การศึกษาคุณภาพน้ำด้วยดัชนีชีวภาพกับปัญหาสุขภาพของชุมชนริมคลอง: กรณีศึกษา ชุมชนหมู่ที่ 5 ตำบลองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
Main Article Content
Abstract
Kanchanat Pataragesvit, Donlaya Phonsen, Sarayut Limsuwan, Sirima Mongkolsomlit, Kun Silprasit and Sirikul Thummajitsakul
รับบทความ: 4 เมษายน 2557; ยอมรับตีพิมพ์: 6 พฤษภาคม 2557
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการประเมินคุณภาพน้ำในลำคลองศีรษะกระบือด้วยตัวบ่งชี้ทางชีวภาพและการสำรวจปัญหาสุขภาพของประชาชนในชุมชนหมู่ 5 ตำบลองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ในกลุ่มอาสาสมัคร 84 คน พบผู้ที่เคยแสดงอาการโรคอุจจาระร่วงและโรคผิวหนังที่เกิดจากผื่นแพ้สัมผัสมีความสัมพันธ์กับการใช้น้ำเพื่อการเกษตร เช่น ทำนา ทำสวน และทำไร่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.02 และ 0.039 ตามลำดับ) โดยมีการใช้น้ำเพื่อการเกษตร จำนวน 29 คน (ร้อยละ 34.5) ในจำนวนนี้มีผู้ที่เคยแสดงอาการโรคอุจจาระร่วงร้อยละ 13.8 และมีผู้ที่เคยแสดงอาการโรคผิวหนังที่เกิดจากผื่นแพ้สัมผัสร้อยละ 24.1 นอกจากนี้อาสาสมัครบางคนมีพฤติกรรมการสร้างมลพิษต่อแหล่งน้ำ โดยมีการใช้น้ำเป็นที่ระบายน้ำเสียร้อยละ 53.6 ใช้น้ำเป็นที่ทิ้งของเสียจากการขับถ่ายร้อยละ 29.8 ใช้น้ำเป็นที่ทิ้งเศษขยะมูลฝอยร้อยละ 48.8 เมื่อประเมินคุณภาพน้ำด้วยสัตว์หน้าดินในลำคลองจากจุดเก็บตัวอย่าง 3 สถานี พบสัตว์หน้าดิน 8 อันดับ 12 วงศ์ 259 ตัว สัตว์หน้าดินที่พบมากที่สุดคือ กุ้งน้ำจืด อันดับ Decapoda วงศ์ Palaemonidae โดยค่าดัชนีชีวภาพ (BMWPTHAI และค่า ASPTTHAI) และค่าดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพ (Shannon-Wiener index) ให้เกณฑ์คุณภาพน้ำในระดับค่อนข้างสกปรกและปานกลาง ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลจากการทิ้งของเสียจากการทำการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ และกิจกรรมตามบ้านเรือน จากข้อมูลพื้นฐานที่ได้รับสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพน้ำ เพื่อให้ประชาชนอยู่ร่วมกับแหล่งน้ำนั้นโดยปราศจากโรค
คำสำคัญ: ชุมชน สุขภาพ ดัชนีชีวภาพ ดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพ
Abstract
The studies are the estimation of the water quality in the Sisa Krabue canal by using biological indicators and the survey of health problems in eighty-four subjects in Moo 5 community, Tambol Ongkharak, Amphoe Ongkharak of Nakhonnayok province. It found that the folk who had gotten illness with diarrhea and contact dermatitis significantly associated with the water consumptions for farming (p = 0.02 and 0.039, respectively). From the result, twenty-nine subjects or 34.5% showed the water consumptions for farming. Among these, the folk had gotten illness with diarrhea (13.8%) and contact dermatitis (24.1%). Moreover, the folk showed some behaviors toward water pollutions such as sewage disposal on the canal (53.6 %), and disposal of human waste (29.8 %) and garbage (48.8%). Thus, the water quality of the canal was evaluated by bioindicators from sample sites of three stations. It found a total of 259 benthos from 12 families in 8 orders. The most abundant benthos was freshwater prawns of Palaemonidae family in Decapoda order. The score of (BMWPTHAI and ASPTTHAI) and Shannon-Wiener index showed the water quality in poor and moderate pollution level. Therefore, the basic knowledge may apply to manage the water quality for the folk to live together with the water resource without any diseases.
Keywords: Community, Health, Biotic index, Shannon-Wiener index
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2548). คู่มือการตรวจสอบคุณภาพน้ำด้วยสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน. กรุงเทพฯ: สำนักจัดการคุณภาพน้ำ กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
กรมควบคุมมลพิษ. (2551). รายงานประจำปีสำนักจัดการคุณภาพน้ำ พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: สำนักจัดการคุณภาพน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. สืบค้นจาก http://wqm.pcd.go.th/water/images/stories/planing/reports/water_annual51.pdf เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2556.
กรมควบคุมมลพิษ. (2552). รายงานประจำปีสำนักจัดการคุณภาพน้ำ พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: สำนักจัดการคุณภาพน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. สืบค้นจาก http://wqm.pcd.go.th/water/images/stories/agriculture/journal/aw52.pdf เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2556.
กรมควบคุมมลพิษ. (2553). มาตรฐานคุณภาพน้ำ. สืบค้นจาก http://www.pcd.go.th/info_serv/reg_std_ water05.html#s1 เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2556.
กรมควบคุมมลพิษ. (2554). รายงานการดำเนินงาน สำนักจัดการคุณภาพน้ำประจำปี 2554. กรุงเทพฯ: สำนักจัดการคุณภาพน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. สืบค้นจาก http://www.pcd.go.th เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2556.
กรมควบคุมมลพิษ. (2555). รายงานการดำเนินงาน สำนักจัดการคุณภาพน้ำ ประจำปี 2555. กรุงเทพฯ: สำนัก จัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. สืบค้นจาก http://www.pcd.go.th เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2556.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การ เกษตรแห่งประเทศไทย.
ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์. (2555). “น้ำ” ความมั่นคงแห่งชีวิต. กรุงเทพฯ: มิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น.
นัสรียา หมีนหวัง อำพล พยัคฆา และ พรหมมิ แตงอ่อน. (2555). การประยุกต์ใช้ดัชนีชีวภาพประเมินคุณภาพน้ำในลำห้วยแม่ตาว อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารวิจัย มสด สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 5(2): 113-124.
บุญเสฐียร บุญสูง. (2550). การใช้สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินในการประเมินคุณภาพน้ำทางชีวภาพแบบเร็วในลำธารของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
รุ่งนภา ทากัน. (2549). การใช้สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่ประเภทพื้นท้องน้าเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพน้ำทางชีวภาพของแม่น้าปิง ปี 2547–2548.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
สาธารณสุขจังหวัดนครนายก. (2556). รายงานข้อมูลสาธารณสุขจังหวัดนครนายก. สืบค้นจาก http:// www.noph.go.th/ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2556.
สาธารณสุขจังหวัดนครนายก. (2555). รายงานข้อมูลสาธารณสุขจังหวัดนครนายก. สืบค้นจาก http:// www.noph.go.th เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2556.
สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2553). รายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมภาค 7 ประจำปี พ.ศ. 2553. สืบค้นจาก http://www. envi7.com/datasatakan/satanakan2553.pdf เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2556.
สุเพชร จิรขจรกุล. (2551). เรียนรู้ระบบสารสนเทศด้วยโปรแกรม ArcGIS Desktop 9.2. นนทบุรี: เอส. อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2551). ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. (2555). สรุปผลการจัดเก็บข้อมูลคุณภาพชีวิตของครัวเรือน ปี 2555 ระดับอำเภอ. สืบค้นจาก http://www3.cdd.go.th/ nakhonnayok/files/JPT_ Amper_Ongkharak.pdf เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2556.
Gentry-Shields, J., and Bartram, J. (2012). Chapter 34: Water and health. In: WWAP (ed.). World Water Development Report 4. Paris: UNESCO.
Gentry-Shields, J., Jamie Bartram, J. (2014). Human health and the water environment: Using the DPSEEA framework to identify the driving forces of disease. Science of the Total En-vironment 468–469: 306–314.
Mustow, S.E. (2002). Biological Monitoring of rivers in Thailand: use and adaptation of the BMWP Score. Hydrobiologia 479: 191-229.
Prüss-Üstün, A., Bos, R., Gore, F., and Bartram, J. (2008). Safer Water, Better Gealth: Costs, Benefits and Sustainability of Interventions to Pro-tect and Promote Health. Geneva: World Health Organization.
Soontornprasit, K. ( 2012). Use of Aquatic Insects as Bio-indicators of Water quality in Kwan Phayao, Phayao Province. Journal of Community Development Research 5(1): 15-24.