การจัดการความรู้สู่ชุมชนของโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (Knowledge Management for Community in The King’s Royally Initiated Laem Phak Bia Environmental Research and Development Project)
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการความรู้สู่ชุมชนของโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจำนวน 26 คน โดยมีเป้าหมายใช้ความรู้เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาและถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องการกำจัดขยะและบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีธรรมชาติช่วยธรรมชาติตามแนวพระราชดำริ ผลการวิจัยพบว่า โครงการฯมีแนวปฏิบัติที่ดี เป็นมาตรฐานด้านการจัดการความรู้เรื่องการกำจัดขยะและบำบัดน้ำเสีย 5 กระบวนการ ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์ความต้องการความรู้ 2) การสร้าง/แสวงหาความรู้ใหม่ 3) การรวบรวมจัดเก็บความรู้ 4) การเผยแพร่/ถ่ายทอดความรู้ และ5) การประยุกต์ใช้ความรู้ เป็นการนำความรู้เรื่องการกำจัดขยะและบำบัดน้ำเสียมาประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของชาวบ้านในชุมชนและหน่วยงานหรือองค์กรจนประสบความสำเร็จ สามารถจัดการขยะให้มีปริมาณลดลง น้ำเสียกลายเป็นน้ำดี มีผลผลิตทางการเกษตรที่ดีขึ้นและประหยัดค่าใช้จ่าย ซึ่งในแต่ละกระบวนการใช้วิธีที่หลากหลายและใช้สื่อต่างๆ เช่น สื่อบุคคล สื่อมวลชนและสื่อสังคมออนไลน์ในการทำให้ความรู้แพร่กระจายออกไปในวงกว้าง โดยมีปัจจัยที่สนับสนุนการจัดการความรู้ของโครงการฯ คือ 1) ผู้นำ 2) การทำงานเป็นทีม 3) การเรียนรู้ 4) ความกระตือรือร้น 5) การเปิดใจ 6) การไว้วางใจ และ7) การสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก และปัจจัยสนับสนุนการนำความรู้ประยุกต์ใช้จนประสบความสำเร็จ คือ 1) ผู้นำ 2) ความกระตือรือร้น และ3) การได้รับรางวัล ในส่วนของปัญหาอุปสรรคที่พบการจัดการความรู้ ได้แก่ 1) ด้านสารสนเทศ 2) ความต่อเนื่องในการดำเนินงาน 3) ความล่าช้าในการนำองค์ความรู้ไปถ่ายทอด และ4) ปัญหาการนำองค์ความรู้ไปใช้ของชุมชนAbstract This research, employing a qualitative methodology, aims to study knowledge management for communities of LERD Project. Under the said methodology, the data was collected through document analysis and in-depth interview with 26 informants. With a major objective to use knowledge to solve problems and pass on information about waste and waste water management in nature-by-nature way according to His Majesty King Bhumibhol’s royal initiatives. The results showed that the LERD Project had the best practice and standardized knowledge management on waste and waste water under 5 procedures: 1) analyzing knowledge requirement, 2) creating/finding new knowledge, 3) collecting and organizing knowledge, 4) disseminating and passing on knowledge and 5) applying knowledge. All procedures were successfully applied to local communities and organizations as the number of waste decreased and waste water became better. Also, agricultural products improved, and some cost is saved. Each procedure used various techniques and different media, such as person, mass media and on-line platforms, to disseminate knowledge to the public. Factors that support the knowledge management include 1) leaders, 2) teamwork, 3) learning, 4) enthusiasm, 5) open mind, 6) trust and 7) support from outside organizations. In terms of factors that support knowledge application, there are 1) leaders, 2) enthusiasm and 3) awards. Some problems found in knowledge management concern 1) information technology, 2) lack of continuous work, 3) late dissemination of knowledge and 4) problems on applying knowledge by local communities.
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
บุญประคอง ก., & ศราวณะวงศ์ จ. (2019). การจัดการความรู้สู่ชุมชนของโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (Knowledge Management for Community in The King’s Royally Initiated Laem Phak Bia Environmental Research and Development Project). บรรณศาสตร์ มศว, 12(1), 1–16. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/11525
Section
Research Articles