Satisfaction of Chiefs and Colleagues Competencies of Class of 2006 Nurse Graduates from Srinakharinwirot University-ความพึงพอใจของผู้บ้งคับบัญชาและผู้ร่วมงานต่อสมรรถนะของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัีณฑิต มหาวทิยาลัยศรีนครินทรวิโิ รฒ ปีการศึกษา 2549

Authors

  • Uuraun Kaewpinij
  • Jirawan Incum
  • Parichat Yatniyom
  • Tassaneya Wangsajantanon
  • อุ่นเรือน แก้วพินิจ
  • จิรวรรณ อินคุ้ม
  • ปาริชาติ ญาตินิยม
  • ทัศนียา วังสะจันทานนท์

Abstract

Objective: To examine satisfaction of the chief nurses and colleague nurses on competencies of nurses graduated from the Faculty of Nursing, Srinakharinwirot University in the academic year of 2006. Methods: In this descriptive study, the sample was 90 chief nurses and 122 colleague nurses from public and private hospitals who had been working with the graduate nurses for more than 6 months. Descriptive data were collected by the questionnaire of satisfaction on nursing competencies which was found to have a high reliability (Cronbach’s alpha coefficient of 0.98). Descriptive statistics were employed to analyze the data. Differences between chief nurse and colleague nurses were tested by t-test. Results: Overall satisfaction of chief nurses and colleague nurses on nursing competencies were in high level ( x = 3.78 out of a total of 5). Considering scores of particular dimensions, it was found that nursing management/ leadership ( x = 3.75), nursing service ( x = 3.85), responsibility ( x = 3.97), and social relationship ( x = 3.98) were also in high level. Scores of overall satisfaction and each dimension of satisfaction were between chief nurses and colleague nurses were not different at a significance level of 0.05. Conclusion: Chief nurses and colleague nurses rated competencies of nurses (class of 2006) graduated from Srinakharinwirot University as high, with the lowest score in the dimension of management/leadership. Nursing curriculum should emphasize developing such competencies.Keywords: satisfaction, chief nurse, colleague nurses, nursing competencyบทคัดย่อวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงานที่มีต่อสมรรถนะของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในปีการศึกษา 2549 วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บังคับบัญชาจำนวน 90 คน และผู้ร่วมงานจำนวน122 คน จากโรงพยาบาลรัฐและเอกชน ที่ทำงานร่วมกับบัณฑิตพยาบาลมากกว่า6 เดือน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินสมรรถนะของบัณฑิตพยาบาล แบบประเมินนี้มีความเชื่อมัน่ สูง (ค่าสัมประสิทธิแ์ อลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ 0.98)วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และทดสอบความต่างระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงานโดยสถิติ t-test ผลการศึกษา: ความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงานที่มีต่อสมรรถนะของบัณฑิต โดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก(mean = 3.78) และเมื่อพิจารณารายด้านทั้ง 4 ด้าน พบว่าด้านที่พึงพอใจระดับมากได้แก่ ความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาล การใช้กระบวนการพยาบาล (x = 3.85) การบริหารและการแสดงความเป็นผู้นำ ( x = 3.75) ความรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ ( x = 3.97), และการทำงานร่วมกับผู้อื่น ( x = 3.98) ความพึงพอใจของของผู้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงานโดยรวมและรายด้านพบว่าแตกต่างกันแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุป: ผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานของบัณฑิตพยาบาลปีการศึกษา 2549 ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเห็นว่าบัณฑิตมีสมรรถนะสูง โดยคะแนนด้านการบริหารและการแสดงความเป็นผู้นำมีคะแนนน้อยที่สุด ดังนั้นควรพัฒนาหลักสูตรที่เน้นการพัฒนาสมรรถนะด้านนี้แก่บัณฑิตรุ่นต่อไปคำสำคัญ: ความพึงพอใจ, ผู้บังคับบัญชา, ผู้ร่วมงาน, สมรรถนะของบัณฑิตพยาบาล

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2012-07-01