การจัดการความรู้ด้านสมุนไพร กรณีศึกษา กลุ่มสมุนไพรบ้านดงบัง ตำบลขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี

Main Article Content

ฐาปนี เลขาพันธ์
จุฑารัตน์ ศราวณะวงศ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)  ศึกษาสภาพและปัญหาอุปสรรค 2)  ศึกษากระบวนการและเครื่องมือ 3) ปัจจัยที่สนับสนุนการจัดการความรู้ด้านสมุนไพรของกลุ่มสมุนไพรบ้านดงบัง ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ  เก็บข้อมูลโดยการวิเคราะห์เอกสาร  สัมภาษณ์แบบเจาะลึก  และสังเกตแบบมีส่วนร่วม  ผลการศึกษาพบว่า  กลุ่มสมุนไพรบ้านดงบังมีความรู้เน้นหนักในด้านการเพาะปลูก  การเก็บเกี่ยว และแปรรูปสมุนไพรเกษตรอินทรีย์  มีเป้าหมายเพื่อใช้ความรู้ในการประกอบอาชีพ  การดูแลสุขภาพแบบพึ่งพาตนเอง  การพัฒนากลุ่ม และเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านสมุนไพรที่ครบวงจร  พร้อมทั้งเป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอด  เผยแพร่ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคคลภายในและภายนอกชุมชน  ปัญหาที่พบในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ ภาระงานของสมาชิกมีมาก  สมาชิกในกลุ่มไม่กล้าเสนอความคิดเห็นที่แตกต่าง  ขาดการรวบรวมจัดเก็บความรู้ที่เป็นระบบ   และการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ขาดความต่อเนื่อง  ด้านกระบวนการจัดการความรู้ ประกอบด้วย การวิเคราะห์ความต้องการความรู้  การสร้าง/แสวงหาความรู้ใหม่  การรวบรวมจัดเก็บความรู้  การเผยแพร่/ถ่ายทอดความรู้  และการประยุกต์ใช้ความรู้  โดยมีปัจจัยสนับสนุนได้แก่ ผู้นำกลุ่ม  การมีส่วนร่วม  ความกระตือรือร้น  การเปิดใจ  วัฒนธรรมภายในชุมชน  เครือข่าย  การสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ และการได้รับการยกย่องให้รางวัล The objective of this research were: 1) study the state and problems 2) study process and tools 3) study the supporting  factors related to knowledge management herbs of Herbal group of Ban Dongbang. It was qualitative research and collected data by document analysis, in-depth interview and participative observation. It was found Herbal group of Ban Dongbang had knowledge focusing on the cultivation, harvest and transformation of organic agricultural herb product, goal of using knowledge for career advancement, self-health maintenance, group development and learning source all cycle herbs. Moreover, it is the center of transferring, distributing and exchanging knowledge for internal and external community. The treats and problems of knowledge sharing were work overload; members don't try to share different idea, without Knowledge Management and support from other. For knowledge management process, it was consisted of Identification of need knowledge, knowledge  creation/ acquisition, knowledge embodiment, knowledge distribution/transfer and knowledge utilization  based on  supporting factors  such as group leader, participation, enthusiasm, open-minded, internal community culture, network, supportive and reward. 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
เลขาพันธ์ ฐ., & ศราวณะวงศ์ จ. (2015). การจัดการความรู้ด้านสมุนไพร กรณีศึกษา กลุ่มสมุนไพรบ้านดงบัง ตำบลขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี. บรรณศาสตร์ มศว, 8(1), 12–25. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/5513
Section
Research Articles

Most read articles by the same author(s)