การส่งเสริมความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง สารชีวโมเลกุล โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
Main Article Content
Abstract
Kamonnoot Chaimutchim and Sanoe Chairam
รับบทความ: 18 กันยายน 2557; ยอมรับตีพิมพ์: 30 พฤศจิกายน 2557
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ส่งเสริมความเข้าใจ และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง สารชีวโมเลกุล โดยใช้กิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ กลุ่มที่ศึกษาในการวิจัยนี้ซึ่งได้จากการสุ่มเลือกแบบจำเพาะเจาะจงเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 16 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบทดสอบวัดความเข้าใจ เรื่อง สารชีวโมเลกุล (แบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก พร้อมอธิบายเหตุผลประกอบตัวเลือก) และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ กิจกรรมการทดลองและบทบาทของครู วิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบข้อมูลด้วยค่าเชิงสถิติ ได้แก่ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คำตอบที่ได้จากนักเรียนจากแบบทดสอบวัดความเข้าใจถูกจำแนกออกโดยใช้เกณฑ์การประเมินผลแบบรูบริค 5 ระดับ ได้แก่ เข้าใจถูกต้อง เข้าใจถูกต้องบางส่วน เข้าใจถูกต้องบางส่วนกับตีความหมายผิด เข้าใจความหมายผิด และไม่เข้าใจ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีความเข้าใจถูกต้องบางส่วนและเข้าใจความหมายผิดเกี่ยวกับสารชีวโมเลกุล ความพึงพอใจของนักเรียนต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ กิจกรรมการทดลองและบทบาทของครูอยู่ในระดับมาก อย่างไรก็ตาม การวิจัยนี้บ่งชี้ให้เห็นว่า การเรียนรู้แบบเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางมากขึ้นนี้มีส่วนช่วยให้นักเรียนมีความสุขกับกิจกรรมและสนใจที่จะเรียนรู้เรื่อง สารชีวโมเลกุล มากขึ้น
คำสำคัญ: สารชีวโมเลกุล ความเข้าใจของนักเรียน สืบเสาะหาความรู้ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
Abstract
This study aimed at enhancing the grade-12 students’ learning achievement, understanding and satisfaction of biomolecules using inquiry-based activities. The purposive sampled participants in this study were 16 grade-12 students, who were studying in the first semester of the academic year 2014. The instruments for collecting data consisted of biomolecules tests (multiple choices and explanation from chosen choice) and questionnaires about learning approach, experimental activities and teacher role. The statistical analysis was compared including min, max, mean and standard deviation. Then, students’ responses obtained from biomolecules tests were classified into 5 levels using scoring rubrics including sound understanding (SU), partial understanding (PU), partial understanding with specific misunderstanding (PS), specific misunderstanding (SM), and no understanding (NU). The findings showed that most students had partial understanding and specific misunderstanding of biomolecules. Students’ satisfaction to learning approach, experimental activities and teacher role was at a high level. However, this research indicated that this more active, student-centered learning seemed to help students enjoy the activities and became interested in learning biomolecules.
Keywords: Biomolecules, Student’s understanding, Inquiry-based approach, Grade-12 students
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ชาตรี ฝ่ายคำตา. (2551). การจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 11(1): 32-45.
ทัศวรรณ ภูผาดแร่ และศักดิ์ศรี สุภาษร (2557). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สารชีวโมเลกุล ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับกิจกรรมทำนาย–สังเกต–อธิบาย. การประชุม วิชาการระดับชาติ “วิทยาศาสตร์วิจัย” ครั้งที่ 6 (หน้า 1–6). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
เบญจพร อินทรสด กานต์ตะรัตน์ วุฒิเสลา และอริสรา อิสสะรีย์. (2554). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนและมโนมติที่คลาดเคลื่อน เรื่อง รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ด้วยการสืบเสาะแบบแนะนำกับการสืบเสาะสำเร็จรูป. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาคเหนือ 3(พิเศษ): 233- 244.
พนิดา กันยะกาญจน์ และศักดิ์ศรี สุภาษร. (2557). การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับแบบเปรียบ-เทียบเพื่อพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
ศรีบุญตาม โจมศรี. (2553). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง พันธะเคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแผนผังมโนมติ. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศักดิ์ศรี สุภาษร. (2554). กระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ในการทดลองเคมีในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย: การทบทวนงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาจากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 22(2): 332-342.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (2556). ประกาศผลทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET).เข้าถึงจาก http://www.onetresul.niets. or.th สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2556.
สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ. (2556). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ 4(1): 55-63.
สุภาพร อินบุญนะ. (2541). มโนมติที่คลาดเคลื่อนในเรื่องกรด-เบส ของนักเรียนชั้นมัธยมปลาย จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
อารีรัตน์ มัฐผา ชาญ อินทร์แต้ม และเสนอ ชัยรัมย์. (2555). การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงสำหรับนักเรียนห้องวิทยาศาสตร์ ด้วยการเรียนรู้แบบโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้าเคมี. การประชุมวิชาการระดับ ชาติ “วิทยาศาสตร์วิจัย” ครั้งที่ 4 (หน้า 164-169). พิษณุโลก: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Bybee, R. W. (2001). Teaching science as inquiry. In: Inquiring into Inquiry Learning and Teaching in Science. Washington, DC: AAAS.
Çalik, M., and Ayas, A. (2005). A comparison of level of understanding of eighth-grade students and science student teachers related to selected chemistry concepts. Journal of Research in Science Teaching 42(6): 638-67.
Llewellyn, D. (2005) Teaching High School Science through Inquiry: A Case Study Approach. California: SAGE.