Performance of Retailers in Evaluating the Quality of Thai Traditional Non-Prescription Drug Products

Authors

  • Napassorn Sriputhon
  • Charoen Treesak

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาว่าความสามารถของผู้ค้าปลีกในการระบุลักษณะทางกายภาพ ฉลาก และบรรจุภัณฑ์ที่บกพร่องของยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงสำรวจในกลุ่มตัวอย่างผู้ค้าปลีก 73 ร้าน ที่ตั้งอยู่ในตัวอำเภอของจังหวัดนครนายก และจังหวัดปราจีนบุรีที่สุ่มตามสะดวก เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามและผลิตภัณฑ์ยาที่เสื่อมสภาพทางกายภาพ (23 ข้อ) ฉลากที่บกพร่อง (9 ข้อ) และบรรจุภัณฑ์ที่บกพร่อง (4 ข้อ) โดยผู้วิจัยอ่านแบบสอบถามผู้ร่วมวิจัยระบุการเสื่อมสภาพหรือการบกพร่องดังกล่าว แล้วให้คะแนนข้อละ           1 คะแนน วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลด้วยค่าความถี่พร้อมร้อยละ และค่าเฉลี่ยพร้อมส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความต่างของคะแนนตามปัจจัยคัดสรรด้วย ผลการศึกษา: ผู้ค้าปลีกมีคะแนนความสามารถในการระบุลักษณะการเสื่อมสภาพทางกายภาพของยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณเป็น 15.60 ± 5.32 คะแนน (ตอบได้ถูกต้องคิดเป็น 67.83% ของ 23 คะแนน) และคะแนนนี้ไม่แตกต่างกันตามปัจจัยคัดสรร คือ วุฒิการศึกษา ระยะเวลาที่เปิดกิจการจนถึงปัจจุบัน ประเภทของผู้ค้าปลีก และการเคยหรือไม่เคยเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ คะแนนความสามารถในการระบุความบกพร่องของฉลากยาเป็น 4.96 ± 2.33 คะแนน (55.11% ของ 9 คะแนน) โดยผู้ที่มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีมีคะแนนสูงสุด (6.20 คะแนน) และม.6 หรือต่ำกว่ารวมถึงปวช. มีคะแนนต่ำสุด (3.67 คะแนน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.048) คะแนนความสามารถในการระบุลักษณะบรรจุภัณฑ์ที่บกพร่องเป็น 3.16 ± 0.97 คะแนน (79% ของ 4 คะแนน) สรุป: ผู้ค้าปลีกมีความสามารถในการประเมินคุณภาพของผลิตภัณฑ์ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณไม่สูงนัก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถใช้โอกาสนี้ในการให้ความรู้และฝึกหัดผู้ค้าปลีกโดยใช้สื่อที่มีประสิทธิภาพต่อไป คำสำคัญ: ประเมินคุณภาพ, ผลิตภัณฑ์ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ, ความสามารถ, ผู้ค้าปลีก Abstract Objective: To determine retailers’ performance in assessing the product problems regarding physical properties, labels and packaging. Methods: In this survey study, 73 retail stores in the provinces of Nakhonnayk and Prajinburi were recruited by means of convenience sampling and the data were collected using a questionnaire and samples of defective products (23 questions), incomplete labels (9 questions) and damaged packages (4 questions). The researcher read each question with the corresponding sample for the retailer to identify the problem. A score of one was given for each correct answer. The results were presented as frequency with percentage, and mean with standard deviation. Differences in scores by select factors were also tested. Results: The mean performance score for identifying the physically defective products was 15.60 ± 5.32, or 67.83% of a total of 23. The score did not differ by educational level, business operation period, type of retailer, or experience in academic training on these products. The mean performance score on identifying incomplete labels was 4.96 ± 2.33, or 55.11% of a total of nine. The mean score in those with postgraduate degrees (6.20 points) was higher than those with a high school diploma or an associate degree (3.67) with a statistical significance (P = 0.048). The mean performance score of identifying damaged packages was 3.16 ± 0.97, or 79.00% of a total of four. Conclusion: The retailer performance in identifying problems with Thai traditional non-prescription drug products was not at a high level. Various involving parties had the opportunity to educate these retailers. Keywords: quality evaluation, Thai traditional non-prescription drug    products, performance, retailers

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads