รูปแบบการบริหารการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6

Main Article Content

ธีรศักดิ์ นรดี
สิทธิพร ประวัติรุ่งเรือง
บุญจักรวาล รอดบำเรอ

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการบริหารการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษา จากผู้บริหาร และครูผู้สอน จำนวน 300 คน และศึกษาแนวทางการบริหารการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษา โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการบริหารการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษา ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ขั้นตอนที่ 3 ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของการนำรูปแบบไปใช้ในการบริหารการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษา โดยผู้บริหาร และครูผู้สอน จำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 มี 2 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ การสร้างวัฒนธรรมองค์กรในการจัดการความรู้ และการสร้างกระบวนการการจัดการความรู้ ในแต่ละองค์ประกอบมีสารสนเทศในการบริหารจัดการ 4 ด้าน คือ 1) การวางแผน 2) การดำเนินงาน 3) การตรวจสอบประเมินผล และ 4) การพัฒนาและปรับปรุง ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปใช้อยู่ในระดับมาก คำสำคัญ: รูปแบบการบริหาร การจัดการความรู้ การพัฒนาบุคลากร  ABSTRACT The objective of this study was to develop an administrative model on knowledge management for personnel development in schools under the Secondary Educational Service Area Office 6. The study consisted 3 stages. The first stage was to study the current status of administration on knowledge management for personnel development in the schools. Data were collected from the perspectives of 300 schools administrators and teachers. And the study of guidelines on knowledge management for personnel development in schools were obtained by interviewing 9 experts. The second stage was to develop an administrative model on knowledge management for personnel development in schools under the Secondary Educational Service Area Office 6 and verified by 5 experts. The third stage was to evaluate the suitability and feasibility of implementing the developed model. Data were collected from the perspectives of 300 schools administrators and teachers. A questionnaire and a semi-structured interview form were used as tools for collecting data. Percentage, mean and standard deviation were used to analyse quantitative data. Content analysis was used to analyse qualitative data. The results of the study revealed that an administrative model on knowledge management for personnel development in schools under the secondary educational service area office 6 consisted of 2 main components: organizational culture creation for knowledge management, and creation of knowledge management process. Each component had 4 managing information aspects; 1) Planning 2) Doing 3) Checking and 4) Acting. The overall suitability and feasibility of implementing an administrative model were found at high level. Keywords: An Administrative Model, Knowledge Management, Personnel Development

Article Details

How to Cite
นรดี ธ., ประวัติรุ่งเรือง ส., & รอดบำเรอ บ. (2019). รูปแบบการบริหารการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 14(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/11822
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

Most read articles by the same author(s)