ปริมาณวิเคราะห์สารเควอซีติน และเควอซิตริน ในใบของพืชสกุลชงโค ที่พบในประเทศไทยโดยวิธี RP-HPLC RP-HPLC Preliminary Analysis of Quercetin and Quercitrin Contents in Bauhinia spp. Leaves Distributed in Thailand
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: การศึกษาเบื้องต้นเพื่อหาปริมาณสารเควอซีติน และเควอซิตริน ในใบของพืชสกุลชงโค 20 สายพันธุ์ในประเทศไทย วิธีการศึกษา: เก็บใบเพสลาดของพืชสกุลชงโคทั้ง 20 สายพันธุ์ นำมาทำความสะอาด อบแห้ง และสกัดด้วยเอทานอล (ร้อยละ 95) โดยการสกัดแบบต่อเนื่อง แยกสารโดยวิธีโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง ที่อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส โดยใช้คอลัมน์ Inersil® ODS-3 C18 เป็นเฟสคงที่ และใช้สารละลายของกรดฟอสฟอริก (ร้อยละ 0.5) กับเมทานอล ในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 เป็นเฟสเคลื่อนที่ ตรวจวัดปริมาณเควอซีติน และเควอซิตรินด้วยดีเทคเตอร์ชนิดโฟโต้ไดโอดอาเรย์ที่ 255 นาโนเมตร ผลการศึกษา: ส้มเสี้ยวเถาให้ปริมาณสิ่งสกัดมากที่สุด (36.13 กรัมต่อ 100 กรัมโดยน้ำหนักแห้ง) และเสี้ยวดอกขาวให้น้อยที่สุดใน (16.06 กรัมต่อ 100 กรัมโดยน้ำหนักแห้ง) กาหลง ใบไม้สีทอง กาหลงดอกแดง เถาไฟ ส้มเสี้ยวเถา ส้มเสี้ยว ปอเกี๋ยน ชงโคดำ ชงโค เถากระไดลิง สร้อยสยาม สิรินธรวัลลี เถาขยัน และคิ้วนาง พบทั้งสารเควอซีติน และเควอซิตริน ส้มเสี้ยวพบสารเควอซีติน และเควอซิตรินมากที่สุดเท่ากับ 191.81 and 373.97 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมโดยน้ำหนักแห้ง สารเควอซีตินไม่พบในแสลงพัน ชงโคนา เสี้ยวป่า และโยทะกา ส่วนสารเควอซิตรินไม่พบในแสลงพันเถา และเสี้ยวดอกขาว การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์ได้ถูกทดสอบเพื่อยืนยันความแม่นยำ และถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ สรุป: วิธีโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูงโดยดีเทคเตอร์ชนิดโฟโต้ไดโอดอาเรย์มีประสิทธิภาพดีในการแยกและวิเคราะห์ปริมาณสารเควอซีติน และเควอซิตรินในพืชสกลุชงโคทั้ง 20 สายพันธุ์ คำสำคัญ: สกุลชงโค, เควอซีติน, เควอซิตริน, วิธีโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูงAbstract Objective: To preliminarily quantitate quercetin and quercitrin in mature leaves of Bauhinia species distributed throughout Thailand using RP-HPLC analysis. Methods: Mature leaves of 20 Bauhinia species were collected, cleaned and exhaustively extracted with 95% ethanol using Soxhlet apparatus. The ethanolic extracts were injected to Inertsil® ODS-3 C18 column at 35 ºC. The elution solvent was 0.5% phosphoric acid:methanol (1:1) at the flow rate of 1.0 ml/min. Photo-diode array detector was set at 255 nm. Results: The highest yield was found in B. lakhonensis (36.13 g/100 g dried leaves) and the lowest yield in B. variegata (16.06 g/100 g dried leaves). B. acuminata, B. aureifolia, B. galpinii, B. integrifolia, B. lakhonensis, B. malabarica, B, ornata, B. pottsii, B. purpurea, B. scandens, B. siamensis, B. sirindhorniae, B. strychnifolia and B. winitii were found to have both quercetin and quercitrin. The highest contents of quercetin and quercitrin were found in B. malabarica as 191.81 and 373.97 mg/100 g dried leaves, respectively. Quercetin was not found in B. pulla, B. racemosa, B. saccocalyx, and B. tomentosa. Quercitrin was not found in B. bracteata, and B. variegata. The validity of the analysis was in the acceptable range. Conclusion: RP-HPLC with PDA detector performed a good separation and could quantitate quercetin and quercitrin content in selected 20 Bauhinia species distributed throughout Thailand. Keywords: Bauhinia spp., quercetin, quercitrin, RP-HPLCDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2021-06-29
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์