การส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง โปรตีน โดยใช้กระบวนการสืบเสาะแบบแนะนำ
Main Article Content
Abstract
Woranut Chua-on and Sanoe Chairam
รับบทความ: 11 ตุลาคม 2557; ยอมรับตีพิมพ์: 15 พฤศจิกายน 2557
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์หลักของการวิจัยนี้คือส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน เรื่อง โปรตีน โดยใช้แนวการสอนวิธีกระบวนการสืบเสาะแบบแนะนำ กลุ่มที่ศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 28 คน โรงเรียนพังเคนพิทยา อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี นักเรียนทั้งหมดเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 รูปแบบการวิจัยในครั้งนี้ใช้การวิจัยเป็นแบบกลุ่มเดียวที่มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะแบบแนะนำ แบบทดสอบวัด ผลทางการเรียน เรื่อง โปรตีน และแบบทดสอบวัดความเข้าใจระดับจุลภาค ตามลำดับ ผลการวิจัยผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน (p < .05) หลังการเรียนด้วยแนวการสอนวิธีกระบวนการสืบเสาะแบบแนะนำ นักเรียนส่วนมากมีแนวคิดเรื่องโปรตีนถูกต้องเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนเรียน นอกจากนี้ นักเรียนมีความคงทนของความรู้อยู่ในระดับที่น่าพอใจเมื่อเวลาผ่านไป 2 สัปดาห์ของการเรียน จากแบบทดสอบวัดความเข้าใจระดับจุลภาค นักเรียนส่วนมากไม่สามารถวาดภาพโครงสร้างโปรตีนก่อนและหลังแปลงสภาพได้ การวิจัยครั้งนี้บ่งบอกให้รู้ว่า ครูผู้สอนเคมีควรมีการจัดการเรียนรู้เรื่อง โปรตีน โดยเน้นให้นักเรียนมีความเข้าใจระดับจุลภาคมากขึ้น
คำสำคัญ: กระบวนการสืบเสาะแบบแนะนำ การเรียนรู้ของนักเรียน ความคงทนของความรู้ โปรตีน
Abstract
The main purpose of this research was to enhance the students’ learning of protein by using guided inquiry approach. The target group was 28 grade-12 students from Pangken Pittaya School, Na Tan, Ubon Ratchathani. All students studied in the second semester of academic year 2013. The one group pretest–posttest design was employed in this study. The research instruments consisted of lesson plans based on guided inquiry, protein diagnostic tests and microscopic drawing tests, respectively. The data were analyzed by using the average percentage, standard deviation and t-test. The results showed that there was statistically significant mean difference between the pre-test and post-test (p < .05). After learning by guided inquiry approach, the number of students had more correct conceptual understanding of protein compared with before learning. Moreover, students exhibited a satisfactory retention of knowledge after 2 weeks of learning. From microscopic drawing, most of the students could not draw on structure of protein. This research indicates that chemistry teachers should enhance students’ understanding of protein at the microscopic level.
Keywords: Guided inquiry approach, Student learning, Retention of knowledge, Protein
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2556). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET). กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษา
แห่งชาติ.
นิตยา ผลประดง ชาญ อินทร์แต้ม และเสนอ ชัยรัมย์. (2554). การพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่องอัตราการเกิดปฏิ-กิริยาเคมีโดยใช้ชุดการสอนและการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2(2): 66-77.
ปิยธิดา พยัฆฑา และเสนอ ชัยรัมย์. (2556). การใช้กิจกรรมการสืบเสาะแบบชี้แนะแนวทางด้วยการสังเกต–การทำนาย–การอธิบายเพื่อพัฒนาความเข้าใจ เรื่องพันธะเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. การประชุมวิชาการ มอบ. วิจัย ครั้งที่ 7. สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (หน้า 337-345). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
รุ่งนภา จันทร์แรม. (2554). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ชั้น มัธยม-ศึกษาปีที่ 5 บนพื้นฐานของทฤษฎีสืบเสาะหาความรู้ โดยวิธี Model–Observe–Reflect–Explain (MORE). วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหา- บัณฑิต. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
วิภารัตน์ เสนาผล และเสนอ ชัยรัมย์. (2555). การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การเรียนรู้แบบสืบเสาะเรื่องสารประกอบอินทรีย์โดยใช้สารประกอบในชีวิตประจำวัน. การประชุมวิชาการ มอบ วิจัย ครั้งที่ 6. สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. (หน้า 132-144). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์ หลัก-สูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สมภาร เชื้ออ่อน. (2554). การใช้เทคนิคการสืบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่มในการทดลองเพื่อเพิ่มความเข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับไฟฟ้าและแม่เหล็กของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
Abraham, M.R., Williamson, V.M., and Westbrook, S.L. (1994). Across-age study of the understanding of five chemistry concepts. Journal of Research in Science Teaching 31(2): 147-165.
Sever, S., Yurumezoglu, K., and Oguz-Unver, A. (2010). Comparison teaching strategies of videotaped and demonstration experiments in inquiry-based science education. Procedia – Social and Be-havioral Sciences 2(2): 5619-5624.
Varkey, J. T., Anjali, P., and Menon, V. L. (2014). Electrochemical cell and thermodynamics. Nanostructured Ceramic Oxides for Supercapacitor Applications. Boca Raton: CRC Press. pp. 11-31.
Waterman, E. L., and Thompson, S. (1995). Small Scale Chemistry. Menlo Park, CA: Addison-Wesley. pp.4-17.
Whitney, W. R. (1903). Text book of Electrochemistry Journal of the American Chemical Society. 25(1): 104-106.