การสร้างกับดักลูกน้ำยุงโดยใช้ขวดน้ำพลาสติก
Main Article Content
Abstract
Adichai Supantao, Pongtawan Sangtong, Tapakorn Panarin and Nattawoot Nualtep
รับบทความ: 15 ตุลาคม 2554; ยอมรับตีพิมพ์: 6 พฤศจิกายน 2554
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของสีต่อการดึงดูดลูกน้ำยุงเพื่อใช้เป็นองค์ประกอบสำหรับพัฒนารูปแบบกับดักลูกน้ำยุงให้สามารถจับลูกน้ำยุงได้มากที่สุด โดยใช้ฉากสี 9 สี ได้แก่ สีเหลือง สีเขียว สีชมพู สีฟ้า สีแดง สีน้ำเงิน สีเทา สีดำ และสีขาว ผลการทดลอง พบว่า ลูกน้ำยุงเคลื่อนที่เข้าหาฉากสีดำมากที่สุด รองลงมาคือสีน้ำเงิน จากนั้นออกแบบกับดักลูกน้ำยุงที่สร้างขึ้นจากขวดน้ำพลาสติกเป็น 3 แบบ ได้แก่ แบบที่ 1 ทำจากขวดพลาสติก 1 ขวด มีช่องทางเข้าของลูกน้ำยุง 8 ช่องทางและดักจับลูกน้ำยุงในลักษณะการวางในแนวนอน แบบที่ 2 ทำจากขวดพลาสติก 1 ขวด มีช่องทางเข้าของลูกน้ำยุง 5 ช่องทางและดักจับในแนวตั้ง แบบที่ 3 ทำจากขวดพลาสติก 2 ขวด มีช่องทางเข้าของลูกน้ำยุง 5 ช่องทาง และดักจับในแนวตั้ง นำกับดักลูกน้ำยุงทั้ง 3 แบบไปดักจับลูกน้ำยุงจำนวน 50 ตัว ในภาชนะใสทรงสี่เหลี่ยมที่มีความกว้าง × ความยาว × ความสูง เป็น 25 × 50 × 38 เซนติเมตร บรรจุน้ำปริมาตร 23,750 ลูกบาศก์เซนติเมตร ตั้งไว้ 24 ชั่วโมง พบว่า กับดักลูกน้ำยุงแบบที่ 1 2 และ 3 ดักลูกน้ำยุงได้เฉลี่ยร้อยละ 36.0 28.0 และ 22.0 ตามลำดับ จากนั้นพัฒนากับดักลูกน้ำยุงต่อโดยการทาสีอะครีลิคสีดำบริเวณปากทางเข้าของกับดักลูกน้ำยุงทุกด้าน พบว่า กับดักแบบที่ 2 ดักจับลูกน้ำยุงได้มากที่สุด รองลงมาคือ แบบที่ 1 และ 3 (เฉลี่ยร้อยละ 58 56 และ 30 ตามลำดับ) จากการศึกษาครั้งนี้สรุปว่า กับดักลูกน้ำยุงแบบที่ 2 ที่มีการทาสีอะครีลิคสีดำ ดักจับลูกน้ำยุงได้ดีที่สุด
คำสำคัญ: กับดักลูกน้ำยุง ขวดน้ำพลาสติก ลูกน้ำยุง สีอะครีลิก
Abstract
This research aimed to study the effects on mosquito larvae to various color screens to develop a trap that can harvest the largest amount of mosquito larvae. Nine colors, yellow, green, pink, blue, red, blue, gray, black and white, were used. The results indicated that the black screen had the highest ability to trap the larvae, following the blue screen. Three models of mosquito larva trap using plastic bottles were designed: Model 1 was a water bottle having 8 channels to trap mosquito larvae horizontally; Model 2 was a water bottle having 5 channels to trap mosquito larvae vertically; Model 3 was two water bottles having 5 channels to trap mosquito larvae vertically. The three models of mosquito traps were applied to harvest 50 larvae in 25 × 50 × 38 cm of transparent containers containing 23,750 cm3 of water for 24 hours. The average percent of larva amounts in trap Model 1, 2 and 3 were 36.0, 28.0 and 22.0, respectively. The black acrylic dye was applied to all entrance channels. The results showed that Model 2 had the highest ability to harvest the larvae (average 58%), following Model 1 (average 56%) and Model 3 (average 30%). In conclusion, the trap Model 2 painted with black acrylic dye had the highest ability to harvest mosquito larvae.
Keywords: Mosquito larva trap, Plastic bottle, Mosquito larva, Acrylic dye
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
ดาริวรรณ เศรษฐีธรรม. (2540). สารฆ่าแมลงและสัตว์นำโรคในงานสาธารณสุข.ขอนแก่น: ภาควิชาวิทยาศาสตร์สุขาภิบาล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เด็กน้อยช่างคิด. (2552). จาก http://blog.spu.ac.th/print. php?id=1121 สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2552
ธวัช ดอนสกุล. (2530). การศึกษากำจัดลูกน้ำโดยชีววิธีด้วยหนอนพลานาเรีย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางเขน.
พจนา ถึกแปลก. (2549). การนำนโยบายป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกไปปฏิบัติกรณีศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พิสุทธิพร ฉ่ำใจ. (2552). 29 โรคอันตราย! อันเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน. กรุงเทพฯ : พิมพการ.
มานิตย์ ไชยพะยวน. (2546). การมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อควบคุมลูกน้ำยุงลาย อ.นิคมน้ำอูน จ.สกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
รณชัย แตงหมี วีระศักดิ์ น้อยบัง และช่อทิพย์ ฝอยทอง. (2554). กับดักขวดจับลูกน้ำยุงลาย. โครงงานวิทยาศาสตร์. พิษณุโลก: โรงเรียนวัดโบสถ์ศึกษา.
วิชิต พิพิธกุล วีรยุทธ แดนสีแก้ว และวันชัย มาลีวงศ์.(2541). กีฏวิทยาทางการแพทย์. ขอนแก่น: ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น.
สงคราม ศุลกุล และเพ็ญศรี จิตรนำทรัพย์. (2554). การลดความชุกชุมของยุงลายโดยใช้กับดักไข่ยุงลายและกับดับลูกน้ำยุง. จาก http://dhf.ddc.moph. go.th/thaidengue/egg.htm สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2554
สีวิกา แสงธาราทิพย์. (2540). การกำจัดลูกน้ำยุงลายทางเลือกระหว่างสารเคมีกับแบคทีเรีย. วารสารมาลาเรีย 32(2): 76–80.
อาสาสมัครดีเด่น. (2552). กำจัดลูกน้ำยุงลาย. จาก http:// www.ch7.com/news/news_thailand_detail.aspx?c=2&p=6&d=33195 สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2552