Survey on Trained Pharmacists’ Practice in Smoking Cessation Counseling - สำรวจการปฏิบัติงานให้บริการเลิกบุหรี่โดยเภสัชอาสาพาเลิกบุหรี่
Abstract
Objective: To describe and evaluate the practice of smoking cessation counseling of pharmacists who had been trained in the Thai Pharmacy Network for Tobacco Control (TPNTC) and continued such counseling service.Methods: This descriptive survey study was conducted during December 2008 and February 2009. Sample was all 741 pharmacists trained in the TPNTC program. The mailed questionnaire asked about resulting smoking status of the participating smokers, and characteristics of the practice.Results: Of 270 returned questionnaires, only 166 pharmacists continued the smoking cessation counseling. Forty-eighty percents had been providing the service at least for 24 months. The first two TPNCT counseling programs these pharmacists had taken were the one-day and two-day programs (56.6% and 68.7% respectively). Most pharmacists used smoking cessation pamphlet to promote the service (88.6%) and all of them used it as a tool during the counseling session. Most pharmacists (72.8%) offered smoking cessation products plus behavioral support. Such products included nicotine replacement, bupropion and nortriptyline (66.9%, 48.4% and 35.0%, respectively). By average, 14.6 ( 22.7) persons received the service per year. There were 1.7 ( 3.5) persons per year who were abstinent at least for 1 month. Among pharmacists with at least 12-month service, 11.6% and 10.0%, of their clients were abstinent for 1 month and 1 year respectively.Conclusion: Half of the trained pharmacists continued smoking cessation counseling at least for 24 months. The majorities used pamphlet and behavioral support. Abstinence rate was not high.Keywords: pharmacists, cigarette, smoking cessation, practice, counseling บทคัดย่อวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสภาพและประเมินการปฏิบัติงานบริการปรึกษาเลิกบุหรี่โดยเภสัชกรที่ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการในโครงการเภสัชอาสาพาเลิกบุหรี่ และยังคงให้บริการเลิกบุหรี่อย่างต่อเนื่อง วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงพรรณนา โดยการสำรวจในช่วงธันวาคม 2551 ถึงกุมภาพันธ์ 2552 ตัวอย่างการศึกษาคือเภสัชกรทั้งหมดที่ผ่านการอบรมทั้งหมด 741 คน ส่งแบบสอบถามให้ทุกคน ถามสถานการณ์ให้บริการเลิกบุหรี่ ผลการให้บริการเลิกบุหรี่ และลักษณะพฤติกรรมการให้บริการเลิกบุหรี่ ติดตามแบบสอบถามทางไปรษณีย์และโทรศัพท์ ผลการศึกษา: จากแบบสอบถามที่ตอบกลับ 270 ฉบับ มีเภสัชกรที่ยังคงให้บริการเลิกบุหรี่ต่อเนื่อง 166 คน พบร้อยละ 54.8 ให้บริการตั้งแต่ 24 เดือนขึ้นไปหลักสูตรเภสัชกรเข้าอบรมมากที่สุด 2 ลำดับแรกจาก 5 หลักสูตร คือ โครงการอบรมการให้ความรู้คำปรึกษาแนะนำการเลิกบุหรี่สำหรับประชาชนหลักสูตร 1และ 2 วัน (ร้อยละ 56.6 และ 68.7 ตามลำดับ) เภสัชกรร้อยละ 88.6 ใช้แผ่นพับกระตุ้นหรือส่งเสริมการรับบริการ เภสัชกรทุกคนใช้แผ่นพับประกอบขณะให้บริการเลิกบุหรี่ เภสัชกรร้อยละ 72.8 เลือกใช้ยาและผลิตภัณฑ์ช่วยอดบุหรี่ร่วมกับพฤติกรรมบำบัด ยาและผลิตภัณฑ์ที่เตรียมให้บริการเลิกบุหรี่คือ หมากฝรัง่ ทดแทนนิโคติน ตามด้วยยา bupropion และ nortriptyline (ร้อยละ 66.9, 48.4และ 35.0 ตามลำดับ) มีผู้รับบริการเฉลี่ย 14.6 ( 22.7) รายต่อปี ผู้รับบริการที่เลิกบุหรี่ได้นาน 1 เดือนเฉลี่ย 1.7 ( 3.5) รายต่อปี สำหรับเภสัชกรที่ให้บริการเลิกบุหรี่ตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป มีผู้รับบริการที่สามารถเลิกได้นาน 1 เดือน และ 1ปี เป็นร้อยละ 11.6 และ 10.0 ตามลำดับ สรุป: เภสัชกรที่ผ่านการอบรมประมาณครึ่งหนึ่งยังให้บริการเลิกบุหรี่ต่อเนื่องเกิน 24 เดือน ส่วนมากใช้แผ่นพับและพฤติกรรมบำบัด ผู้รับบริการเลิกบุหรี่ได้ไม่สูงมากคำสำคัญ: เภสัชกร, บุหรี่, เลิกบุหรี่, การปฏิบัติงาน, การให้คำปรึกษาแนะนำDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2012-07-01
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์