การศึกษาผลการออกแบบระบบงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโดยการลดความสูญเปล่าในระบบบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
Abstract
บทคดั ย่อวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระบบงานและออกแบบระบบงานในห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอกเพื่อลดความสูญเปล่าในระบบสามารถลดระยะเวลารอรับยาของผู้ป่วยนอกได้วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาแบบไปข้างหน้า เก็บข้อมูลระยะเวลาการทำงานและระยะเวลารอในแต่ละขั้นตอน นำมาวาดภาพสายธารคุณค่าเพื่อระบุกิจกรรมที่เพิ่มคุณค่าและกิจกรรมที่ไม่เพิ่มคุณค่าตามหลักการของลีน แล้ววิเคราะห์ความสูญเปล่าในระบบ ประชุมทีมเพื่อร่วมกันออกแบบกระบวนการทำงานใหม่ รวมถึงวิเคราะห์ผลกระทบความเป็นไปได้และการยอมรับในการนำไปปฏิบัติงานจริง แจ้งผู้ปฏิบัติงานให้เข้าใจตรงกัน เริ่มใช้และทดลองระบบงานใหม่ ประเมินผลโดยเปรียบเทียบระยะเวลารอรับยาก่อนกับหลังปรับปรุงระบบ เก็บข้อมูลโดยเลือกกลุ่มตัวอย่างจากใบสัง่ ยาโดยสุ่มอย่างสะดวก ในผู้ป่วยที่มารับยาที่ห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอก อาคารอำนวยการ รพ.นพรัตนราชธานี ในช่วง1 ธันวาคม 2553 ถึง 30 กรกฎาคม 2554 เวลา 10.30 – 12.30 น. ผลการศึกษา:ระยะเวลารอรับยาเฉลี่ยก่อนปรับปรุงระบบ คือ 54.01 ± 11.24 นาที โดยพบความสูญเปล่าในระบบ คือ ความสูญเปล่าเนื่องจากงานเสีย ในการรอคอย กระบวนการทำงานที่มากเกินไป และเนื่องจากศักยภาพของพนักงานไม่ถูกใช้อย่างเต็มที่จากนั้นดำเนินการปรับปรุงระบบตามหลัก ECCRRSE โดยยกเลิกขั้นตอนตรวจสอบจำนวนรายการยาก่อนการตรวจสอบโดยเภสัชกร กำหนดผู้รับผิดชอบในกิจกรรมที่ไม่จำเป็นต้องใช้เภสัชกร การลด batch size ในขัน้ ตอนการดึงใบสัง่ยาและเรียกรับใบสัง่ ยา การแยกคิวสำหรับผู้ป่วยที่มีเฉพาะยาฉีดเป็นระบบทางด่วน พบว่าระยะเวลารอรับยาเฉลี่ยหลังการปรับปรุงระบบคือ 46.11 ± 24.45 นาทีส่วนระยะเวลารอรับยาเฉลี่ยของผู้ป่วยที่มีเฉพาะยาฉีดคือ 13 ± 0.07 นาที ซึ่งพบว่าระยะเวลาหลังปรับปรุงเฉลี่ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.010)สรุป: การศึกษาระบบงานเพื่อวิเคราะห์ความสูญเปล่าที่เกิดขึ้น ช่วยลดขัน้ ตอนการทำงานที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ในมุมมองของผู้ป่วย ทำให้สามารถบริหารทรัพยากรที่มีจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้เวลารอรับยาลดลงคำสำคัญ: ลดความสูญเปล่า, เวลารอ, ผู้ป่วยนอก, ประสิทธิภาพ, แนวคิดลีนDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์