ผลการให้คำปรึกษาแนะนาํ ด้านการใช้ยาแก่ผปู้ ่วยโรคหดื : กรณีศึกษาโรงพยาบาลองครักษ์
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการให้คำปรึกษาแนะนำเรื่องโรคหืดและการใช้ยาแก่ผู้ป่วยโรคหืดในด้านความรู้การใช้ยารักษาโรคหืด การทราบเป้าหมายการรักษาและปัจจัยที่กระตุ้นการจับหืด และปัญหาที่พบจากการใช้ยารักษาโรคหืดวิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบตัดขวาง ในผู้ป่วยนอกโรคหืดที่เป็นผู้ใหญ่ที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลองครักษ์ จ.นครนายก ในช่วงเดือนมกราคม - มิถุนายน 2551 ประเมินข้อมูลผู้ป่วย 3 ด้านคือ 1) ความรู้ในการใช้ยารักษาโรคหืด 2) การทราบเป้าหมายการรักษาและปัจจัยที่กระตุ้นการจับหืด และ 3) ปัญหาที่พบจากการใช้ยารักษาโรคหืด ก่อนให้คำปรึกษาและหลังให้คำปรึกษาแนะนำเรื่องโรคหืดและการใช้ยาอีก 3 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 1 เดือน มีผู้ป่วยโรคหืดที่ได้รับคำปรึกษาแนะนำทั้งสิ้น 17 รายผลการศึกษา: ด้านความรู้การใช้ยารักษาโรคหืดพบว่า ก่อนให้คำปรึกษาแนะนำ ผู้ป่วยมีความรู้ด้านทราบความถี่และเวลาที่ใช้ยาสูงสุดคือ14 ราย (ร้อยละ 82.35) รองลงมาคือ ทราบข้อบ่งใช้ของยา 12 ราย (ร้อยละ 70.59) ผลการศึกษาด้านการทราบเป้าหมายการรักษาและปัจจัยที่กระตุ้นการจับหืดพบว่า ก่อนให้คำปรึกษาแนะนำ ผู้ป่วยมีความรู้ด้านทราบเป้าหมายการรักษาจำนวนเท่ากันในสามประเด็น คือการรักษาโรคหืดช่วยให้สามารถควบคุมอาการของโรคให้สงบลงได้ ผู้ป่วยดำเนินชีวิตได้เหมือนคนปกติ ออกกำลังกายได้ และการรักษาโรคหืดป้องกันไม่ให้เกิดการกำเริบของโรค โดยพบประเด็นละ 10 ราย (ร้อยละ 58.82) ผลการศึกษาด้านปัญหาที่พบจากการใช้ยารักษาโรคหืดพบว่า ก่อนให้คำปรึกษาแนะนำ ปัญหาการใช้ยาของผู้ป่วยที่พบสูงสุดคือ ใช้ยาพ่นสูดไม่ถูกต้องเนื่องจากไม่เข้าใจวิธีการใช้แม้จะได้รับคำอธิบายจากเภสัชกรแล้วก็ตาม โดยพบในผู้ป่วย 10 ราย (ร้อยละ 58.52) รองลงมาคือ ใช้ยาผิดเวลา 4 ราย (ร้อยละ 23.53) ทั้งนี้จำนวนข้อของความรู้และการเข้าใจเป้าหมายในการรักษา เมื่อพบผู้ป่วยครั้งที่ 3 หลังการให้คำปรึกษาเพิ่มขึ้นจากก่อนเข้ารับคำปรึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.001 และ P < 0.001 ตามลำดับ) และจำนวนปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยาก็ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน (P = 0.001)Key words: โรคหืด, การให้คำปรึกษาด้านการใช้ยา, ความรู้, ปัญหาการใช้ยาThai Pharm Health Sci J 2008;3(2):245-254§Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2008-05-11
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์