การถ่ายเทความร้อนของอิฐบล็อคประสานชนิดไม่รับน้ำหนักที่มีส่วนผสมของเถ้าไม้ยางพารา

Main Article Content

โพซี วาจิ
ซูฮายา หะยีหามะ
อาบีดีน ดะแซสาเมาะ

Abstract

Heat Transfer of Non-Load-Bearing Interlocking Block with Mixture of Para Rubber Wood Fly Ash
 
Posee Vaji, Suhaya Hayeehama and Abedeen Dasaesamoh
 
รับบทความ: 12 มีนาคม 2556; ยอมรับตีพิมพ์: 17 พฤษภาคม 2556
 
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติทางกายภาพและสมบัติทางกลของอิฐบล็อกประสานชนิดไม่รับน้ำหนักที่มีส่วนผสมของเถ้าไม้ยางพาราโดยมีสัดส่วนของเถ้าไม้ยางพารา : ดินลูกรัง : ปูนซีเมนต์ เท่ากับ 3:3:1 ผลการศึกษาพบว่า อิฐบล็อกประสานชนิดไม่รับน้ำหนักสามารถขึ้นรูปได้ มีลักษณะของสีเป็นสีดำต่างจากอิฐบล็อกประสานชนิดไม่รับน้ำหนักในปัจจุบันที่มีเป็นสีเทาการเกิดปฏิกิริยาเคมีของเถ้าไม้ยางพารา ปูนซีเมนต์ และน้ำทำให้เกิดสมบัติในการเชื่อมประสานเพิ่มขึ้นทำให้อิฐมีความแข็งแรงมากขึ้น มีความหนาแน่นของอิฐเท่ากับ 1,914  kg/m3  มีค่าอัตราการดูดน้ำเท่ากับ 342 kg/m3 และความต้านแรงอัดอยู่ในชั้นคุณภาพชนิดไม่รับน้ำหนักมีค่าความต้านแรงอัดเฉลี่ยจากพื้นที่รวมเท่ากับ 31.7 kg/cm2 และมีค่าความต้านแรงอัดต่ำสุดมีค่าเท่ากับ 29.4 kg/cm2  เมื่อศึกษาสมบัติการถ่ายโอนความร้อน พบว่า อิฐบล็อกประสานชนิดไม่รับน้ำหนักที่มีส่วนผสมของเถ้าไม้ยางพารามีผลต่อการลดอุณหภูมิของอิฐบล็อกประสานอธิบายได้ว่า การเติมเถ้าไม้ยางพาราทำให้อิฐบล็อกประสานมีลักษณะโครงสร้างเป็นฟองอากาศที่มีรูพรุน ทำให้มีคุณสมบัติต้านทานความร้อนได้สูงและนำความร้อนได้ต่ำ
คำสำคัญ: อิฐไม่รับน้ำหนัก เถ้าไม้ยางพารา การถ่ายโอนความร้อน
 
AbstractThis research aimed to investigate the physical and mechanical properties of the non-load-bearing interlocking block containing Para rubber wood ash. The proportion ratio of ash wood: gravel: cement was 3:3:1. The finding showed that ratio of mixture can be formable. The non-load-bearing interlocking blocks containing the wood ash were black and differed from the existing blocks that were gray. The reaction of wood ash, cement and water assisted better soldering characteristics to be stronger blocks. The density and water absorption of the blocks were equal to 1,914 kg/m3 and 342 kg/m3, respectively. The compressive strength has been in the non-loading quality. The average compressive strength and the minimum compressive strength to total area of the block were 31.7 kg/cm2 and 29.4 kg/cm2, respectively. From the study of heat transfer, the non-load-bearing interlocking block containing Para rubber wood ash affected the temperature reduction of the block. It revealed that the Para rubber wood ash assisted the non-load-bearing interlocking blocks having air-porous structure to give high heat resistance and low thermal conductivity.
Keywords: Non-load-bearing interlocking block, Para rubber wood ash, Heat transfer

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2555). แนวทางและเกณฑ์คุณสมบัติของเสียเพื่อแปรรูปเป็นแท่งเชื้อเพลิงและอิฐบล็อกประสาน. กรุงเทพฯ: สำนักบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม.

ฝ่ายนวัตกรรมวัสดุ. (2556). เทคโนโลยีบล็อกประสาน วว. เพื่อการสร้างอาคารราคาประหยัด สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. สืบค้นจาก http://technologyblockprasan.com/information1_1.php เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2556.

โยธิน อึ่งกูล จงจตร์ หิรัญลาภ ปัญญา ยอดโอวาท และ โจเซฟ เคดารี. (2548, พฤษภาคม). คุณสมบัติของความร้อนเฉื่อยของคอนกรีตมวลเบา. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 10 (หน้า 144-149). ชลบุรี.

สุรฉัตร สัมพันธารักษ์. (2548). วิศวกรรมปฐพี. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย.

อาบีดีน ดะแซสาเมาะ จินดา มะมิง โนรีสะ ราแดง และยาเซ็ง อาแว. (2554). สมบัติทางกายภาพและสมบัติทางกลของอิฐที่มีส่วนผสมของเถ้าไม้ยางพารา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา 6(1): 25-35.

อาบีดีน ดะแซสาเมาะ สารีนี อาแว อามีเนาะ มามะ และดารีซะห์ บินมามะ. (2555). สมรรถนะทางความร้อนของอิฐที่มีส่วนผสมของเถ้าไม้ยางพารา. วารสารวิจัย มทร. 5(1): 72-80.

Chirarattananon, S., Chaiwiwatworakul, P., and Patta-nasethanon, S. (2002). Daylight availability and models for global and diffuse horizontal illum-inance and irradiance for Bangkok. Renewable Energy 26: 69-89.