Relationships between Protective Factors and Mental Health of Adolescents in Mongar, Bhutan

Authors

  • เพมา วังชุก
  • ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์
  • นุจรี ไชยมงคล
  • Pema Wangchuk
  • Pornpat Hengudomsub
  • Nujjaree Chaimongkol

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยปกป้อง (ได้แก่ การสนับสนุนทางสังคม การแก้ปัญหาทางสังคม พลังสุขภาพจิต ความยึดเหนี่ยวทางศาสนา) กับภาวะสุขภาพจิตของวัยรุ่นในประเทศภูฏาน การศึกษา: กลุ่มตัวอย่างคือวัยรุ่นจำนวน 131 คน ที่ศึกษาในเกรด 9 - 12 ของโรงเรียนมัธยมศึกษา เมืองมอนการ์ ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศภูฏาน เก็บข้อมูลในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2559 โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ข้อมูลส่วนบุคคล ภาวะสุขภาพจิต การสนับสนุนทางสังคม การแก้ปัญหาทางสังคม พลังสุขภาพจิตและความยึดเหนี่ยวทางศาสนา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติบรรยายและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษา: วัยรุ่นที่เป็นกลุ่มตัวอย่างนี้มีค่าเฉลี่ยภาวะสุขภาพจิตเท่ากับ 52.68 (SD = 10.55) จากช่วงคะแนน 0 ถึง 100 โดยค่าคะแนนสูงหมายถึงมีภาวะสุขภาพจิตดี ภาวะสุขภาพจิตมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการสนับสนุนทางสังคม (r = 0.27, P < 0.001), การแก้ปัญหาทางสังคม (r = 0.25, P < 0.01), และพลังสุขภาพจิต (r = 0.22, P < 0.01). ภาวะสุขภาพจิตมีความสัมพันธ์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติกับความยึดเหนี่ยวทางศาสนา (P > 0.05) สรุป: ผลการวิจัยก่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพจิตในประเทศภูฎาน การพัฒนาสุขภาพจิตของวัยรุ่น ควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคม การแก้ปัญหาทางสังคม และพลังสุขภาพจิต คำสำคัญ: วัยรุ่น, ภาวะสุขภาพจิต, ปัจจัยปกป้อง, การสนับสนุนทางสังคม, การแก้ปัญหาทางสังคม, ความยึดเหนี่ยวทางศาสนา, พลังสุขภาพจิต   Abstract Objective: To examine the relationships between protective factors (i.e., social support, social problem-solving, resilience, and religiosity) and mental health of middle and late adolescents in Bhutan. Method: A sample of 131 students studying in grade 9 – 12 at Yadi  Higher Secondary School, Mongar District in Eastern Bhutan participated in this study. Data collection was performed during the month of March, 2016 using multi-stage random sampling for recruitment. Structured questionnaires for data collection included a demographic questionnaire, mental health inventory, multi-dimensional scale of perceived social support, social problem-solving inventory for adolescents, resilience scale, and centrality of religiosity scale. Descriptive statistics and Pearson’s product moment correlation coefficient were used to describe the demographic data and examine the relationships. Results: Mental health of adolescents had a total mean score of 52.68 (SD = 10.55) on a range of 0 – 100 with higher scores indicating better mental health. Mental health was positively associated with social support (r = 0.27, P < 0.001), social problem-solving (r = 0.25, P < 0.01), and resilience (r = 0.22, P < 0.01) respectively. No significant correlation between religiosity and mental health was found (P > 0.05). Conclusion: The findings of this study shed additional light on the roles of protective factors in adolescents’ mental health. In promoting mental health of adolescents, enhancement of social support, social problem-solving, and resilience should be emphasized. Keywords: adolescents, mental health, protective factor(s), social support, social problem-solving, resilience, religiosity

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads