูกเลือกใช้ในผู้ป่วยวิกฤตที่มีปัญหาการทำงานของตับและไตบกพร่อง โดยนำยาสลบชนิดไอระเหยมาใช้ในหอผู้ป่วยวิกฤต ยาสลบชนิดไอระเหยช่วยลดระยะเวลาในการหย่าเครื่องช่วยหายใจในเวลาที่สั้น ลดการใช้ยากลุ่มอนุพันธ์ฝิ่น (analgesic sparing effect) ลดการใช้ยาหย่อนกล้ามเนื้อ ทำให้ระยะเวลาฟื้นตัวรวดเร็วขึ้น รวมถึงลดการเกิดภาวะกายใจไม่สงบในผู้ป่วยวิกฤต เนื่องจากยาสลบชนิดไอระเหยนี้ถูกขจัดออกจากร่างกายผู้ป่วยผ่านทางปอดในช่วงขณะหายใจออก จึงทำให้ยาสลบชนิดไอระเหยนี้ไม่สะสมในร่างกาย ดังนั้นทีมผู้ให้การรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเภสัชกรที่ให้การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยวิกฤต ควรมีความรู้ ความเข้าใจทางเภสัชบำบัด เภสัชจลนศาสตร์ เภสัชพลศาสตร์ในการใช้ยาสลบชนิดไอระเหยเพื่อการสงบระงับในผู้ป่วยวิกฤตได้อย่างเหมาะสม โดยมุ่งหวังให้ผู้ป่วยได้รับยาที่มีประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และสามารถผ่านพ้นภาวะวิกฤตได้</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> เภสัชบำบัด; ยาสลบชนิดไอระเหย; การสงบระงับ; ผู้ป่วยวิกฤต</p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p>Most critically ill patients admitted to the intensive care unit (ICU) experience and suffer pain and agitation; therefore, intravenous analgesics and sedatives are required. According to the analgosedation regimens, incorporating multimodal analgesia and sedatives may optimize pain and agitation management. It may also decrease the use of opioids and sedatives, thereby reducing the risk of associated adverse effects. However, in clinical practice, the use of sedation is limited in some critically ill patients who experience adverse reactions. Thus, inhalational anesthetics are alternatively applied for ICU sedation in critically ill patients to maintain the therapeutic target of sedation for optimal care during the critical period. In clinical practice, inhalational anesthetics are now widely used as sedation in intensive care, especially in critical care patients who have impaired renal and liver function. Inhalational anesthetics are independently exhaled by the lungs and require minimal metabolism. Its advantages include that inhaled sedation reduces the extubation and weaning times of mechanical ventilation, lowers opioids (analgesic sparing effect) and muscle relaxant use, enhances recovery, and minimizes delirium. The multidisciplinary team especially the pharmacists providing pharmaceutical care to critically ill patients should understand the intricate pharmacotherapy, pharmacokinetics, and pharmacodynamics of inhalational anesthetics to optimize and personalize these medications for these patients.</p> <p><strong>Keywords: </strong>inhalational anesthetics; sedation; critically ill patient <strong> </strong></p>2024-09-30T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 Thai Pharmaceutical and Health Science Journal - วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพhttps://ejournals.swu.ac.th/index.php/pharm/article/view/16407Editorial note, table of content and instructions for authors2024-09-30T16:12:28+00:00Charoen Treesakcharoen@g.swu.ac.th<p>In this <strong>third </strong>issue of volume 19, the <strong><em>Journal</em></strong> has been proudly presenting five studies. The disciplines and issues of these research papers were somewhat diverse from applied laboratory work, to clinical practice both for pharmacy and nursing.</p> <p>In this challenging endeavor of the <strong>Thai Pharmaceutical and Health Science Journal</strong>, we are hopeful to better the quality of the articles published. We urge more submissions from international research community, regional and global. We would like to thank in advance for any prospective submissions.</p> <p><strong><em> </em></strong><strong><em> Editor-in-Chief</em></strong></p>2024-09-30T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024