การพัฒนาทางวิชาชีพของบรรณารักษ์ สำนักวิทยบริการ และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

Main Article Content

อัมรินทร์ แก้วกองทรัพย์
ชุติมา สัจจานันท์
จันทิมา เขียวแก้ว

Abstract

บทคัดย่อการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สถานภาพทางวิชาชีพของบรรณารักษ์ สภาพการพัฒนาทางวิชาชีพ ปัญหาและอุปสรรค ความต้องการการพัฒนาทางวิชาชีพ และแนวทางการพัฒนาทางวิชาชีพของบรรณารักษ์ สังกัดสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บรรณารักษ์สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏ 40 แห่ง จำนวนทั้งหมด 247 คน และ ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านวิชาชีพบรรณารักษ์จำนวน 10 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามบรรณารักษ์ และแบบสอบถามผู้ทรงคุณวุฒิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า บรรณารักษ์ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุ 31-35 ปีมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาบรรณารักษศาสตร์/สารนิเทศศาสตร์/สารสนเทศศาสตร์ สถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย รับผิดชอบงานวิเคราะห์หมวดหมู่และทำรายการ และมีระยะเวลาทำงาน 1-5 ปี สภาพการพัฒนาวิชาชีพบรรณารักษ์ พบว่า บรรณารักษ์ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความรู้และนำมาใช้พัฒนางาน โดยการใช้สื่อสังคมออนไลน์ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาทางวิชาชีพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ ความต้องการในการพัฒนาวิชาชีพโดยรวมอยู่ในระดับมาก รูปแบบที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดสามอันดับแรก ได้แก่การศกึ ษาดงู าน การฝกึ อบรม และการประชมุ /สมั มนา หวั ขอ้ การใชเ้ ทคโนโลยสี ารสนเทศในงานหอ้ งสมดุ การบรกิ ารและเผยแพร่และการจัดเก็บ/การค้นคืนสารสนเทศ แนวทางการพัฒนาทางวิชาชีพที่เหมาะสมสำหรับบรรณารักษ์ ประกอบด้วย รูปแบบหัวข้อ และสถาบันที่จัดกิจกรรมการพัฒนาทางวิชาชีพบรรณารักษ์ บทบาทของบรรณารักษ์ บทบาทของผู้บริหารห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา และสมาคม/องค์กรวิชาชีพ AbstractThe objectives of this research were to study the professional status and conditions ofthe development of librarians, problem, obstacles, and needs for professional development, andguidelines for professional development of librarians at the Office of Academic Resources andInformation Technology from 40 Rajabhat universities. The population and samples in this studywere 247 librarians and 10 professional experts selected by purposive sampling. The data werecollected by questionnaire and analyzed and presented through frequency, percentage, mean,standard deviation, and content analysis. The results showed that most librarians were femalewith 31 to 35 years old, bachelor’s degree of Library Science or Information Science, and theywere university staff with responsibility of library resources’ classification and cataloguing. Theirperiods of employment were between 1 to 5 years. In condition of the professional development,it was found that most of librarians aimed to use knowledge to develop their work and enhanceknowledge by online learning. In term of the problems and obstacles, they were at the moderatelevel, with the highest mean on foreign language skills. In addition to librarians’ needs for professionaldevelopment, they were at a high level. The pattern got three highest score for example studytrip, training, and meeting/seminar, topics to use information technology at library, serviceand publication, and information storage and digital retrieval. The guidelines for professionaldevelopment included topic, pattern, and service provided by organization, as well as role of librarian, administrator, institution, and professional associations/organizations.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
แก้วกองทรัพย์ อ., สัจจานันท์ ช., & เขียวแก้ว จ. (2017). การพัฒนาทางวิชาชีพของบรรณารักษ์ สำนักวิทยบริการ และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏ. บรรณศาสตร์ มศว, 9(1), 1–13. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/8375
Section
Research Articles

Most read articles by the same author(s)