ประสิทธิผลของการสอนสุขศึกษาโดยเยาวชนต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคกระดูกพรุนจากการขาดแคลเซียมในวัยทอง Effectiveness of Health Education by Youths on Osteoporosis Prevention Behaviors Relating to Calcium Deficiency in Menopausal Persons

Authors

  • จารุวรรณ ไผ่ตระกูล
  • กานดา ชัยภิญโญ
  • มณีรัตน์ จับจิตต์
  • Jaruwan Phaitrakoon
  • Kanda Chaipinyo
  • Maneerat Jubjitt

Abstract

บทคัดย่อวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการสอนสุขศึกษาโดยเยาวชน ด้านความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการป้องกันภาวะกระดูกพรุนด้านการบริโภคอาหารประเภทแคลเซียม และศึกษาความพึงพอใจของประชากรวัยทองต่อการให้ความรู้ทางด้านป้องกันโรคกระดูกพรุนจากการขาดแคลเซียมในวัยทองโดยเยาวชนในประชากรวัยทอง วิธีการศึกษา: เครื่องมือรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วยข้อมูลทัว่ ไป ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการป้องกันภาวะกระดูกพรุนในกลุ่มวัยทองที่อาศัยอยู่ในพื้นที่หมู่ 6 ต.องครักษ์ อ.องครักษ์ จ.นครนายก จำนวน 30 คน ด้านการบริโภคอาหารประเภทแคลเซียม รวมถึงปริมาณการบริโภคอาหารประเภทแคลเซียมต่อวันเปรียบเทียบคะแนนแต่ละด้านก่อนและหลังสอนสุขศึกษาโดย paired t-test ผลการศึกษา: หลังรับความรู้ กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยด้านเจตคติของพฤติกรรมการป้องกันโรคกระดูกพรุนเพิ่มสูงขึ้น (P < 0.001) ร่วมกับบริโภคอาหารประเภทแคลเซียมใน 1 วันสูงขึ้นจาก 446.48 เป็น 633.55 มิลลิกรัม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.013) กลุ่มตัวอย่างพึงพอใจในการให้ความรู้ทางด้านป้องกันโรคกระดูกพรุนจากการขาดแคลเซียมระดับสูง สรุป: การสอนสุขศึกษาโดยเยาวชนทำให้เจตคติของประชากรวัยทองดีขึ้น และบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมเพิ่มขึ้นหลังได้รับการสอนคำสำคัญ: การสอนสุขศึกษา, เยาวชน, โรคกระดูกพรุน, วัยทองAbstractObjective: To determine the effectiveness of health education by youthsregarding knowledge, attitude, and practice behaviors on preventingosteoporosis associating with calcium deficiency among menopausalpersons. Satisfaction on the program was also determined. Method: Studysample included 30 menopausal and andropausal individuals residing in thearea of a village in Ongkharak sub-district, Ongkharak district, NakhonNayok province. Data collection tool was a questionnaire comprising ofgeneral information, knowledge, attitude and practice of behaviors forpreventing osteoporosis during menopause / andropause about dietarycalcium intake, quantity of calcium-containing food consumption per dayand satisfaction of this health education. Before-after education scoreswere compared statistically done using paired t-test. Results: The findingsrevealed significant increases in score of attitude for preventingosteoporosis (P < 0.001), and in calcium-containing food consumption, from446.48 to 633.55 mg./day (P = 0.013). Satisfaction on this health educationwas in high level. Conclusion: Attitude toward the health educationprogram by youths and consumption of calcium-containing food increasedsignificantly among individuals with menopause or andropause.Keywords: health education, youth, osteoporosis, menopause, andropause

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads