การพัฒนาแบบทดสอบทักษะการรู้สารสนเทศสำหรับนักศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาวารสารศาสตร์์

Main Article Content

ดวงแก้ว เงินพูลทรัพย์
ชุติมา สัจจานันท์
จันทิมา เขียวแก้ว
พิมพ์รำไพ เปรมสมิทธ์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบทดสอบทักษะการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวารสารศาสตร์  ตามมาตรฐานการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวารสารศาสตร์ในประเทศไทยที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น วิธีการพัฒนาแบบทดสอบประกอบด้วยการวิเคราะห์สังเคราะห์วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง  การพัฒนาผังข้อสอบ  การออกข้อสอบตามผังข้อสอบ  การตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบ โดยการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาข้อคำถามเพื่อหาค่าดัชนีความสอดคล้องความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดและประเมินผลทางการศึกษา  ด้านการรู้สารสนเทศ  และด้านวารสารศาสตร์ จำนวน 5 คน รวมทั้งหาค่าความยากง่ายและค่าอำนาจจำแนกของข้อคำถาม  โดยนำแบบทดสอบไปทดสอบกับนักศึกษา จำนวน 60 คน และการหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ โดยนำแบบทดสอบที่แก้ไขแล้วไปทดสอบกับนักศึกษาอีกกลุ่มหนึ่ง จำนวน 30 คน โดยใช้สูตร KR-20 ของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน  ผลการวิจัยพบว่า ข้อคำถามมีค่าความตรงเชิงเนื้อหาโดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.67–1.00 ค่าความยากง่าย  0.27–0.67 ค่าอำนาจจำแนก 0.21-0.89 และแบบทดสอบมีค่าความเชื่อมั่น 0.83  ซึ่งมากกว่าค่ามาตรฐาน  ดังนั้นแบบทดสอบนี้จึงมีคุณภาพสามารถวัดระดับทักษะการรู้สารสนเทศ ตามมาตรฐาน 6 ด้าน ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวารสารศาสตร์The objective of this research was to develop an information literary test for undergraduate students in journalism based on the information literacy standards for undergraduate students in the journalism programs in Thailand that the researcher had developed. In developing the test, the researcher developed the test specification table and then developed the test items.  After that, the researcher verified quality of the developed test with the following steps:  Firstly, the developed test was submitted to five experts including experts on educational measurement and evaluation, experts on information literacy, and experts on journalism for verification of its content validity.  The content validity of the test was determined by the item-objective congruence (IOC) index which was the index of agreement of opinions of the experts concerning the content validity of each test item.  Secondly, the test was tried out with 60 students to determine the difficulty index and discriminating index of each test item.  Lastly, the test items were improved based on the try-out results and then the improved version of the test was tried out again with another group of 30 students in order to determine its reliability.  The KR-20 formula of Kuder and Richardson was used for calculation of the test’s reliability.  Research results showed that its IOC indices for content validity ranged from 0.67 to 1.00; its difficulty indices range from 0.27 to 0.67; its discriminating indices ranged from 0.21 to 0.89; and its reliability coefficient was 0.83.     The developed test had quality.  It could measure the information literacy level in all of the six information literacy standards for undergraduate students in the journalism programs.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
เงินพูลทรัพย์ ด., สัจจานันท์ ช., เขียวแก้ว จ., & เปรมสมิทธ์ พ. (2018). การพัฒนาแบบทดสอบทักษะการรู้สารสนเทศสำหรับนักศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาวารสารศาสตร์์. บรรณศาสตร์ มศว, 11(1), 176–190. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/10145
Section
Research Articles

Most read articles by the same author(s)