การพัฒนาการคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์โดยใช้กิจกรรมชุมนุมเยาวชนนักประดิษฐ์คิดค้นของนักเรียนมัธยมศึกษาช่วงชั้นที่ 3

Main Article Content

รมิดา ชาญประโคน

Abstract

The Development of Science Creative Thinking Using Youth Investor Club Activity in the Third Level-Secondary Students
 
Ramida Chanprakon
 
รับบทความ: 12 กุมภาพันธ์ 2553; ยอมรับตีพิมพ์: 11 พฤษภาคม 2553
 
 
 
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ทำการเปรียบเทียบการคิดสร้างสรรค์ผลงานสิ่งประดิษฐ์คิดค้นของนักเรียนก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมชุมนุมเยาวชนนักประดิษฐ์คิดค้น ตามแนวทางการจัดกิจกรรมโครงงานสิ่งประดิษฐ์คิดค้นของสมาคมนักประดิษฐ์แห่งประเทศไทย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนโรงเรียนนวมินทราชินูทิศเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1 – ม.3) ปีการศึกษา 2551 ที่เลือกเรียนโปรแกรมวิทยาศาสตร์จำนวน 330 คน และกลุ่มตัวอย่างจำนวน 52 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ชุมนุมเยาวชนนักประดิษฐ์คิดค้นจำนวน 7 แผน แบบบันทึกผลหลังกิจกรรม แฟ้มสะสมงานกลุ่ม และแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ผลการวิจัยโดยการทดสอบด้วยสถิติ t-test สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน และ ANOVA ของฮอยท์ พบว่า กิจกรรมชุมนุมเยาวชนนักประดิษฐ์คิดค้นมีคะแนนประเมินความเหมาะสม 4.40 แสดงว่า มีความเหมาะสมมาก และคะแนนความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
คำสำคัญ: กิจกรรมชุมนุมเยาวชนนักประดิษฐ์คิดค้น ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนมัธยมศึกษาช่วงชั้นที่ 3
 
Abstract
The purpose of this study aimed to compare the student’s creative thinking inventions before and after joining with youth inventor club activity through the invention activity guidelines based on the Inventors Association of Thailand. Sample used in this research was 52 of 330 students who studied in Science Learning Program in the third secondary level (grade 7 – 9) at Nawaminthrachinuthit Triamudomsuksanomklao School in academic year 2008. The research instruments were seven youth investor learning plans, after activity report, group portfolio, and science creative thinking test. The data were collected and analyzed by using content analysis, descriptive statistics, t-test for dependent samples and Hoyt’s ANOVA. The research finding showed that the youth investor club activity was highly suitable for students with average assessment score of 4.40. After learning with the youth investor club activities, students had significantly higher science creative thinking scores than that before learning using these activities at the significance level of .01.
Keywords: Youth investor club activity, Science creative thinking, Third level-secondary student

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร: วัฒนาพานิช.

โชติ เพชรชื่น. (2522). ความคิดสร้างสรรค์. วารสารวัดผลทางการศึกษา. 1(3) : 95-104.

บุญชม ศรีสะอาด. (2543). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ประพฤติ ศีลพิพัฒน์. (2540). การศึกษาผลของการใช้ชุดกิจกรรมสร้างสิ่งประดิษฐ์ในค่ายวิทยาศาสตร์ที่มีต่อความสามารถในการสร้างสิ่งประดิษฐ์และความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมาคมนักประดิษฐ์แห่งประเทศไทย. (2550). โครงงานสิ่งประดิษฐ์คิดค้น ช่วงชั้นที่ 3. กรุงเทพมหานคร: วังอักษร.

อารี รังสินันท์. (2526). ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาการแนะแนวและจิตวิทยา การศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Blankenship, D. J. (1976). A Study of the Effects of Creativity Training Upon the Self-Concept, Achlevement and Creative Performance of First Grand Pupils, Dissertation Abstracts International, 36(5): 7147-A.

Foster, G. W. (1982). Creativity and the Group Problem Solving. Dissertation. Abstracts International, 40: 3093-A; January.

Torrance, E.P. and Myers, R. E. (1972). Creative Learning and Teaching. New York: Dood, Mead and Company.