Phenytoin Serum Concentrations and Related Determinants of Pharmacotherapeutic Efficacy in Traumatic Brain Injury
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เฟนิโตอินเป็นยากันชักที่มีประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงของการเกิดอาการชักหลังสมองบาดเจ็บในระยะแรก การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับยาของเฟนิโตอินและปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับยาเฟนิโตอินในการควบคุมอาการชักของผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บที่สมอง วิธีการศึกษา: รวบรวมข้อมูลผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บของสมองที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ประเทศไทยในช่วงเดือนพฤษภาคม 2555 – มกราคม 2556 จำนวน 122 คน วัดระดับยาเฟนิโตอินในช่วงวันที่ 3-7 ของการได้รับยาเฟนิโตอิน โดยผู้ป่วยได้รับยาเฟนิโตอิน 2 รูปแบบคือ 100 มก. ทุก 8 ชั่วโมง หรือ 300 มก. ทุก 24 ชั่วโมง โดยอาจได้รับยาขนาดเพิ่มหรือไม่ได้รับ เภสัชกรบันทึกข้อมูลของผู้ป่วยได้แก่ อายุ เพศ น้ำหนัก ส่วนสูง ประวัติความเจ็บป่วย ประวัติการใช้ยา การวินิจฉัย แบบแผนการใช้ยา ประวัติทางสังคม (การสูบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์) การตรวจทางห้องปฏิบัติการ (ระดับแอลบูมินในเลือด ระดับครีเอตินีนในเลือด AST, ALT, BUN) ในแบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างระดับยาในเลือดกับปัจจัยที่อาจมีผลต่อระดับยาในเลือดด้วยสถิติไค-สแควร์ ผลการศึกษา: ในผู้ป่วย 122 ราย มี 64 รายที่ระดับยาเฟนิโตอินรวมต่ำกว่าระดับการรักษา (ร้อยละ 52.5) และ 52 รายอยู่ในช่วงการรักษา (ร้อยละ 42.9) และ 6 รายมีระดับเป็นพิษ (ร้อยละ 4.9) ทั้งนี้ ผู้ป่วย 11 ราย (ร้อยละ 9.0) ไม่สามารถควบคุมอาการอาการชักในช่วง 7 วันแรกของการรักษาได้ ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยที่มีระดับยาต่ำกว่าระดับการรักษา และในระดับรักษาอย่างละ 5 ราย (ร้อยละ 45.5) และมีผู้ป่วย 1 ราย (ร้อยละ 9.1) ที่มีระดับเป็นพิษ ภาวะไข้มีความสัมพันธ์กับระดับยาในเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.001) ส่วนระดับแอลบูมินในเลือดและความรุนแรงของการบาดเจ็บที่สมองไม่พบความสัมพันธ์ (P > 0.05) สรุป: ผู้ป่วยมากกว่าร้อยละ 50 ที่ได้รับยาเฟนิโตอินในการป้องกันอาการชักมีระดับยาในเลือดต่ำกว่าระดับการรักษา การปรับขนาดยาเพื่อให้ได้ระดับยาในเลือดอย่างเหมาะสมจะมีประสิทธิภาพในการควบคุมอาการชัก และไข้สัมพันธ์กับระดับยาเฟนิโตอินในเลือด คำสำคัญ: เฟนิโตอิน การบาดเจ็บที่สมอง อาการชักหลังบาดเจ็บที่สมอง Abstract Objectives: Phenytoin is an effective drug used for decreasing the risk of early post-traumatic seizures in patients with traumatic brain injury. This study investigated phenytoin serum concentrations and select factors related to seizure control in patients with traumatic brain injury. Methods: Data of 122 patients with traumatic brain injury were collected from Sumprasithiprasong Hospital, Thailand between May 2012 and January 2013. Phenytoin serum concentrations were collected on day 3 - 7 after starting phenytoin. Two regimens of phenytoin were employed; 100 mg q 8 hr or 300 mg q 24 hr with or without a loading dose. The data of patients such as age, gender, weight, height, illness history, medical history, diagnosis, dosage regimen, social history (smoking and alcohol drinking), blood chemistry laboratory (serum albumin, serum creatinine, AST, ALT, BUN) were recorded by a research pharmacist in the data collection form. Chi-square test was used to test the association between phenytoin concentration levels and select factors. Results: Of the 122 patients, total phenytoin concentrations were in sub-therapeutic range in 64 patients (52.5%), therapeutic range for 52 patients (42.6%) and toxic range in six patients (4.9%). Eleven patients (9.0%) failed to achieve control of seizures during the first 7 days. Of these 11 patients, 5 of them (45.5%) had phenytoin concentrations in sub-therapeutic level, while another 5 (45.5%) were in therapeutic range, and one patient (9.1%) was in toxic level. Fever was correlated with phenytoin concentration (P = 0.001); while hypoalbuminemia and severity of brain injury were not (P > 0.05). Conclusion: More than half of the patients receiving phenytoin prophylactically had phenytoin sub-therapeutic level. Phenytoin dosage should be adjusted appropriately to effectively control seizures. Fever was associated with phenytoin level. Keywords: phenytoin, traumatic brain injury, posttraumatic seizureDownloads
Download data is not yet available.
Published
2022-07-26
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์