กลไกและทฤษฎีความคงตัวทางกายภาพของยาแขวนตะกอนขนาดนาโนเมตร Mechanistic and Theory of Nanosuspension Physical Stability
Abstract
บทคัดย่อยาแขวนตะกอนขนาดนาโนเมตรเป็นระบบนำส่งยาที่มักได้รับการศึกษาและพัฒนาเพื่อประยุกต์ใช้สำหรับยาที่ละลายน้ำได้น้อย เนื่องจากขนาดอนุภาคที่เล็กและมีพลังงานอิสระที่พื้นผิวสูงทำให้ยาแขวนตะกอนขนาดนาโนเมตรมีความไม่คงตัวทางกายภาพ ได้แก่ การตกตะกอน การเกาะกลุ่มกันของอนุภาค การเติบโตของอนุภาค และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผลึก ซึ่งสามารถอธิบายได้ด้วยกฎของสโตกส์ ทฤษฎี DLVO และ Ostwald ripening ซึ่งจากความรู้ต่าง ๆ ดังกล่าวนั้น ทำให้สามารถกำหนดแนวทางในการตัง้ ตำรับและเตรียมยาแขวนตะกอนขนาดนาโนเมตรให้มีความคงตัวทางกายภาพที่ดี โดยการลดขนาดอนุภาคให้มีขนาดเล็กและมีการกระจายขนาดที่ต่ำ การปรับความหนาแน่นของอนุภาคให้ใกล้เคียงกับของตัวกลาง การเติมสารลดแรงตึงผิวหรือสารเพิ่มความหนืดคำสำคัญ: ยาแขวนตะกอนขนาดนาโนเมตร, ความคงตัวทางกายภาพ, การตกตะกอน, การเกาะกลุ่มกันของอนุภาค, การเติบโตของอนุภาค,การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผลึกAbstractNanosuspension was usually investigated and developed to apply as thedelivery system of sparingly water soluble drug. With its very small particlesize and high surface free energy, nanosuspension has physical instabilitysuch as sedimentation, agglomeration, crystal growth and change ofcrystalline stage that could be expanded with Stoke’s law, DLVO theoryand Ostwald ripening. All techniques were used as developing approach toformulate and prepare the high stable nanosuspensions by minimizing theparticle size and size distribution, adjusting the density of particle similar tothat of medium, and addition of the stabilizer and viscosity inducing agent.Keywords: nanosuspension, physical stability, sedimentation,agglomeration, crystal growth, change of crystalline stateDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Issue
Section
Review Article - นิพนธ์ปริทัศน์
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์