The Outcomes of Pharmaceutical Care for Burmese at a Drugstore in Thongphapum District, Kanchanaburi Province
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาบทบาทและผลลัพธ์การให้บริบาลทางเภสัชกรรมโดยเภสัชกรแก่ชาวพม่าในร้านยา อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงพรรณนา โดยสัมภาษณ์ชาวพม่าที่มาใช้บริการในร้านขายยาจำนวน 360 คน ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน ถึง 30 สิงหาคม 2558 โดยประเมินปัญหาเกี่ยวกับยาเมื่อให้บริการครั้งแรกและเมื่อติดตามผล 1 สัปดาห์หลังให้บริการ ประมวลผลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์ ใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา: พบบทบาทของเภสัชกร 4 ด้านหลัก คือ การจ่ายยาหรือผลิตภัณฑ์รักษาตามอาการมากที่สุด (ร้อยละ 70.27) ตามด้วยการให้บริการผลิตภัณฑ์/ ยาตามที่ลูกค้าระบุและให้คำแนะนำเพิ่มเติม (ร้อยละ 27.22) การคัดกรองโรคเรื้อรัง (ร้อยละ 1.11) และการส่งต่อให้แพทย์ (ร้อยละ 0.83) ปัญหาเกี่ยวกับยาที่พบมากที่สุด คือ ความไม่ร่วมมือในการใช้ยา (ร้อยละ 9.72) ณ วันที่มารับบริการครั้งแรก และร้อยละ 7.22 ในวันที่ติดตามผล รองลงมาคือ ได้รับยาที่ไม่จำเป็น (ร้อยละ 9.44 และ 3.34 ในวันแรกและวันที่ติดตามผล) โดยปัญหาที่พบ เช่น ใช้ยาคุมกำเนิดผิดวิธี ใช้น้ำเกลือทางหลอดเลือดเมื่ออ่อนเพลีย ใช้ยาชุด และใช้ยาปฏิชีวนะไม่สมเหตุผล การบริบาลที่ใช้แก้ปัญหา คือ การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ยา พร้อมทั้งฉลากช่วยภาษาพม่าที่พัฒนาขึ้น สามารถติดตามผลได้ร้อยละ 70.27 โดยส่วนมากใช้โทรศัพท์ (ร้อยละ 45.83) ตามด้วยการกลับมารับบริการที่ร้าน (ร้อยละ 24.44) พบว่าส่วนมากหายเป็นปกติและไม่พบปัญหาการใช้ยา (ร้อยละ 29.72) ตามด้วยอาการดีขึ้นแต่ยังต้องกินยาต่อเนื่อง (ร้อยละ 16.38) ในผู้ที่ติดตามผลได้มีความพึงพอใจในการรับบริการทุกราย สรุป: การจ่ายยา การให้คำปรึกษา และแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา เป็นบทบาทสำคัญในการให้บริบาลเภสัชกรรมสำหรับชาวพม่าในร้านยา สามารถใช้ฉลากช่วยภาษาพม่า และติดตามทางโทรศัพท์มาช่วยการให้บริบาลทางเภสัชกรรมในร้านยาได้ คำสำคัญ: บริบาลทางเภสัชกรรม, ชาวพม่า, ร้านยา, เภสัชกรรมชุมชน Abstract Objective: To identify roles of pharmacist in and outcomes of pharmaceutical cares for Burmese (Myanmar) at a drugstore in Thongphapum district, Kanchanaburi province. Method: In this descriptive study, data were collected by interviewing 360 Myanmar immigrants at a drugstore during 1st June – 30th August, 2015. Drug-related problems (DRPs) were assessed at the first service and 1-week follow-up. Frequency with percentage and mean with standard deviation were used to analyze data. Result: Four types of pharmaceutical care roles were found; dispensing (70.27 %), followed by providing products/drugs requested by customers with additional advice (27.22%), screening for chronic disease (1.11%) and referring to physician (0.83%). The most frequently found DRPs were non-compliance, 9.72% at the first service and 7.22% at the one-week follow-up. Unnecessary drug use was found 9.44% and 3.34%, respectively. Specific problems included incorrect oral contraceptive use, intravenous infusion for fatigue, and irrational antibiotic use. To solve such problems, the pharmacist provided drug use counseling with Burmese language labels. Of the 360 participants, 70.27% were successfully followed up mostly by telephone (45.83 %), followed by the drugstore re-visit (24.44%). The majority of participants had their health problems solved without DRPs (29.72 %), followed by partial improvement in health problem with continued treatment needed (16.38%). All of those successfully followed-up were satisfied with the service. Conclusion: Dispensing, counseling and drug-related problem management were major roles of pharmaceutical care provided to Myanmar immigrants at the drug store. Burmese labeling and telephone follow-up were applicable in providing pharmaceutical care in the drugstore. Keywords: pharmaceutical care, Burmese, Myanmar, drugstore, immigrants, community pharmacyDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์