การใช้สมุนไพรและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีโอกาสเกิดอันตรกิริยากับยาที่ใช้ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง The Use of Herbal and Dietary Supplements and Potential Interactions with Drugs in Patients with Chronic Diseases

Authors

  • Chuleegone Sornsuvit
  • Chabaphai Phosuya
  • Duangkamol Jaroonwanichkul
  • Narattaporn Piriyachananusorn

Abstract

บทคดั ย่อวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาชนิดสมุนไพร/ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังใช้ และอันตรกิริยาที่มีโอกาสเกิดจากการใช้สมุนไพร/ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารร่วมกับยาแผนปัจจุบันที่ผู้ป่วยใช้อยู่ วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนา ใช้การสำรวจแบบภาคตัดขวาง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 56 คนที่ติดตามรักษา ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ คัดผู้ป่วยที่อายุ 60 ปีขึ้นไป มีโรคเรื้อรังอย่างน้อยหนึ่งโรค (โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคกระดูกและข้อโรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ) กำลังใช้สมุนไพร/ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารร่วมกับยาแผนปัจจุบันที่ใช้รักษาโรคเรื้อรัง สัมภาษณ์เพื่อรวบรวมข้อมูลการใช้ยาแผนปัจจุบันและสมุนไพร/ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผลการศึกษา:รวบรวมข้อมูลในผู้ป่วย 56 คน เป็นเพศหญิงมากกว่าชายเล็กน้อย (57.1%) ป่วยด้วยโรคเรื้อรังมากกว่า 1 โรค (67.8%) ซื้อสมุนไพร/ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากร้านยา (36.1%) พบมีการใช้สมุนไพร/ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจำนวน 33 ชนิด โดย11 ชนิดมีอันตรกิริยาที่มีโอกาสเกิดกับยาแผนปัจจุบันที่ผู้ป่วยใช้อยู่ถึง 56 อันตรกิริยา พบว่ามะรุมมีโอกาสเกิดอันตรกิริยากับยามากที่สุด คิดเป็น 63.2%รองลงมาคือกระเทียม/น้ำมันกระเทียม (21.0%) ขมิ้นชัน (13.8%) ลูกใต้ใบ(10.8%) บัวบก (7.2%) ฟ้าทะลายโจร (6.8%) เจียวกู่หลาน (5.3%) นอกจากนี้ส่วนใหญ่พบอันตรกิริยา 3 อันตรกิริยา ต่อผู้ป่วย 1 คน สรุป: ผู้ป่วยโรคเรื้อรังใช้สมุนไพร/ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลายชนิดร่วมกับยาแผนปัจจุบันที่มีโอกาสเกิดอันตรกิริยาต่อกัน ดังนั้นผู้ป่วยโรคเรื้อรังควรได้รับการแนะนำหากใช้สมุนไพร/ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารร่วมด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีโอกาสเกิดอันตรกิริยาระหว่างกันคำสำคัญ: อันตรกิริยา, สมุนไพร, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร, ยาแผนปัจจุบัน, โรคเรื้อรังAbstractObjective: To determine herbal and dietary supplements used amongpatients with chronic diseases and the potential drug-herb/nutritionalsupplements interactions. Methods: In this descriptive cross-sectionalsurvey study, questionnaire and interview form were used to collect datafrom a sample of 56 patients with chronic disease followed up atChangphuek Health Promoting Hospital, Meung district, Chiang Maiprovince. The patients were those 60 years of age or older, having at leastone of these chronic diseases, cardiovascular disease, bone and jointdisease, diabetes, respiratory disease), and using herbal or dietarysupplement with conventional medicines. Information on the use of herbalor dietary supplements was obtained by interview. Results: Of 56 patients,slightly more than half were women (57.1%) and about two thirds (67.8%)had at least one chronic disease. 36.1% bought herbal and dietarysupplements from drug store. Of 33 herbal and dietary supplementsreported, 11 of them had potential to cause 56 interactions withconventional medicines. Of all herbal and dietary supplements withpotential for drug interactions, moringa was found the most frequent(63.2%) followed by garlic/garlic oil (21.0%), curcumin (13.8%), tamalaki(10.8%), Asiatic pennywort (7.2%), kariyat (6.8%), and Jiaogolan (5.3%). Inmost patients, 3 interactions per patient were found. Conclusion: Varioustypes of herbal and dietary supplements the patients with chronic diseaseused had the potential interaction with their conventional medicines. Thesepatients should be advised on such interaction.Keywords: interaction, herb, dietary supplement, convention medicine,chronic disease

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads