การประเมินสมรรถนะของบัณฑิตหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีการศึกษา 2553
Abstract
บทคดั ย่อวัตถุประสงค์: เพื่อติดตามประเมินสมรรถนะการปฏิบัติงานของบัณฑิตจากหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีการศึกษา2553 วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงพรรณนาเก็บข้อมูลจากตัวอย่าง 3 กลุ่ม กลุ่มละ86 คน ได้แก่ กลุ่ม 1 บัณฑิตจากหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ปีการศึกษา2553 กลุ่ม 2 ผู้ร่วมงานกับบัณฑิตากกว่า 10 เดือน และกลุ่ม 3 คือ ผู้บังคับบัญชาที่ต้องควบคุมคุณภาพการปฏิบัติงานและปฏิบัติงานร่วมกับบัณฑิตมากกว่า 10เดือน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของบัณฑิตที่ผ่านการพิจารณาความตรงของเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 คน และมีค่าความเชื่อมัน่ สูง เมื่อพิจารณา 1) ทั้งฉบับ และรายด้านคือ 2) การใช้กระบวนการพยาบาล 3) ความรับผิดชอบ 4) การบริหารงานและความเป็นผู้นำและ 5) ด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่น (สัมประสิทธิอ์ ัลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.98,0.97, 0.96, 0.97, และ 0.96 ตามลำดับ) ใช้สถิติเชิงพรรณนาวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจต่อสมรรถนะในการปฏิบัติงานจากทัง้ 3กลุ่มตัวอย่างโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการศึกษา: โดยภาพรวม บัณฑิต ผู้ร่วมงาน และผู้บังคับบัญชาพอใจต่อสมรรถนะของบัณฑิตในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าทุกกลุ่มพอใจระดับมากที่สุดใน 3 ด้านคือ การทำงานร่วมกับผู้อื่น ความรับผิดชอบในหน้าที่ และการใช้กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติงาน ตามลำดับ ทุกกลุ่มพอใจในด้านการบริหารงานและความเป็นผู้นำของบัณฑิตในระดับมาก คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจโดยภาพรวมต่อการปฏิบัติงานของบัณฑิตที่จำแนกตามการรับรู้ของบัณฑิต ผู้ร่วมงาน และผู้บังคับบัญชาไม่แตกต่างกันทางสถิติ สรุป: ผลการวิจัยชี้แนะว่าการปรับปรุงหลักสูตรควรเร่งเสริมสมรรถนะการบริหารงานและการเป็นผู้นำ เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตรและตอบสนองความต้องการของสังคมต่อไปคำสำคัญ: การประเมิน, สมรรถนะ, พยาบาลศาสตรบัณฑิตDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์