การยอมรับและปฏิบัติตามนโยบายส่งเสริมการปฏิบัติตามคำประกาศ สิทธผิ ปู้ ว่ ยของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชมุ ชน จ.นครนายก
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินการรับรู้และการปฏิบัติตามนโยบายการนำแนวทางการพิทักษ์สิทธิในโรงพยาบาลชุมชน ในจังหวัดนครนายกวิธีการวิจัย: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ประชากรการศึกษา คือ พยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน จ.นครนายก 3แห่ง จำนวน 167 คน ที่ปฏิบัติงานช่วงมกราคม – กุมภาพันธ์ 2551 โดยประชากรทั้งหมดเป็นตัวอย่างในการศึกษา ดำเนินการศึกษาระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2551 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม โดยมีแบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำประกาศสิทธิผู้ป่วย (13 ข้อความ) ทัศนคติต่อการปฏิบัติตามคำประกาศสิทธิผู้ป่วย (16 ข้อความ) การรับทราบรายละเอียดในคำประกาศสิทธิผู้ป่วย ความเข้าใจในการบังคับใช้นโยบาย และการแก้ไขปัญหาและการสนับสนุนให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้สถานการณ์ปัญหาข้อขัดแย้งที่พบบ่อยเป็นต้นแบบ นำเสนอผลการศึกษาในรูปความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการศึกษา: พยาบาลวิชาชีพส่วนมากมีความรู้ในสิทธิผู้ป่วยระดับปานกลาง (ร้อยละ 79.84) ส่วนใหญ่มีทัศนคติปานกลางและมาก (ร้อยละ 71.70 และ 29.30 ตามลำดับ) มีสิทธิ 8 ใน 10 ข้อ ที่พยาบาลมากกว่าร้อยละ 50 ระบุว่าต้องถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด โดยอันดับต้น ๆได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการปกปิดข้อมูล สิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือรีบด่วนตามความจำเป็น และสิทธิที่จะได้รับบริการโดยไม่เลือกปฏิบัติ ในการปฏิบัติตามการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย กรณีปัญหาที่พบมาก ได้แก่ ผู้รับบริการไม่พอใจเนื่องจากถูกลัดคิว กรณีถูกปฏิเสธการส่งต่อไปยังสถานพยาบาลอื่น กรณีพฤติกรรมบริการไม่เหมาะสม และกรณปี ฏิเสธการรับเข้ารักษา ตามลำดับ ปัญหาที่พยาบาลแก้ไขได้เองมากที่สุดได้แก่ การไม่พอใจเนื่องจากถูกลัดคิว กรณีญาติผู้ป่วยโทรศัพท์มาขอข้อมูลผู้ป่วย ส่วนปัญหาที่เพื่อนร่วมงานช่วยแก้ไข ได้แก่ ปัญหาญาติผู้ป่วยไม่เห็นด้วยกับการผูกมัดผู้ป่วยที่เอะอะโวยวาย และการปฏิเสธการรับเข้ารักษา ส่วนปัญหาที่ต้องแก้ไขโดยผู้บังคับบัญชามากที่สุดคือ กรณีพฤติกรรมบริการไม่เหมาะสม และกรณีปฏิเสธการส่งต่อ ส่วนปัญหาที่แก้ไขได้บางประเด็น ได้แก่ กรณีผู้ซึ่งไม่ใช่เจ้าหน้าที่ตำรวจโทรศัพท์มาขอข้อมูลผู้ป่วยที่เป็นคู่คดีความ (ร้อยละ 77.8) ตามด้วยการถูกปฏิเสธการรับเข้ารักษา (ร้อยละ 63.6) และปัญหาญาติผู้ป่วยโทรศัพท์มาขอข้อมูลของผู้ป่วย (ร้อยละ 61.5) ทั้งนี้ พยาบาลวิชาชีพส่วนมากพอใจระดับปานกลางต่อผลการแก้ไขปัญหา (ร้อยละ 64.1 –81.8) แต่กรณีที่พยาบาลไม่พอใจเป็นจำนวนมาก คือ กรณีผู้โทรศัพท์มาขอข้อมูลผู้ป่วยที่เป็นคู่คดีความ (ร้อยละ 22.2) และกรณีร้องเรียนพฤติกรรมบริการที่ไม่เหมาะสม (ร้อยละ 6.3)สรุป: พยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชนใน จ.นครนายกมีความรู้และทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติตามแนวทางพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย และส่วนมากเห็นว่าต้องถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด ปัญหาที่พบบ่อยและแก้ไขได้บางประเด็นคือ การถูกลัดคิด การปฏิเสธการส่งต่อ พฤติกรรมบริการไม่เหมาะสม การปฏิเสธเข้ารับการรักษา ส่วนมากสามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง มีบางปัญหาที่ควรเร่งช่วยเหลือเนื่องจากพยาบาลเห็นว่าแก้ไข้ได้บางประเด็นและไม่พอใจผลการแก้ไขบางปัญหา เช่น กรณีโทรศัพท์มาขอข้อมูล และพฤติกรรมบริการที่ไม่เหมาะสมคำสำคัญ: พยาบาลวิชาชีพ, สิทธิผู้ป่วย, การยอมรับนโยบาย, การปฏิบัติตามนโยบาย, ความรู้, ทัศนคติThai Pharm Health Sci J 2008;3(2):259-270§Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2008-05-12
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์