สมบัติของอิฐบล็อกประสานจากเถ้าไม้ยางพาราผสมดินขาวนราธิวาส
Main Article Content
Abstract
Abedeen Dasaesamoh, Hapuesoh Maha and Haleemoh Chebueraheng
รับบทความ: 22 กรกฎาคม 2557; ยอมรับตีพิมพ์: 3 พฤศจิกายน 2557
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้นำเถ้าไม้ยางพาราซึ่งเป็นสิ่งเหลือใช้ และดินขาวเป็นส่วนผสมในการทำอิฐบล็อกประสาน โดยมีส่วนผสมในการทำอิฐบล็อก ได้แก่ ปูนซีเมนต์ ดินขาว เถ้าไม้ยางพารา และทราย ออกแบบส่วนผสมโดยแทนที่เถ้าไม้ยางพาราด้วยดินขาว จากนั้นทดสอบสมบัติทางกายภาพและสมบัติทางกลของอิฐบล็อกประสานที่อายุการบ่ม 28 วัน พบว่า ความหนาแน่นมีค่าลดลงในขณะที่การดูดซึมน้ำมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อการแทนที่เถ้าไม้ยางพาราด้วยดินขาวเพิ่มขึ้น สำหรับความต้านทานแรงอัดมีค่าลดลงเมื่อปริมาณการแทนที่เถ้าไม้ยางพาราเพิ่มขึ้น และเมื่อพิจารณาตามมาตรฐานมอก.57-2533 และมอก.58-2530 พบว่า อิฐบล็อกประสานที่มีอัตราส่วนของดินขาว เถ้าไม้ยางพาราและทรายที่อัตราส่วน 3:1:2 โดยน้ำหนักผ่านมาตรฐานบล็อกประสานชั้นคุณภาพไม่รับน้ำหนัก
คำสำคัญ: สมบัติอิฐบล็อกประสาน เถ้าไม้ยางพารา ดินขาว
Abstract
This research used para rubber wood fly ash, a waste material, and kaolin in the interlocking block. The ingredients of interlocking block were cement, kaolin, para rubber wood, and sand. The para rubber wood was designed to replace the kaolin in the mixture. The interlocking block was tested physical and mechanical properties at curing time of 28 days. The results showed that the density is decreased, while water absorption increased when the para rubber wood fly ash added. The compressive strength is decreased when replacing of para rubber wood fly ash increased. As the TISI 57-2533 and TISI 58-2530 standards, the mixture ratio of kaolin, para rubber wood fly ash and sand of 3: 1: 2 by weight was passed the interlocking block standard in classes of non-loading interlocking.
Keywords: Properties of interlocking block, Para Rubber Wood Fly Ash, Kaolin
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
มาตรฐานผลิตภัณฑ์สำนักงาน. (2533). มาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม มอก.57-2533 คอนกรีตบล็อกรับน้ำหนัก. กรุงเทพฯ: สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม.
มาตรฐานผลิตภัณฑ์สำนักงาน. (2533). มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.58-2533 คอนกรีตบล็อกไม่รับน้ำหนัก. กรุงเทพฯ: สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม.
วุฒินัย กกกำแหง และพิชิต เจนบรรจง. (ม.ป.ป). เอกสารประกอบการอบรมการผลิตบล็อกประสาน วว. การผลิตบล็อกประสานให้ได้คุณภาพ. กรุงเทพฯ: ฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชนบท สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.).
วิไลลักษณ์ เรืองเศรษฐกิจ. (2554). งานวิจัยเรื่องการวิเคราะห์หาส่วนประกอบทางเคมีของดินขาว. กรุงเทพฯ: กองวิเคราะห์กรมทรัพยากรธรณี.
รูฮัยซา ดือราแม. (2554). การศึกษาคุณลักษณะของดิน ขาวและดินดำในภาคใต้ของประเทศไทย เพื่อใช้ผลิตสีขาวตามมาตรฐาน ASTM. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
สุวัฒนา นิคม และดนุพล ตันนโยภาส. (2552). อิทธิพลของสารเติมดินขาวแปรที่มีต่อสมบัติของคอนกรีตยิปซัมเทียม. การประชุมวิชาการทางวิศวกรรม- ศาสตร์. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
อาบีดีน ดะแซสาเมาะ จินดา มะมิง โนรีสะ ราแดง และ ยาเซ็ง อาแว. (2554). สมบัติทางกายภาพและสมบัติทางกลของอิฐที่มีส่วนผสมของเถ้าไม้ยางพารา.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 6(1): 25-35.
อัศนีย์ ฉายากุล. (2551). คุณภาพดินเพื่ออุตสาหกรรมเซรามิก. กรุงเทพฯ : กองวิเคราะห์และตรวจสอบทรัพยากรธรณี กรมทรัพยากรธรณี.
Nasly, M. A., and Yassin, A. A. M. (2009). Sustainable housing using an innovative interlocking block building system. Meniti Pembangunan Lestari dalam Kejuruteraan Awam (pp.130-138). Ma-laysia: Universiti Sains.