การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนโดยใช้แผนผังตัวยูในอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี

Main Article Content

อโณทัย ดาทอง
ปุริม จารุจำรัส
สุภาพ ตาเมือง
มะลิวรรณ อมตธงไชย
เสนอ ชัยรัมย์

Abstract

Enhancing Students’ Science Process Skills Using U–Diagram in Chemical Kinetics
 
Anotai Dathong, Purim Jarujamrus, Suparb Tamuang, Maliwan Amatatongchai and Sanoe Chairam
 
รับบทความ: 6 เมษายน 2558; ยอมรับตีพิมพ์: 24 พฤษภาคม 2558
 
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แผนผังตัวยูในเรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี บนพื้นฐานการสืบเสาะหาความรู้แบบชี้แนะแนวทาง กลุ่มที่ศึกษาในการวิจัยนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 12 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จากโรงเรียนแห่งหนึ่งในอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ รูปแบบการวิจัยเป็นแบบกลุ่มตัวอย่างเดียวที่มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ในงานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนตั้งแต่ต้นจนจบด้วยนวัตกรรมของครูซึ่งเป็นปฏิกิริยาระหว่างคาร์บอเนตจากเปลือกกับกรดชนิดต่าง ๆ เครื่องมือวิจัยสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบทดสอบวัดความเข้าใจในทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตอบแบบ 3 ชั้น (ปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก อธิบายเหตุผลประกอบตัวเลือกและระดับความเชื่อมั่นสำหรับตัวเลือก) แผนผังตัวยู (ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์) และแบบสอบถาม (ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียน) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า จากแบบทดสอบวัดความเข้าใจในทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตอบแบบ 3 ชั้น นักเรียนมีความเข้าใจในทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากแผนผังตัวยู นักเรียนส่วนใหญ่มีความเข้าใจในทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับที่น่าพอใจ นอกจากนี้ นักเรียนยังมีความสนุกสนานที่ได้เรียนรู้สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ลงมือทำในห้องปฏิบัติการ งานวิจัยนี้บ่งชี้ให้เห็นว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบชี้แนะแนวทางผนวกการใช้แผนผังตัวยูเป็นกลวิธีการสอนหนึ่งที่สามารถใช้พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนบนพื้นฐานการสืบเสาะ หาความรู้แบบชี้แนะแนวทางในห้องเรียนวิชาเคมีได้
คำสำคัญ: ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  แผนผังตัวยู  การสืบเสาะหาความรู้แบบชี้แนะแนวทาง  อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
 
Abstract
This research aimed to enhance the grade–11 students’ science process skills using a U-diagram in chemical kinetics based on the guided inquiry–based approach. The subjects in this research was 12 grade–11 students, who were studying in the second semester of academic year 2014, from a school in Muang, Surin. The one group pretest–posttest design was employed. In this study, enhancing students’ science process skills through teacher innovation was based on the reaction between carbonate from shells and acids. The three–tier diagnostic test (TTDT) used as a science process skills test (multiple choices, explanation from the chosen choice and the confidence level for choice made), U–diagram (science process skills) and questionnaire (students’ satisfaction to learning in the classroom) were applied as tools for collecting data in this study. The results showed that, from TTDT, students had the science process skills after learning more than before at a statistically significant level of .05. From U–diagram, most students gained the science process skills in a satisfactory level. Furthermore, they also enjoyed in learning what scientists do in the laboratories. This research indicates U–diagram is an instructional method, which can be used to enhance the students’ science process skills based on the guided inquiry–based approach in chemistry classes.
Keywords: Science process skills, U–Diagram, Guided inquiry–based approach, Chemical kinetics

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

กมลนุช ไชยมัชชิม และเสนอ ชัยรัมย์. (2557). การส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง โปรตีน โดยใช้กระบวนการสืบเสาะแบบแนะนำ. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ 5(2): 165–175.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ณัฐสุดา กล้าหาญ. (2555). การพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีโดยใช้การเรียนการสอนแบบสืบเสาะชี้แนะแนวทาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ณัฐสุดา กล้าหาญ และเสนอ ชัยรัมย์. (2555). การพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีโดยใช้การเรียนการสอนแบบสืบเสาะชี้แนะแนวทาง. การประชุม วิชาการ มอบ. วิจัย ครั้งที่ 6 (หน้า 103–112). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ธวัช ยะสุคำ และศักดิ์ศรี สุภาษร. (2555). การพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิพากษ์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง อัตราการเกิด ปฏิกิริยาเคมี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 14(2): 23–34.

พิสมัย พานโฮม. (2551). ผลการใช้วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้เน้นผังรูปตัววีที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

วิชัย ลาธิ. (2555). การพัฒนาทักษะความรู้ขั้นสูงและทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์เรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2557). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O–NET). เข้าถึงได้จาก http//www.niets.or.th, สืบค้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2558.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

อรวรรณ หอมพรมมา. (2553). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาเคมีของนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปี่ที่ 4 เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี โดยการสอนแบบเปรียบเทียบ (Analogy Approach). วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Brotherton, P. N., and Preece, P. F. W. (1995). Science process skills: Their nature and interrelationships. Research in Science and Technological Education 13(1): 5–12.

Burns, J. C., Okey, J. R., and Wise, K. C. (1985). Development of an integrated process skill test: TIPS II. Journal of Re-search in Science Teaching 22(2): 169–177.

Chairam, S. Somsook, E. and Coll, R. K. (2009). Enhancing Thai students’ learning of chemical kinetics. Research in Science and Technological Education 27(1): 95–115.

Harika, O. A., Ceyhan, C., and Christine M. (2012). A three–tier diagnostic test to assess pre-service teachers’ misconceptions about global warming, green house effect, ozone layer depletion, and acid rain. International Journal of Science Education 11(34): 1667–1686.

Justi, R., and Gilbert, J. K. (1999). A cause of a historical science teaching: Use of hybrid models. Science Education 83: 163–77.

Justi R. (2003). Teaching and learning chemical kinetics. In J. K. Gilbert, O. D. Jong, D. F. Treagust and J. H. van Driel (Eds.), Chemical Education: Towards research-based practice (pp. 339–362). Dordrecht, The Netherlands: Kluwer.

Kırık, T. Ö., and Boz, Y. (2012). Cooperative learning instruction for conceptual change in the concepts of chemical kinetics. Chemistry Education Research and Practice 13: 221–236.

Knaggs, C. M., and Schneider, R. M. (2012). Thinking like a scientist: Using Vee-maps to understand process and concepts in science. Research in Science Education 42(4): 609–632.

National Research Council [NRC]. (1996). National science education standards. Washington, DC: National Academy.

National Research Council [NRC]. (2000). Inquiry and the national science education standards: A guide for teaching and learning. Washington, DC: National Academy.

Özgelen, S. (2012). Students’ science process skills within a cognitive domain frame work. Eurasia Journal of Mathematics Science and Technology Education 8(4): 283–292.

White, R., and Gunstone, R. (1992). Probing understanding. London: The Falmer.

Most read articles by the same author(s)