The Evaluation and Development of Computer-Assisted Instruction Program in Pharmacology of Asthma-การประเิมินและพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในรายวิชาเภส้ชวิทยาเรื่องโรคหืด
Abstract
AbstractObjective: To develop and evaluate the computer-assisted instructionprogram (CAI) in asthma pharmacology.Methods: Quasi-experimentaldesign was used to collect data related to the impact of CAI and hand-outself-study on students’ achievement in learning asthma pharmacology. The20 Doctor of Pharmacy (PharmD) students at Faculty of Pharmacy,Mahasarakham University were randomly allocated to 2 groups by drawinglots. Intervention group (n = 10) was provided a self-study CAI and controlgroup (n=10) was given a self-study handouts. The experiment wasconducted from November to December 2010. Between groups and withingrouppre-post comparisons on knowledge about asthma (30 questions)were carried out. Opinions on the learning process from both groups werealso obtained.Results: Post-test knowledge score in either group wassignificantly higher than its pre-test score (P = 0.005 in both groups).However, post-test scores between the two groups were not statisticallydifferent. In terms of participants’ opinion, it was found that opinion scoreson knowledge gained, self-study skills acquired and student satisfaction inthe intervention group were significantly greater than control group (P =0.044, = 0.018 and = 0.014, respectively). Students in study groupsuggested improve CAI in the following aspects: color setting, font size,and narration speed.Conclusion: Using CAI stimulates learning processand improves understanding in the learning subject. It could be analternative means of self-learning.Key words: computer-assisted instruction program, asthma, pharmacologyบทคัดย่อวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการใช้สื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (computer-assisted instruction; CAI) ทางเภสัชวิทยาในบทเรียนเรื่องโรคหืดวิธีการศึกษา: การศึกษาแบบ quasi-experimental design ใช้ CAI เปรียบเทียบกับการใช้เอกสารประกอบการสอนในนิสิตเภสัชศาสตร์ชัน้ ปีที่ 3 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ศึกษาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม พ.ศ. 2553 แบ่งนิสิตเป็น 2 กลุ่ม (กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง) กลุ่มละ 10 คน โดยวิธีสุ่มอย่างง่าย ในกลุ่มควบคุมนิสิตเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้เอกสารประกอบการสอนที่มีเนื้อหาเหมือนใน CAI ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และกลุ่มทดลองเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้ CAI และเทียบผลการเรียนจากจำนวนข้อคำถามความรู้ที่ตอบถูกต้อง (ทัง้ หมด 30 ข้อ) เปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียนด้วยตนเองในแต่ละกลุ่มและระหว่างกลุ่ม และความเห็นและข้อเสนอแนะต่อสื่อที่ผู้เรียนใช้เรียนรู้ด้วยตนเองจากทัง้ สองกลุ่ม ผลการศึกษา: หลังการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านสื่อทั้ง 2 ชนิด พบว่าทัง้ กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองมีคะแนนหลังเรียนผ่านสื่อทั้ง 2 ชนิดสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.005 ทัง้ สองกลุ่ม) แต่คะแนนหลังเรียนของทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม กลุ่มทดลองให้คะแนนความเห็นต่อการใช้สื่อสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญในด้าน 1) ความรู้ที่ได้รับจากสื่อ 2) สื่อช่วยให้มีทักษะแก้ปัญหามากขึ้น และ 3) ความพึงพอใจจากการใช้สื่อ (P = 0.044, P = 0.018, P = 0.014 ตามลำดับ) กลุ่มทดลองเสนอแนะให้ปรับปรุงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในเรื่องสี ขนาดตัวอักษรที่มองเห็นไม่ชัดเจนและความเร็วของเสียงบรรยายเนื้อหา สรุป: โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถกระตุ้นการเรียนรู้และเพิ่มความรู้ความเข้าใจ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้เรียนสามารถใช้เรียนรู้และทบทวนได้ด้วยตนเองคำสำคัญ : โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, โรคหืด, เภสัชวิทยาDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2012-01-01
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์