แบบจำลองการอธิบายเรื่องโรคความดนั โลหิตสูงและการใช้ยาลดความดนั โลหิตของผู้ป่ วยโรงพยาบาลหางดง จงั หวดั เชียงใหม่ Explanatory Model of Hypertension and Antihypertensives Use Among Patients at Hangdong Hospital, Chiang Mai Province
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาแบบจำลองอธิบายความเจ็บป่วยในความหมายของ ผู้ป่วยต่อโรคความดันโลหิตสูงและการใช้ยาลดความดันโลหิตและยาอื่น ๆ และ ศึกษาพฤติกรรมและความร่วมมือในการใช้ยาลดความดันโลหิตสูง รวมถึงศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างแบบจำลองดังกล่าวที่มีผลต่อลักษณะพฤติกรรมและความ ร่วมมือในการใช้ยา วิธีการศึกษา: สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ป่วย 19 คน ที่รับบริการที่ รพ.หางดง จ.เชียงใหม่ โดยผู้วิจัยสังเกตสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ของผู้ป่วย ด้วย ระหว่างกุมภาพันธ์ถึงมิถุนายน 2555 ผลการศึกษา: ในอดีตผู้ป่วยเรียกโรค ความดันโลหิตสูงว่าโรคเส้นเลือดในสมองแตก ตามอาการของภาวะแทรกซ้อน รุนแรงที่เกิดขึ้น อาการแสดงของโรคความดันโลหิตสูงที่ผู้ป่วยอธิบายคือ อาการ ปวดศีรษะ ปวดตึงท้ายทอย เวียนศีรษะ และเดินเซ ในขณะที่บางรายบอกว่าไม่มี อาการใดเลย ผู้ป่วยรับรู้ความรุนแรงของโรคต่างกันตามประสบการณ์การเกิด อาการและภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเองรวมถึงคนในครอบครัวที่เคยเกิด ภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น เส้นเลือดในสมองแตก ซึ่งคนเหล่านี้ให้ความสำคัญกับ ความร่วมมือรับประทานยาและการดูแลตนเองตามคำแนะนำมากกว่าผู้ที่ไม่เคย เกิดภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการรับประทานยาที่แพทย์ สัง่ รวมทัง้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคุมปจั จัยเสี่ยง และแสวงหาการรักษาด้วยวิธี อื่นร่วมด้วย เช่น การใช้สมุนไพรพื้นบ้านหรือสมุนไพรสำเร็จรูป รวมทั้งที่ผสมใน รูปเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ บางรายใช้น้ำหมักตามที่รับรู้จากคำบอกเล่าของคนรู้จัก และความเชื่อของตนคู่ไปกับการรักษาด้วยยา สิ่งที่ส่งผลต่อความร่วมมือในการใช้ ยา คือ อาการที่ไม่แสดงออกของความดันโลหิตสูงซึ่งทำให้ผู้ป่วยเชื่อว่าตนเองหาย จากโรคแล้ว หรือการตรวจวัดความดันโลหิตได้ค่าปกติทั้งที่ไม่ได้รับประทานยา อย่างต่อเนื่อง หรือการใช้สมุนไพรสลับไปมากับการใช้ยาแผนปัจจุบันเนื่องจาก เชื่อว่าสามารถใช้ทดแทนกันได้ สรุป: ผู้ป่วยมีความเชื่อและประสบการณ์ด้านโรค ความดันโลหิตสูงมาจากตนเอง บุคคลใกล้ชิดและผู้ป่วยอื่น โดยรับรู้ถึงความ รุนแรงที่เกิด และแสวงหาการรักษาแบบอื่นตามที่ได้รับรู้มา คำสำคัญ: แบบจำลองการอธิบายเรื่องโรค, การใช้ยา, ความดันโลหิตสูง Abstract Objective: To determine 1) an explanatory model of hypertension, and use of antihypertensive and other drugs in patients’ perspective, 2) patients’ behavior on and adherence in antihypertensive use, and 3) relationship between explanatory model and antihypertensive use that affected the patient's behavior and adherence. Methods: This qualitative study used indepth interviews. With purposive sampling technique, 19 hypertensive patients from Hangdong hospital were selected. The interview was taken at the patient’s house during February to June 2012. Results: In the past, people called hypertension as an intra-cerebral hemorrhage according to its serious complication. Hypertension symptoms were recognized as headache, dizziness, and ataxia; while some patients recognized no symptoms. Patients’ perceptions on hypertension severity were related to their own experience of symptoms or serious complications or that of their family members or friends. For example, patients experiencing intracerebral hemorrhage were more likely to have better medical adherence than those who did not. Most patients adhered to doctors’ medication recommendations. They tried to modify their lifestyles to control risk factors and seek various complementary methods such as herbs, nutritional supplement drinks and bio-fermented juice. Factors related to medical noncompliance included non-observable symptoms of hypertension and the experience of having normal blood pressure while switching from prescribed drugs to herbal products. They believed that the two products can be used interchangeably. Conclusion: Patients’ learned about hypertension and treatments from experience of their own or of close acquaintances. Their perceptions on disease severity were related to their treatment seeking behaviors. Keywords: explanatory model, medication use, hypertensionDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2013-04-01
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์