ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อบริการทางเภสัชกรรม โรงพยาบาลวาปีปทุม

Authors

  • บุญถม ปาปะแพ

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการของฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคามสำหรับเป็นข้อมูลในการพัฒนาการบริการเภสัชกรรมวิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ผู้ที่มารับบริการที่ฝ่ายเภสัชกรรมระหว่างวันที่ 3 - 14 ธันวาคม 2550จำนวน 344 คน เครื่องมือที่ใช้ศึกษาเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการศึกษา: พบว่าประชาชนที่มารับบริการเป็นหญิงและชายเท่า ๆ กัน (เพศหญิงร้อยละ 54.9) อายุเฉลี่ย 39.9 ปี ส่วนมากจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือ ปวช. (ร้อยละ 21.5) ตามด้วยประถมศึกษา (ร้อยละ 20.1) รายได้เฉลี่ย 2,500 บาทต่อเดือน (ร้อยละ30.2) ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและอาชีพรับจ้าง (ร้อยละ 25.0 เท่ากัน) ในด้านการรักษาพยาบาลส่วนมากใช้บัตรประกันสุขภาพ (ร้อยละ83.1) ด้านความพึงพอใจต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ พบว่ามีพึงพอใจมากที่สุดต่อการแต่งกายของเจ้าหน้าที่เป็นระเบียบเรียบร้อย (ร้อยละ 49.1) ด้านระบบบริการ พบว่าการรับยาเป็นไปตามลำดับคิวที่วางใบสั่งยา เป็นประเด็นที่มีผู้แสดงความพึงพอใจมากที่สุด (ร้อยละ 35.5)ส่วนด้านสิ่งแวดล้อมความสะอาดเรียบร้อยบริเวณรอรับยามีผู้แสดงความพึงพอใจมากที่สุด (ร้อยละ 35.5) ความพึงพอใจในภาพรวม 3 ด้านคือ ด้านการให้บริการของเจ้าหน้าที่ ด้านระบบให้บริการและด้านของสิ่งแวดล้อมพบว่า ส่วนมากมีความพึงพอใจปานกลาง (ร้อยละ 70.1)รองลงมาคือความพึงพอใจน้อย (ร้อยละ 14.8) และพึงพอใจมาก (ร้อยละ 14.8)สรุป: ประชาชนที่มารับบริการที่ฝ่ายเภสัชกรรมมีความพึงพอใจต่อการให้บริการของงานเภสัชกรรมอยู่ในระดับปานกลาง ดังนั้นจึงควรมีการปรับปรุงคุณภาพการบริการในหน่วยงานให้ดีขึ้น เพื่อสนองความคาดหวังและเป็นที่ยอมรับของผู้รับบริการมากขึ้นThai Pharm Health Sci J 2008;3(2):255-258§

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2008-05-13