The Effects of Program Enhancing Skills in Caring for Schizophrenic Patients on Caregivers’ Stress and Perceived Burden

Authors

  • สุจิน มินสวัสดิ์
  • ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์
  • ชนัดดา แนบเกสร
  • ดวงใจ วัฒนสินธุ์
  • Sujin Minsawat
  • Pornpat Hengudomsub
  • Chanudda Nabkasorn
  • Duangjai Vata

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาทักษะในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทต่อความเครียดและการรับรู้ภาระในผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท วิธีการศึกษา: การวิจัยกึ่งทดลองมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทรับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลปากพลี จังหวัดนครนายก จำนวน 24 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 12 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการพัฒนาทักษะในการดูแลผู้ป่วยจิตเภท จำนวน 8 ครั้ง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ๆ ละ 2 ครั้ง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เก็บข้อมูลในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และติดตามผล 2 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบประเมินความเครียดสวนปรุง และแบบวัดการรับรู้ภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท ได้ค่าความเที่ยงของเครื่องมือเท่ากับ 0.82 และ 0.80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติที สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ และเปรียบเทียบซ้ำเป็นรายคู่ด้วยวิธีนิวแมน-คูลส์ ผลการศึกษา: พบว่าคะแนนเฉลี่ยความเครียดและการรับรู้ภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท ในระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้น และระยะติดตามผลของกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) โดยกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความเครียดและการรับรู้ภาระการดูแลหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที และระยะติดตามผล ต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) สรุป: โปรแกรมการพัฒนาทักษะในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทช่วยลดความเครียดและการรับรู้ภาระการดูแลผู้ป่วยจิตเภทของผู้ดูแลได้ พยาบาลและบุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถเรียนรู้และประยุกต์ใช้โปรแกรมนี้ในการพัฒนาทักษะการดูแลผู้ป่วยให้กับผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทซึ่งจะช่วยในพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งของผู้ดูแลและผู้ป่วยโรคจิตเภท คำสำคัญ: โปรแกรม, ความเครียด, การรับรู้ภาระ, ผู้ดูแล, ผู้ป่วยจิตเภท Abstract Objective: To determine the effects of a program enhancing skills in caring for schizophrenic patients on caregivers’ stress and perceived burden. Method: This quasi-experimental study had a sample of 24 caregivers schizophrenia patients receiving service at the Outpatient Department of Pakplee Hospital, Nakhonnayok province. They were randomly assigned into either the experimental or control groups (n = 12 each). The program aimed at enhancing skills in caring for schizophrenic patients was provided for the experimental group in a total of 8 sessions, 2 sessions per week. The sample in the control group received only routine care service. Data were collected from both groups at before and after the experiment, and at 2-week follow-up using Suanprung Stress Test-20 and a perceived burden questionnaire. These two scales yielded Cronbach's alpha coefficients of 0.82 and 0.80. Descriptive statistics, independent t-test, two-way repeated measure ANOVA, and Newman-Keuls method for multiple comparisons were employed to analyze the data. Results: Mean scores of stress and perceived burden at post-test and 2-week follow-up in the experimental group were significantly lower than those in the control group (P < 0.05). In the experimental group, the stress and perceived burden mean scores at post-test and 2-week follow-up were significantly lower than that at pre-test (P < 0.05). Conclusion: The program could reduce stress and burden as perceived by the caregivers of patients with schizophrenia. Nurses and relevant health personnel could learn and apply this program to enhance caregivers’ caring skills for schizophrenic patients. This would help enhance quality of life of both the patients and caregivers. Keywords: schizophrenic patients, stress, perceived burden, caregivers, program

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads