ปัจจัยคัดสรรในการทำนายพฤติกรรมพึงประสงค์เกี่ยวกับการสูบบุรี่ ของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ จ. นครนายก Selected Factors Predicting Desired Behavior Related to Smoking among Students in Srinakharinwirot University, Ongkharak, Nakhonnayok Pro

Authors

  • จันทิมา ฤกษ์เลื่อนฤทธิ์
  • ธนกร ภาสกรกุลชัย
  • วิลันดา ถนอมทรัพย์
  • จิรภัทร โพธิ์กฎ
  • ราภา คงโหมด
  • รัตนา อินคง
  • ชุติกาญจน์ ธาตุมาศ
  • สุชาดา ศิริกุล
  • ปัทมาภรณ์ พลศรีดา
  • อรไพลิน ไชยวิเชียร
  • Juntima Rerkluenrit
  • Tanakorn Passakulchai
  • Wilanda Tanomsup
  • Jirapad Phokod
  • Jirapa Khongmod
  • Rattana Inkong
  • Chutikarn Tadmard
  • Suchada Sirikul
  • Pattamaporn Polsrida
  • Ornpairin Chaiwichian

Abstract

บทคัดย่อวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และความสามารถของปจั จัยคัดสรรในการร่วมกันทำนายพฤติกรรมพึงประสงค์เกี่ยวกับการสูบหรือไม่สูบบุหรี่ของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ จังหวัดนครนายก วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยบรรยายเชิงความสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ จังหวัดนครนายก จำนวน 470 คน โดยกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล, 2) แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับบุหรี่, 3) แบบประเมินทัศนคติเกี่ยวกับการสูบบุหรี่, 4) แบบประเมินความเครียด และ 5) แบบสอบถามพฤติกรรมพึงประสงค์เกี่ยวกับการสูบหรือไม่สูบบุหรี่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิส์ หสัมพันธ์เพียร์สัน สัมประสิทธิส์ หสัมพันธ์อีต้าและการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุแบบ Enter ผลการศึกษา: ตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ไม่เคยมีประวัติการสูบบุหรี่ ไม่มีเพื่อนสนิทหรือสมาชิกในครอบครัวสูบบุหรี่ พบว่าปจั จัยที่คัดสรรทุกตัวมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมพึงประสงค์เกี่ยวกับการสูบหรือไม่สูบบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุพบว่า ตัวแปรดังกล่าวสามารถร่วมอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมพึงประสงค์เกี่ยวกับการสูบหรือไม่สูบบุหรี่ ได้ร้อยละ 55.0 โดยพบว่า ทัศนคติด้านลบเกี่ยวกับการสูบบุหรี่อธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมพึงประสงค์เกี่ยวกับการสูบหรือไม่สูบบุหรี่ได้มากที่สุด สรุป: ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมพฤติกรรมพึงประสงค์เกี่ยวกับการไม่สูบบุหรี่ของนิสิตให้มากขึ้น โดยเน้นส่งเสริมทัศนคติด้านลบเกี่ยวกับการสูบบุหรี่คำสำคัญ: ปจั จัยคัดสรร, พฤติกรรมที่ต้องการ, สูบบุหรี่, นิสิตAbstractObjective: To examine the relationship and power of the selected factorsto mutually predict the desired behavior related to smoking or non-smokingamong students in Srinakharinwirot University, Ongkharak, Nakhonnayokprovince. Method: The descriptive correlational study with multi-stagerandom sampling was used to recruit a sample of 470 full time students inSrinakharinwirot University, Ongkharak, Nakhonnayok province. Fivequestionnaires including 1) the Personnel Data Questionnaire, 2) theKnowledge on Cigarette Questionnaire, 3) the Attitude towards CigaretteQuestionnaire, 4) the Stress Questionnaire, and 5) the Smoking or Non-Smoking Behavior Questionnaire were used for data collection. Data wereanalyzed using descriptive statistics, Pearson’ product moment correlationcoefficient, Eta coefficient, and multiple regressions with the Enter method.Results: Most participants were female and had never been smokers. Mostof their close friends or family members had never involved with cigarettes.All selected factors were significantly associated with the desired behaviorrelated to smoking. All study variables could jointly explain the percentageof 55.0 of variance in the desired behavior related to smoking or nonsmoking.Negative attitude towards cigarette was the strongest predictor ofnon-smoking. Conclusion: Findings suggest that developing intervention toencourage non-smoking for students could be done by focusing on thenegative attitude towards cigarette.Keywords: selected factors, desired behavior, smoking, students

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads